วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

พี่อารมณ์ มีชัย ผู้หญิงที่มีประชาชนอยู่ในลมหายใจ โดย รัชฎาภรณ์ แก้วสนิท

            ใจหาย เสียดายที่ทราบข่าวการจากไปของพี่อารมณ์ ประชาชนไทยยังลำบาก ยากจน และถูกเอาเปรียบ แต่เราก็ต้องสูญเสียผู้หญิงที่ต่อสู้เพื่อพวกเขาอย่างแข็งขันไป

            ปุ๊รู้จักพี่อารมณ์มากว่า ๒๐ ปี พบความมุ่งมั่นในการต่อสู้ในตัวพี่ตลอดเวลา พี่ไม่เคยท้อแท้ พี่ต่อสู้ทุกรูปแบบ แม้จะมีอุปสรรคมากมาย จนวาระสุดท้ายที่เป็นปัญหาสุขภาพ พี่ก็ไม่หวั่นไหว ไม่ย่อท้อ ร่วมต่อสู้ท่ามกลางสถานการณ์ที่แหลมคม เป็นแบบอย่างให้คนรุ่นหลังอย่างมีพลัง

            พี่อารมณ์เป็นนักพูด นักปราศรัย นักต่อสู้ แล้วยังสอนลูกๆ ลูกศิษย์ น้องๆ ผู้ใกล้ชิด ผู้รู้จัก ให้รักประชาชน ปุ๊ไปจัดเวทีพุดคุยกับประชาชนที่ไหนๆ ก็มักจะพบพี่อยู่เสมอ ไปใต้ก็พบ อยู่ กทม.ก็พบ ไปอีสานก็พบ พี่จะไปทุกที่ที่ประชาชนต้องการ

            พี่อารมณ์จะคอยให้กำลังใจพวกเราเสมอ พี่บอกเราว่าการทำงานเพื่อประชาชนเป็นเรื่องยากลำบาก ต้องต่อสู้กับอำนาจรัฐ อำนาจทุนที่ร้ายกาจ จึงมีคนยืนหยัดอยู่ในเส้นทางการต่อสู้น้อย มาแล้วก็ไป พวกเราจึงต้องยืนหยัด รักกัน ให้กำลังใจกันและกัน ถ้าเรามีเรื่องราวเรียกร้องเพื่อประชาชน หรือเพื่อผู้หญิง พี่ก็จะโทรศัพท์มาให้กำลังใจ

            เมื่อปี ๒๕๔๔ พี่เคยลงสมัคร ส.ส.ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช พรรคความหวังใหม่ ส่วน ปุ๊  ลงสมัคร ส.ส.ที่จังหวัดกาฬสินธุ์ พรรคประชาธิปัตย์ ผมปรากฏว่าสอบตกทั้งคู่ หลังเลือกตั้ง เรามาเจอกันที่กรุงเทพฯ พวกน้องๆที่ ครป. (คณะกรรมการรณรงค์พื่อประชาธิปไตย) ยังพูดกันเล่นๆ อย่างสนุกสนานว่า  พี่สองคนนี้ลงผิดภาค หรือผิดพรรค ถ้าสลับภาคให้พี่ไปลงอีสานในนามพรรคความหวังใหม่ ให้ปุ๊ไปลงภาคใต้พรรคประชาธิปัตย์คงได้เป็น ส.ส.ทั้งคู่

            พี่อารมณ์จะไปทุกเวทีที่ต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ของประชาชน การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยเมื่อเดือนพฤษภาคม 2535  ปุ๊พบพี่อารมณ์ที่เวทีหน้ารัฐสภา พี่บอกว่ามาให้กำลังใจลูกชาย (โจ้) ที่ดูแลและปราศรัยอยู่หน้ารัฐสภา พี่มาสนับสนุนการกระทำของลูกชายและเพื่อนๆ จากนั้นปุ๊ก็มั่นใจว่า นอกจากน้องๆที่มีมากมายแล้ว พี่อารมณ์จะมีผู้สืบทอดภารกิจที่เป็นทายาทของพี่

            ช่วงสุดท้ายของชีวิตพี่อารมณ์ ปุ๊ทราบข่าวพี่ไม่สบายด้วยโรคร้าย ก็ติดตามถามข่าวจากโจ้เสมอ ทราบว่าพี่ยังห่วงใยบ้านเมือง พี่มีกำลังใจดีมาก โรคร้ายไม่เป็นอุปสรรค  จนทราบว่าพี่ออกจากโรงพยาบาลไปอยู่บ้าน เราก็เริ่มทำใจ แต่เมื่อเห็นพี่ไปขึ้นเวทีพันธมิตร นั่งคุยกับโจ้ และคนคุ้นเคยกับพี่ว่าชีวิตของพี่จะยืนยาวแค่ไหน น่าจะขึ้นอยู่กับเวทีพันธมิตรว่าจะยุติเร็วแค่ไหน เพราะนี่คือภารกิจสุดท้ายที่จะขาดพี่ไม่ได้ หลายคนออกจากหน้าจอมาร่วมการชุมนุมในสนามจริงๆ เพราะฟังการปราศรัยของ "ป้าอารมณ์" จนถึงวาระสุดท้ายจริงๆ แม้พี่จะลุกไม่ได้ พี่ยังห่วงใยการต่อสู้ของประชาชนอยู่เสมอจนหมดลมหายใจ

            หลับเถิดพี่อารมณ์ ในงานศพของพี่ ปุ๊เห็นพลังการรวมตัวของคนที่รู้จักและเคารพพี่ทุกวงการ ได้มาไว้อาลัยพี่ ทุกคนที่มาและอีกจำนวนมากที่ไม่ได้มาเพราะอยู่ไกล ปุ๊เชื่อว่าต่างก็มีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะสืบทอดเจตนารมณ์ของพี่ต่อไป สิ่งที่พี่ทำมาตลอดชีวิตจะไม่สูญเปล่าแน่นอน ปุ๊ก็จะยังเป็นน้องที่ดีของพี่ตลอดไป

รัชฎาภรณ์ แก้วสนิท
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์



ที่มา "อารมณ์ มีชัย ตราไว้ในใจชน"
หนังสือที่ระลึก งานพระราชทานเพลิงศพ อาจารย์อารมณ์ มีชัย
22 กุมภาพันธ์ 2552

แด่ แม่อารมณ์ มีชัย ผู้ที่ทั้งชีวิตและจิตใจ เพื่อมวลชน

            "..ถ้าคุณตัวสั่นทุกครั้งที่เห็นความอยุติธรรม เราก็เป็นเพื่อนกันได้ สิ่งนั้นสำคัญกว่าความเป็นญาติ เสียอีก..."

            หลายคนอาจจะเคยได้ยิน เคยอ่าน หรือแม้แต่อาจจะเขียนไว้ประโยคทองนี้ไว้ในไดอารี่ของตัวเอง เป็นคำพูดอมตะของ  เช กูวาร่า นายแพทย์นักปฏิวัติ ผู้เรืองนามแห่งลาตินอเมริกา ซึ่งเป็นเสมือนสัญลักษณ์ และแบบอย่างของคนหนุ่มสาวนักอุดมคติทั่วโลก

            แต่เมื่อโลกเปลี่ยนไป หลายสิ่งหลายอย่างก็เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า "คน" ดูจะเปลี่ยนผัน ปรับตัว หรือแม้กระทั่ง เปลี่ยนสีได้รวดเร็วรุนแรงกว่าสิ่งมีชีวิตใดๆในโลก

            คนหนุ่มสาวจำนวนไม่น้อยที่เคยมีอุดมคติ รักความยุติธรรมแรงกล้า ชนิดที่ท่องประโยคทอง วลีเด็ด ของนักปฏิวัติทั่วโลกได้คล่องราวกับบทสวดมนต์หน้าเสาธง เมื่อถึงคราวที่คนเหล่านี้ก้าวเข้าสู่เวทีแห่งอำนาจ มวลชนอันไพศาล ต่างเฝ้ารอด้วยใจระทึก และความหวังที่ล้นเปี่ยม ว่าฟ้าสีทองผ่องอำไพ คงจะมาถึงในอีกไม่กี่อึดใจ

            แต่การกลับเป็นเช่นนั้นไม่ "ฟ้า" นอกจากจะ "ไม่สีทองผ่องอำไพ" แล้ว บางครั้งยังดูขมุกขมัว มืดมนกว่ายุคสมัยที่พวกเขาก่นด่าด้วยซ้ำไป หนุ่มสาวนักอุดมคติเหล่านั้น เมื่อขึ้นมาสู่เวทีอำนาจ ไม่เพียงแต่จะปล่อยให้ เช กูวาร่า โดดเดี่ยวอยู่ที่ท้ายรถบรรทุกเท่านั้น (ให้คนรุ่นหลังสงสัยว่า ชายหนวดเครารุงรังนั้นเป็นใคร)

            สิ่งสำคัญคือสาระและจิตวิญญาณแห่งการต่อสู้ เพื่อคนทุกข์คนยาก เพื่อความยุติธรรม ของนักอุดมคติตามแบบ เช กุวารานั้นก็พลอยหดหายไปสิ้น

            พวกเขาพากันยกย่องคนที่สามารถอวยยศ อวยเกียรติ บันดาลเงินทอง อำนาจวาสนาให้ได้แก่พวกเขา ไม่ว่าคนนั้นจะถูกสังคมตั้งข้อสงสัย หรือประนามว่าโกงชาติบ้านเมืองขนาดไหนก็ตาม และพร้อมที่จะใช้วาทกรรม ตลอดจนสายสัมพันธ์ ความไว้เนื้อเชื่อใจที่มวลชน มิตรสหาย ที่รักความเป็นธรรม มีให้แก่พวกเขา เป็นต้น ทุนในการก้าวไปสู่อำนาจ และผลประโยชน์ของตนเอง

            ไม่เพียงแต่จะทิ้ง เช กูวาร่า พงกเขาละทิ้งอุดมคติ ละทิ้งประชาชน !!!

            "ถ้าคุณตัวสั่นทุกครั้งที่เห็นความ อยุติธรรม
            เราก็เป็นเพื่อนกันได้ สิ่งนั่นสำคัญกว่าความเป็นญาติเสียอีก

            ในสมุดบันทึกของ แม่อารมณ์ มีชัย จะมีประโยคทองอมตะนี้ของเช กูวาร่า หรือไม่ ผมไม่ทราบ ...
            แต่เท่าที่ทราบและกล้ายืนยันได้อย่างเต็มปากเต็มคำหนักแน่น ในฐานะ ที่เคารพนับถือ ใกล้ชิดแม่อารมณ์มากว่า 20 ปี
           
            แม่ ไม่เคยพูดคำเท่ห์ๆพวกนี้ให้ได้ยินบ่อยนัก
            แต่แม่ทำให้เห็น ทำจริงๆ ทำทั้งชีวิต
            วัตรปฏิบัติ และวิถีชีวิตของแม่อารมณ์ เป็นเหมือนประโยคทองของ เช กูวาร่า จนนาทีสุดท้ายของชีวิต
            " ถ้าคุณตัวสั่นทุกครั้งที่เห็นความอยุติธรรม เราก็เป็นเพื่อนกันได้ สิ่งนี้สำคัญกว่าความเป็นญาติเสียอีก"
            หลับให้สบายครับแม่


ด้วยจิตคารวะ
ปรเมษฐ์ ภู่โต (ก๊อง)




หนังสือที่ระลึก งานพระราชทานเพลิงศพ อาจารย์อารมณ์ มีชัย
22 กุมภาพันธ์ 2552

วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

คือ "อารมณ์ มีชัย" ในใจชน โดย พจนารถ พจนาพิทักษ์

คือชีวิตที่เปี่ยมเต็มศักยภาพ
คือผู้ ไม่ศิโรราบความฉ้อฉล
คือผู้หญิงที่ยิ่งกว่าเป็นแม่คน
นั่นคือแม่ ประชาชนผู้รักธรรม

ใจดวงแกร่งแห่งนครศรีธรรมราช
นักปราศรัยผู้ฉาน ฉาดคนชื่นฉ่ำ
ข้นความคิด, เข้มและคมคารมคำ
ชื่อที่จักถูกจดจำตลอดไป

คือ อีกหนึ่งตำนานของคนสู้
จากไปเพื่อยังอยู่อย่างยิ่งใหญ่
คือคุณแม่, คุณครูประชาธิปไตย
คือ "อารมณ์ มีชัย" ในใจชน.

พจนารถ พจนาพิทักษ์



ที่มา "อารมณ์ มีชัย ตราไว้ในใจชน"
หนังสือ ที่ระลึก งานพระราชทานเพลิงศพ อาจารย์อารมณ์ มีชัย
22 กุมภาพันธ์ 2552
+

วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เพลงเติมเต็ม- ไท-ลา-กูล.... อัลบั้ม รวมพลคนอาสา ธารรัก ธารน้ำใจ สู่ไทยอันดามัน ชุด ๒





อัลบั้ม รวมพลคนอาสา ธารรัก ธารน้ำใจ สู่ไทยอันดามัน Vol2. มหกรรมรวมน้ำใจครั้งยิ่งใหญ่ของศิลปิีนเพื่อชีวิต โดย เครือข่ายศิลปินเพื่อชีวิต ร่วมกับ มูลนิธิสายธารประชาธิปไตย, สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา, มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ, สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, มูลนิธิมิตรภาพสู่ท้องถิ่น, มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์, สถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ คณะกรรมการเตรียมงาน 30 ปี 6 ตุลา.. ขอคารวะน้ำใจอันยิ่งใหญ่ของคนไทยทั้งประเทศ เผยแพร่โดย บ้านศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน http://thaibansinlapin.blogspot.com


ธารรัก ธารน้ำใจ
หนึ่งที่ได้ คือเสียงเพลง เสียงกวีที่ให้เป็นกำลังใจแด่พี่น้องผู้ประสบภัย และอาสาสมัครที่ลงพื้นที่โดยมิได้นัดหมาย

อีกหนึ่งที่ได้ คือ การรวมเป็นหนึ่งเดียวของศิลปะ ศิลปินทั่วประเทศ
ซึ่งในโอกาสต่อไปทุกท่านเหล่านี้จะเป็นอีกส่วนหนึ่งของ การสร้างสรร
ต่อสู้ สู่ความงดงามของสังคม ร่วมกับพี่น้องเครือข่าย กลุ่มองคืกรต่างๆที่ทำงานเพื่อประชาชน และประเทศชาติ

และอีกหนึ่งที่ได้ - คือ การได้ทำหน้าที่ของตน โดยสมบูรณ์

// ความเป็นมา

เหตุการณ๋ ภัยพิบัติ "สินามึ" เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ได้กระตุ้นกระแสธารน้ำใจขนาดมหึมาของประชาชนทั่วประเทศและทั่วโลกให้หลั่งไหลมาโอบอุ้มผู้ประสบเคราะห์กรรมอย่างล้นหลาม อย่างไม่เคนปรากฏมาก่อน

ในขณะที่องค์กรภาครัฐในพื้นที่ อยู่ในสภาวะช็อคจากเหตุการณ์และตรึงเครียดอยู่กับการรอรับคำสั่งจากทางหน่วยเหนือนั้น ปรากฏว่ามีคลื่นอาสาสมัครและกลุ่มองค์กร ภาคประชาสังคมทั้งในและนอกพื้นที่ได้รวมตัว เชื่อมโยงการดำเนินงานและก่อตัวเป็นเครือข่ายเพื่อเข้าไปช่วยเหลือชุมชนและประชาชนที่กำลังเดือดร้อนอย่างแข็งขันเคียงคู่กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

เครือข่ายศิลปินเพื่อชีวิต ได้เล็งเห็นช่องว่างและตระหนักในปัญหานี้ จึงได้ริเริ่มรวมตัวกันจัดงานมหกรรมดนตรี "รวมพลคนอาสา ธารรัก ธารน้ำใจ สู่ไทยอันดามัน" ขึ้นในวันที่ 27 มีนาคม 2548 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ เพื่อระดมทุนไปสนับสนุนการดำเนินงานของกลุ่มอาสาสมัครและองค์กรภาคประชาสังคมนี้ขึ้น และเป็นที่มาของอัลบั้มเพลงชุดนี้

อัลบั้ม รวมพลคนอาสา ธารรัก ธารน้ำใจ สู่ไทยอันดามัน Vol4. มหกรรมรวมน้ำใจครั้งยิ่งใหญ่ของศิลปินเพื่อชีวิต โดย เครือข่ายศิลปินเพื่อชีวิต ร่วมกับ มูลนิธิสายธารประชาธิปไตย, สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา, มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ, สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, มูลนิธิมิตรภาพสู่ท้องถิ่น, มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์, สถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ คณะกรรมการเตรียมงาน 30 ปี 6 ตุลา.. ขอคารวะน้ำใจอันยิ่งใหญ่ของคนไทยทั้งประเทศ เผยแพร่โดย บ้านศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน

อาทิตย์ 26(สินามิ)-ยะคันนายาว.... อัลบั้ม รวมพลคนอาสา ธารรัก ธารน้ำใจ สู่ไทยอันดามัน ชุด ๒





อัลบั้ม รวมพลคนอาสา ธารรัก ธารน้ำใจ สู่ไทยอันดามัน Vol2. มหกรรมรวมน้ำใจครั้งยิ่งใหญ่ของศิลปิีนเพื่อชีวิต โดย เครือข่ายศิลปินเพื่อชีวิต ร่วมกับ มูลนิธิสายธารประชาธิปไตย, สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา, มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ, สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, มูลนิธิมิตรภาพสู่ท้องถิ่น, มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์, สถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ คณะกรรมการเตรียมงาน 30 ปี 6 ตุลา.. ขอคารวะน้ำใจอันยิ่งใหญ่ของคนไทยทั้งประเทศ เผยแพร่โดย บ้านศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน http://thaibansinlapin.blogspot.com


ธารรัก ธารน้ำใจ
หนึ่งที่ได้ คือเสียงเพลง เสียงกวีที่ให้เป็นกำลังใจแด่พี่น้องผู้ประสบภัย และอาสาสมัครที่ลงพื้นที่โดยมิได้นัดหมาย

อีกหนึ่งที่ได้ คือ การรวมเป็นหนึ่งเดียวของศิลปะ ศิลปินทั่วประเทศ
ซึ่งในโอกาสต่อไปทุกท่านเหล่านี้จะเป็นอีกส่วนหนึ่งของ การสร้างสรร
ต่อสู้ สู่ความงดงามของสังคม ร่วมกับพี่น้องเครือข่าย กลุ่มองคืกรต่างๆที่ทำงานเพื่อประชาชน และประเทศชาติ

และอีกหนึ่งที่ได้ - คือ การได้ทำหน้าที่ของตน โดยสมบูรณ์

// ความเป็นมา

เหตุการณ๋ ภัยพิบัติ "สินามึ" เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ได้กระตุ้นกระแสธารน้ำใจขนาดมหึมาของประชาชนทั่วประเทศและทั่วโลกให้หลั่งไหลมาโอบอุ้มผู้ประสบเคราะห์กรรมอย่างล้นหลาม อย่างไม่เคนปรากฏมาก่อน

ในขณะที่องค์กรภาครัฐในพื้นที่ อยู่ในสภาวะช็อคจากเหตุการณ์และตรึงเครียดอยู่กับการรอรับคำสั่งจากทางหน่วยเหนือนั้น ปรากฏว่ามีคลื่นอาสาสมัครและกลุ่มองค์กร ภาคประชาสังคมทั้งในและนอกพื้นที่ได้รวมตัว เชื่อมโยงการดำเนินงานและก่อตัวเป็นเครือข่ายเพื่อเข้าไปช่วยเหลือชุมชนและประชาชนที่กำลังเดือดร้อนอย่างแข็งขันเคียงคู่กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

เครือข่ายศิลปินเพื่อชีวิต ได้เล็งเห็นช่องว่างและตระหนักในปัญหานี้ จึงได้ริเริ่มรวมตัวกันจัดงานมหกรรมดนตรี "รวมพลคนอาสา ธารรัก ธารน้ำใจ สู่ไทยอันดามัน" ขึ้นในวันที่ 27 มีนาคม 2548 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ เพื่อระดมทุนไปสนับสนุนการดำเนินงานของกลุ่มอาสาสมัครและองค์กรภาคประชาสังคมนี้ขึ้น และเป็นที่มาของอัลบั้มเพลงชุดนี้

อัลบั้ม รวมพลคนอาสา ธารรัก ธารน้ำใจ สู่ไทยอันดามัน Vol4. มหกรรมรวมน้ำใจครั้งยิ่งใหญ่ของศิลปินเพื่อชีวิต โดย เครือข่ายศิลปินเพื่อชีวิต ร่วมกับ มูลนิธิสายธารประชาธิปไตย, สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา, มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ, สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, มูลนิธิมิตรภาพสู่ท้องถิ่น, มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์, สถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ คณะกรรมการเตรียมงาน 30 ปี 6 ตุลา.. ขอคารวะน้ำใจอันยิ่งใหญ่ของคนไทยทั้งประเทศ เผยแพร่โดย บ้านศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน

วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เพลงไทยหัวใจเดียว- เมธาเมธี...อัลบั้มรวมพลคนอาสาธารรัก-ธารน้ำใจสู่ไทยอันดามันVol1



ธารรัก ธารน้ำใจ
หนึ่งที่ได้ คือเสียงเพลง เสียงกวีที่ให้เป็นกำลังใจแด่พี่น้องผู้ประสบภัย และอาสาสมัครที่ลงพื้นที่โดยมิได้นัดหมาย

อีกหนึ่งที่ได้ คือ การรวมเป็นหนึ่งเดียวของศิลปะ ศิลปินทั่วประเทศ
ซึ่งในโอกาสต่อไปทุกท่านเหล่านี้จะเป็นอีกส่วนหนึ่งของ การสร้างสรร
ต่อสู้ สู่ความงดงามของสังคม ร่วมกับพี่น้องเครือข่าย กลุ่มองคืกรต่างๆที่ทำงานเพื่อประชาชน และประเทศชาติ

และอีกหนึ่งที่ได้ - คือ การได้ทำหน้าที่ของตน โดยสมบูรณ์

// ความเป็นมา

เหตุการณ๋ ภัยพิบัติ "สินามึ" เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ได้กระตุ้นกระแสธารน้ำใจขนาดมหึมาของประชาชนทั่วประเทศและทั่วโลกให้หลั่งไหลมาโอบอุ้มผู้ประสบเคราะห์กรรมอย่างล้นหลาม อย่างไม่เคนปรากฏมาก่อน

ในขณะที่องค์กรภาครัฐในพื้นที่ อยู่ในสภาวะช็อคจากเหตุการณ์และตรึงเครียดอยู่กับการรอรับคำสั่งจากทางหน่วยเหนือนั้น ปรากฏว่ามีคลื่นอาสาสมัครและกลุ่มองค์กร ภาคประชาสังคมทั้งในและนอกพื้นที่ได้รวมตัว เชื่อมโยงการดำเนินงานและก่อตัวเป็นเครือข่ายเพื่อเข้าไปช่วยเหลือชุมชนและประชาชนที่กำลังเดือดร้อนอย่างแข็งขันเคียงคู่กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

เครือข่ายศิลปินเพื่อชีวิต ได้เล็งเห็นช่องว่างและตระหนักในปัญหานี้ จึงได้ริเริ่มรวมตัวกันจัดงานมหกรรมดนตรี "รวมพลคนอาสา ธารรัก ธารน้ำใจ สู่ไทยอันดามัน" ขึ้นในวันที่ 27 มีนาคม 2548 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ เพื่อระดมทุนไปสนับสนุนการดำเนินงานของกลุ่มอาสาสมัครและองค์กรภาคประชาสังคมนี้ขึ้น และเป็นที่มาของอัลบั้มเพลงชุดนี้

อัลบั้ม รวมพลคนอาสา ธารรัก ธารน้ำใจ สู่ไทยอันดามัน มหกรรมรวมน้ำใจครั้งยิ่งใหญ่ของศิลปินเพื่อชีวิต โดย เครือข่ายศิลปินเพื่อชีวิต ร่วมกับ มูลนิธิสายธารประชาธิปไตย, สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา, มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ, สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, มูลนิธิมิตรภาพสู่ท้องถิ่น, มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์, สถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ คณะกรรมการเตรียมงาน 30 ปี 6 ตุลา.. ขอคารวะน้ำใจอันยิ่งใหญ่ของคนไทยทั้งประเทศ เผยแพร่โดย บ้านศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน

เพลงภัยมืด - ติ๊ก ชุมแพ อัลบั้มรวมพลคนอาสาธารรัก-ธารน้ำใจสู่ไทยอันดามันVol1





ธารรัก ธารน้ำใจ
หนึ่งที่ได้ คือเสียงเพลง เสียงกวีที่ให้เป็นกำลังใจแด่พี่น้องผู้ประสบภัย และอาสาสมัครที่ลงพื้นที่โดยมิได้นัดหมาย

อีกหนึ่งที่ได้ คือ การรวมเป็นหนึ่งเดียวของศิลปะ ศิลปินทั่วประเทศ
ซึ่งในโอกาสต่อไปทุกท่านเหล่านี้จะเป็นอีกส่วนหนึ่งของ การสร้างสรร
ต่อสู้ สู่ความงดงามของสังคม ร่วมกับพี่น้องเครือข่าย กลุ่มองคืกรต่างๆที่ทำงานเพื่อประชาชน และประเทศชาติ

และอีกหนึ่งที่ได้ - คือ การได้ทำหน้าที่ของตน โดยสมบูรณ์

// ความเป็นมา

เหตุการณ๋ ภัยพิบัติ "สินามึ" เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ได้กระตุ้นกระแสธารน้ำใจขนาดมหึมาของประชาชนทั่วประเทศและทั่วโลกให้หลั่งไหลมาโอบอุ้มผู้ประสบเคราะห์กรรมอย่างล้นหลาม อย่างไม่เคนปรากฏมาก่อน

ในขณะที่องค์กรภาครัฐในพื้นที่ อยู่ในสภาวะช็อคจากเหตุการณ์และตรึงเครียดอยู่กับการรอรับคำสั่งจากทางหน่วยเหนือนั้น ปรากฏว่ามีคลื่นอาสาสมัครและกลุ่มองค์กร ภาคประชาสังคมทั้งในและนอกพื้นที่ได้รวมตัว เชื่อมโยงการดำเนินงานและก่อตัวเป็นเครือข่ายเพื่อเข้าไปช่วยเหลือชุมชนและประชาชนที่กำลังเดือดร้อนอย่างแข็งขันเคียงคู่กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

เครือข่ายศิลปินเพื่อชีวิต ได้เล็งเห็นช่องว่างและตระหนักในปัญหานี้ จึงได้ริเริ่มรวมตัวกันจัดงานมหกรรมดนตรี "รวมพลคนอาสา ธารรัก ธารน้ำใจ สู่ไทยอันดามัน" ขึ้นในวันที่ 27 มีนาคม 2548 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ เพื่อระดมทุนไปสนับสนุนการดำเนินงานของกลุ่มอาสาสมัครและองค์กรภาคประชาสังคมนี้ขึ้น และเป็นที่มาของอัลบั้มเพลงชุดนี้

อัลบั้ม รวมพลคนอาสา ธารรัก ธารน้ำใจ สู่ไทยอันดามัน Vol4. มหกรรมรวมน้ำใจครั้งยิ่งใหญ่ของศิลปินเพื่อชีวิต โดย เครือข่ายศิลปินเพื่อชีวิต ร่วมกับ มูลนิธิสายธารประชาธิปไตย, สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา, มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ, สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, มูลนิธิมิตรภาพสู่ท้องถิ่น, มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์, สถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ คณะกรรมการเตรียมงาน 30 ปี 6 ตุลา.. ขอคารวะน้ำใจอันยิ่งใหญ่ของคนไทยทั้งประเทศ เผยแพร่โดย บ้านศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน

เพลงโกงกางน้อย - อี๊ด ฟุตบาธ อัลบั้มรวมพลคนอาสาธารรัก-ธารน้ำใจสู่ไทยอันดามันVol4





ธารรัก ธารน้ำใจ
หนึ่งที่ได้ คือเสียงเพลง เสียงกวีที่ให้เป็นกำลังใจแด่พี่น้องผู้ประสบภัย และอาสาสมัครที่ลงพื้นที่โดยมิได้นัดหมาย

อีกหนึ่งที่ได้ คือ การรวมเป็นหนึ่งเดียวของศิลปะ ศิลปินทั่วประเทศ
ซึ่งในโอกาสต่อไปทุกท่านเหล่านี้จะเป็นอีกส่วนหนึ่งของ การสร้างสรร
ต่อสู้ สู่ความงดงามของสังคม ร่วมกับพี่น้องเครือข่าย กลุ่มองคืกรต่างๆที่ทำงานเพื่อประชาชน และประเทศชาติ

และอีกหนึ่งที่ได้ - คือ การได้ทำหน้าที่ของตน โดยสมบูรณ์

// ความเป็นมา

เหตุการณ๋ ภัยพิบัติ "สินามึ" เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ได้กระตุ้นกระแสธารน้ำใจขนาดมหึมาของประชาชนทั่วประเทศและทั่วโลกให้หลั่งไหลมาโอบอุ้มผู้ประสบเคราะห์กรรมอย่างล้นหลาม อย่างไม่เคนปรากฏมาก่อน

ในขณะที่องค์กรภาครัฐในพื้นที่ อยู่ในสภาวะช็อคจากเหตุการณ์และตรึงเครียดอยู่กับการรอรับคำสั่งจากทางหน่วยเหนือนั้น ปรากฏว่ามีคลื่นอาสาสมัครและกลุ่มองค์กร ภาคประชาสังคมทั้งในและนอกพื้นที่ได้รวมตัว เชื่อมโยงการดำเนินงานและก่อตัวเป็นเครือข่ายเพื่อเข้าไปช่วยเหลือชุมชนและประชาชนที่กำลังเดือดร้อนอย่างแข็งขันเคียงคู่กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

เครือข่ายศิลปินเพื่อชีวิต ได้เล็งเห็นช่องว่างและตระหนักในปัญหานี้ จึงได้ริเริ่มรวมตัวกันจัดงานมหกรรมดนตรี "รวมพลคนอาสา ธารรัก ธารน้ำใจ สู่ไทยอันดามัน" ขึ้นในวันที่ 27 มีนาคม 2548 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ เพื่อระดมทุนไปสนับสนุนการดำเนินงานของกลุ่มอาสาสมัครและองค์กรภาคประชาสังคมนี้ขึ้น และเป็นที่มาของอัลบั้มเพลงชุดนี้

อัลบั้ม รวมพลคนอาสา ธารรัก ธารน้ำใจ สู่ไทยอันดามัน Vol4. มหกรรมรวมน้ำใจครั้งยิ่งใหญ่ของศิลปินเพื่อชีวิต โดย เครือข่ายศิลปินเพื่อชีวิต ร่วมกับ มูลนิธิสายธารประชาธิปไตย, สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา, มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ, สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, มูลนิธิมิตรภาพสู่ท้องถิ่น, มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์, สถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ คณะกรรมการเตรียมงาน 30 ปี 6 ตุลา.. ขอคารวะน้ำใจอันยิ่งใหญ่ของคนไทยทั้งประเทศ เผยแพร่โดย บ้านศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน

วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เพลงกสิกรรมธรรมชาติ-ไก่ แมลงสาบ&สุเวศน์ ภู่ระหงษ์-ชุดเกษตรโยธิน



เพลงกสิกรรมธรรมชาติ-ไก่ แมลงสาบ&สุเวศน์ ภู่ระหงษ์-ชุดเกษตรโยธิน
"กสิกรรมธรรมชาติ สะอาดไร้สารเคมี ปลอดภัยไร้สารเคมี อากาศดีมีให้ทุกคน......"

ฟังเพลง ทรัพยากรไทยสู่วิถีใหม่-โดย -ไก่ แมลงสาบ&สุเวศน์ ภู่ระหงษ์-ชุดเกษตรโยธิน



ฟังเพลง ทรัพยากรไทยสู่วิถีใหม่-โดย -ไก่ แมลงสาบ&สุเวศน์ ภู่ระหงษ์-ชุดเกษตรโยธิน
กล่าวเตือนถึงการปกป้องหวงแหน ทรัพยากรสำคัญของไทย

ฟังเพลง สู่ครัวโลก-โดย-ไก่ แมลงสาบ&สุเวศน์ ภู่ระหงษ์-ชุดเกษตรโยธิน




"สามัคคีกสิกรรมไทย จริงใจให้ความสำคัญ เราผลิตอาหารเพื่อเลี้ยงคนทั่วโลก........"

ฟังเพลง สู่ครัวโลก-โดย-ไก่ แมลงสาบ&สุเวศน์ ภู่ระหงษ์-ชุดเกษตรโยธิน

ฟังเพลง เงินทองเป็นของมายา-01-ไก่ แมลงสาบ&สุเวศน์ ภู่ระหงษ์-ชุดเกษตรโยธิน



"เงินทองเป็นของมายา ข้าวปลาเป็นของจริง
ของจริงไม่มีมายา ใช้ภูมิปัญญา ปลูกผักทำนาไร่ "

พูดถึงเรื่องของเกษตรโยธิน หากใครติดตามเรื่องราวของ อ.วิวัฒน์ ศัลยกำธร มาตลอด เพลงนี้ บอกถึงแนวทางของ อ.วิวัฒน์ ศัลยกำธร ได้ชัดเจนทีเดียว

ฟังเพลง เดินที่ละก้าวโดย -ไก่ แมลงสาบ&สุเวศน์ ภู่ระหงษ์-ชุดเกษตรโยธิน



"เดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ
จำท่านจงจำ ถ้าจะทำก็ทำทีละอย่าง"

เป็นอีกหนึ่งบทเพลงที่มีข้อคิดที่เตือนสติที่น่าคิด

เพลง ต้นกล้าพอเพียง-โดย ไก่ แมลงสาบ&สุเวศน์ ภู่ระหงษ์-ชุดเกษตรโยธิน



เพลง ต้นกล้าพอเพียง-โดย ไก่ แมลงสาบ&สุเวศน์ ภู่ระหงษ์-ชุดเกษตรโยธิน

"ต้นกล้าพอเพียง ใช่มีแค่เพียงต้นกล้า
เราต่างคนต่างมา รวมเป็นต้นกล้าพอเพียง
มาเปลี่ยนความคิดใหม่ ทำทำไมแบบเสี่ยงๆ
เศรษฐกิจพอเพียง มาหล่อเลี้ยงชีวิตเรา"

ส่วนหนึ่งของเนื้อเพลงต้นกล้าพอเพียง ที่มองทุกสิ่งมีความเกี่ยวข้องกันหมด ดนตรีจังหวะสนุกๆ โจ๊ะๆ มีคำเตือนสติ อย่าคิดถึงแต่ความร่ำรวย ให้คิดถึงธรรมชาติ นึกถึงองค์พ่อหลวงบ้าง และปรัชญาความพอเพียง เป็นอย่างไร ลองฟังในเนื้อเพลงนี้ดูครับ

ฟังเพลง ยิ่งทำยิ่งได้-โดย ไก่ แมลงสาบ&สุเวศน์ ภู่ระหงษ์-ชุดเกษตรโยธิน



ฟังเพลง ยิ่งทำยิ่งได้-โดย ไก่ แมลงสาบ&สุเวศน์ ภู่ระหงษ์-ชุดเกษตรโยธิน

สุเวศน์ ภู่ระหงษ์ ศิลปินประชาชน

เรื่องที่น่าสนใจของกลุ่มศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน

ความเห็นต่อ กลุ่มศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน