วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ตลอดทั้งชีวิตอุทิศให้ประชาชน - มงคล อุทก

ตลอดทั้งชีวิตอุทิศให้ประชาชน
(ว่าด้วยความทรงจำและการระลึกถึง)

มงคล อุทก  11 พฤษภาคม 2550

            สุวิทย์เป็นนักสู้รุ่นๆเดียวกันกับพวกเราคาราวาน เขาเป็นผู้นำนักศึกษาที่ประสานมิตรบางแสน สมัยหลัง 14 ตุลา 2516 เป็นเพื่อนกับน้องชายแท้ๆของผม เวลาเจอกันเขามักจะถามถึง"นิพนธ์อยู่ไหนพี่"  (นิพนธ์ อุทก) เราเลยรู้สึกเหมือนเป็นพี่เป็นน้องกันตลอดมา

            ช่วงปี พ.ศ.2536-2543 ผมเปิดร้านอาหารอยู่แถวบางกรวย สุวิทย์และเพื่อนแวะไปกินข้าวที่ร้านหว่องเฮ้าส์บ่อยๆ หลังจากเหน็ดเหนื่อยกับกิจกรรมม็อบ, การประชุม ชุมนุมแถวสนามหลวง, ธรรมศาสตร์ ข้ามสะพานปิ่นเกล้าเข้าบางกรวยก็ไม่ไกลนัก เรารู้จักกันมากขึ้นถึงรู้ว่าเราเข้าป่ากันคนละเขต สุวิทย์ลงใต้ พวกเราคาราวานขึ้นเหนือ กลับสู่เมืองต่างคนต่างยังยืนหยัดสู้เพื่อความเป็นธรรมตลอดมา

            ประมาณปี พ.ศ.2547 เราได้พบกันอีกครั้งหนึ่ง ท่ามกลางอากาศหนาวเย็นเดือนพฤศจิกายน ที่เกียวโต ผมมีคอนเสิร์ตโชว์ที่ร้านสาเกเล็กๆร่วมกับศิลปินชาวญี่ปุ่น ยูโช โทโยดะ สุวิทย์ วัดหนู เป็นคนไทยคนเดียวในหมู่ผู้มาชมวันนั้น นอกนั้นเป็นคนญี่ป่นหมดเลย เราต่างคนต่างดีใจที่ได้พบกันหลังสนทนากันจึงรู้ว่า สุวิทย์เดินทางจากโอซาก้า ห่างจากเกียวโตสักหนึ่งชั่วโมง ถ้าขับรถยนต์มา เขาเล่าให้ฟังว่าเขามาศึกษาปัญหาสลัมกับคนที่ไม่มีบ้านในญี่ปุ่น สุวิทย์ลงทุนไปนอนอยู่อย่างพวกเขาที่เอาเศษกล่องกระดาษมาทำเป็นบ้านซ่อนอยู่ ตามพุ่มไม้ในสวนสาธารณะของ เมืองโอซาก้า เพื่อจะได้พูดคุยกับคนจรจัดเหล่านั้น  เพราะคนเหล่านั้นไม่ไว้ใจใครและไม่คุยกับคนง่ายๆ  สุวิทย์เองก็อยากรู้ความรู้สึก ความทุกข์ทรมานในชีวิตของพวกเราเหล่านั้น  รู้ว่าปัญหามาจากไหน  ต่อสู้กับอะไร มีองค์กรไหนเข้ามาช่วยบ้าง  เพื่อจะได้รู้ปัญหา เพราะต่อไปเมืองไทยจะต้องเจอปัญหาแบบนี้แน่ คืนนั้นมีความสุขมาก ผมก็มีความสุขด้วยเพราะสุวิทย์ช่วยร้องเพลง ลุกขึ้นสู้ และเพลงอื่นๆ ทำให้บรรยากาศในคอนเสิร์ตสนุกเป็นกันเอง เราดื่มสาเกด้วยกันจนหน้าแดงก่ำ ก่อนจะลากัน

            เจอกันอีกที ก็งานวันคล้ายวันเกิดแม่ของสุวิทย์ ครบรอบ 80 ปี คาราวานไปเล่นดนตรีให้แม่ถึงสองครั้งแล้วจึงรู้ว่าสุวิทย์รักแม่มาก แม่ก้ภูมิใจที่มีลูกอย่างสุวิทย์ วัดหนู ผู้ทุ่มกายใจให้กับประชาชนตั้งแต่เริ่มต้นจนลมหายใจสุดท้าย

            น้ำเสียงทุ้มใหญ่ ผ่านไมโครโฟน บอกให้ประชาชนจัดขบวนแถวเป็นแนวเป็นระเบียบฟังแล้วทุกคนปฏิบัติตาม เมื่อสุวิทย์ วัดหนู ยืนอยู่บนหลังคารถ ยังเป็นภาพประทับใจผมตลอดไป



ที่ มา สุวิทย์ วัดหนู นักรบประชา เคียงข้างคนจน
คณะจัดทำหนังสืออนุสรณ์แห่ง ชีวิต สุวิทย์ วัดหนู
วันที่ 20 ธันวาคม 2495 - วันที่ 11 มีนาคม 2550

วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

To the brave dreamer - ไตรศุลี มโนเพ็ชร ...อัลบั้ม รวมพลคนอาสา ธารรัก ธารน้ำใจ สู่ไทยอันดามัน ชุดที่๓




อัลบั้ม รวมพลคนอาสา ธารรัก ธารน้ำใจ สู่ไทยอันดามัน Vol3. มหกรรมรวมน้ำใจครั้งยิ่งใหญ่ของศิลปิีนเพื่อชีวิต โดย เครือข่ายศิลปินเพื่อชีวิต ร่วมกับ มูลนิธิสายธารประชาธิปไตย, สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา, มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ, สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, มูลนิธิมิตรภาพสู่ท้องถิ่น, มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์, สถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ คณะกรรมการเตรียมงาน 30 ปี 6 ตุลา.. ขอคารวะน้ำใจอันยิ่งใหญ่ของคนไทยทั้งประเทศ เผยแพร่โดย บ้านศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน http://thaibansinlapin.blogspot.com


ธารรัก ธารน้ำใจ
หนึ่งที่ได้ คือเสียงเพลง เสียงกวีที่ให้เป็นกำลังใจแด่พี่น้องผู้ประสบภัย และอาสาสมัครที่ลงพื้นที่โดยมิได้นัดหมาย

อีกหนึ่งที่ได้ คือ การรวมเป็นหนึ่งเดียวของศิลปะ ศิลปินทั่วประเทศ
ซึ่งในโอกาสต่อไปทุกท่านเหล่านี้จะเป็นอีกส่วนหนึ่งของ การสร้างสรร
ต่อสู้ สู่ความงดงามของสังคม ร่วมกับพี่น้องเครือข่าย กลุ่มองคืกรต่างๆที่ทำงานเพื่อประชาชน และประเทศชาติ

และอีกหนึ่งที่ได้ - คือ การได้ทำหน้าที่ของตน โดยสมบูรณ์

// ความเป็นมา

เหตุการณ๋ ภัยพิบัติ "สินามึ" เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ได้กระตุ้นกระแสธารน้ำใจขนาดมหึมาของประชาชนทั่วประเทศและทั่วโลกให้หลั่งไหลมาโอบอุ้มผู้ประสบเคราะห์กรรมอย่างล้นหลาม อย่างไม่เคนปรากฏมาก่อน

ในขณะที่องค์กรภาครัฐในพื้นที่ อยู่ในสภาวะช็อคจากเหตุการณ์และตรึงเครียดอยู่กับการรอรับคำสั่งจากทางหน่วยเหนือนั้น ปรากฏว่ามีคลื่นอาสาสมัครและกลุ่มองค์กร ภาคประชาสังคมทั้งในและนอกพื้นที่ได้รวมตัว เชื่อมโยงการดำเนินงานและก่อตัวเป็นเครือข่ายเพื่อเข้าไปช่วยเหลือชุมชนและประชาชนที่กำลังเดือดร้อนอย่างแข็งขันเคียงคู่กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

เครือข่ายศิลปินเพื่อชีวิต ได้เล็งเห็นช่องว่างและตระหนักในปัญหานี้ จึงได้ริเริ่มรวมตัวกันจัดงานมหกรรมดนตรี "รวมพลคนอาสา ธารรัก ธารน้ำใจ สู่ไทยอันดามัน" ขึ้นในวันที่ 27 มีนาคม 2548 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ เพื่อระดมทุนไปสนับสนุนการดำเนินงานของกลุ่มอาสาสมัครและองค์กรภาคประชาสังคมนี้ขึ้น และเป็นที่มาของอัลบั้มเพลงชุดนี้

อัลบั้ม รวมพลคนอาสา ธารรัก ธารน้ำใจ สู่ไทยอันดามัน Vol3. มหกรรมรวมน้ำใจครั้งยิ่งใหญ่ของศิลปินเพื่อชีวิต โดย เครือข่ายศิลปินเพื่อชีวิต ร่วมกับ มูลนิธิสายธารประชาธิปไตย, สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา, มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ, สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, มูลนิธิมิตรภาพสู่ท้องถิ่น, มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์, สถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ คณะกรรมการเตรียมงาน 30 ปี 6 ตุลา.. ขอคารวะน้ำใจอันยิ่งใหญ่ของคนไทยทั้งประเทศ เผยแพร่โดย บ้านศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน

เราพอมีเราจะแบ่งปัน- ต่อ เสบียง ...อัลบั้ม รวมพลคนอาสา ธารรัก ธารน้ำใจ สู่ไทยอันดามัน ชุดที่๓







อัลบั้ม รวมพลคนอาสา ธารรัก ธารน้ำใจ สู่ไทยอันดามัน Vol3. มหกรรมรวมน้ำใจครั้งยิ่งใหญ่ของศิลปิีนเพื่อชีวิต โดย เครือข่ายศิลปินเพื่อชีวิต ร่วมกับ มูลนิธิสายธารประชาธิปไตย, สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา, มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ, สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, มูลนิธิมิตรภาพสู่ท้องถิ่น, มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์, สถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ คณะกรรมการเตรียมงาน 30 ปี 6 ตุลา.. ขอคารวะน้ำใจอันยิ่งใหญ่ของคนไทยทั้งประเทศ เผยแพร่โดย บ้านศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน http://thaibansinlapin.blogspot.com


ธารรัก ธารน้ำใจ
หนึ่งที่ได้ คือเสียงเพลง เสียงกวีที่ให้เป็นกำลังใจแด่พี่น้องผู้ประสบภัย และอาสาสมัครที่ลงพื้นที่โดยมิได้นัดหมาย

อีกหนึ่งที่ได้ คือ การรวมเป็นหนึ่งเดียวของศิลปะ ศิลปินทั่วประเทศ
ซึ่งในโอกาสต่อไปทุกท่านเหล่านี้จะเป็นอีกส่วนหนึ่งของ การสร้างสรร
ต่อสู้ สู่ความงดงามของสังคม ร่วมกับพี่น้องเครือข่าย กลุ่มองคืกรต่างๆที่ทำงานเพื่อประชาชน และประเทศชาติ

และอีกหนึ่งที่ได้ - คือ การได้ทำหน้าที่ของตน โดยสมบูรณ์

// ความเป็นมา

เหตุการณ๋ ภัยพิบัติ "สินามึ" เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ได้กระตุ้นกระแสธารน้ำใจขนาดมหึมาของประชาชนทั่วประเทศและทั่วโลกให้หลั่งไหลมาโอบอุ้มผู้ประสบเคราะห์กรรมอย่างล้นหลาม อย่างไม่เคนปรากฏมาก่อน

ในขณะที่องค์กรภาครัฐในพื้นที่ อยู่ในสภาวะช็อคจากเหตุการณ์และตรึงเครียดอยู่กับการรอรับคำสั่งจากทางหน่วยเหนือนั้น ปรากฏว่ามีคลื่นอาสาสมัครและกลุ่มองค์กร ภาคประชาสังคมทั้งในและนอกพื้นที่ได้รวมตัว เชื่อมโยงการดำเนินงานและก่อตัวเป็นเครือข่ายเพื่อเข้าไปช่วยเหลือชุมชนและประชาชนที่กำลังเดือดร้อนอย่างแข็งขันเคียงคู่กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

เครือข่ายศิลปินเพื่อชีวิต ได้เล็งเห็นช่องว่างและตระหนักในปัญหานี้ จึงได้ริเริ่มรวมตัวกันจัดงานมหกรรมดนตรี "รวมพลคนอาสา ธารรัก ธารน้ำใจ สู่ไทยอันดามัน" ขึ้นในวันที่ 27 มีนาคม 2548 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ เพื่อระดมทุนไปสนับสนุนการดำเนินงานของกลุ่มอาสาสมัครและองค์กรภาคประชาสังคมนี้ขึ้น และเป็นที่มาของอัลบั้มเพลงชุดนี้

อัลบั้ม รวมพลคนอาสา ธารรัก ธารน้ำใจ สู่ไทยอันดามัน Vol3. มหกรรมรวมน้ำใจครั้งยิ่งใหญ่ของศิลปินเพื่อชีวิต โดย เครือข่ายศิลปินเพื่อชีวิต ร่วมกับ มูลนิธิสายธารประชาธิปไตย, สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา, มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ, สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, มูลนิธิมิตรภาพสู่ท้องถิ่น, มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์, สถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ คณะกรรมการเตรียมงาน 30 ปี 6 ตุลา.. ขอคารวะน้ำใจอันยิ่งใหญ่ของคนไทยทั้งประเทศ เผยแพร่โดย บ้านศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน

สุเวศน์ ภู่ระหงษ์ ศิลปินประชาชน

เรื่องที่น่าสนใจของกลุ่มศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน

ความเห็นต่อ กลุ่มศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน