วันอังคารที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2553

เพลงเรื่องหมาๆ -สุเวศน์ ภู่ระหงษ์ วัลลภ พลเสน อัลบั้ม ม้าก้านกล้วย เด็กไทยปลอดภัยไว้ก่อน



เพลงเรื่องหมาๆ - อัลบั้ม ม้าก้านกล้วย เด็กไทยปลอดภัยไว้ก่อน ประพันธ์เพลงโดย สุเวศน์ ภู่ระหงษ์ วัลลภ พลเสน
อัลบั้มซึ่งโรงพยาบาลรามาธิบดี ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) ให้การสนับสนุนในการผลิต

วันพฤหัสบดีที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2553

ตายที่ไม่ตาย โดย เดช พุ่มคชา

ตายที่ไม่ตาย โดย เดช พุ่มคชา
(ว่าด้วยความทรงจำและการระลึกถึง)

เดช พุ่มคชา - 17 พฤษภาคม 2550

            ค่ำวันหนึ่งปลายปีที่ผ่านมา ท่ามกลางความร้อนระอุ ลมการเมืองไทยปะทะกับระบอบทักษิณ ที่ศาลาหนึ่ง ร่างของเพื่อนชาวเยอรมันนอนสงบนิ่งในโลง คุณวอลเตอร์ สะโครบาเนค กัลยาณมิตรของคนด้อยโอกาสและผู้ทำงานย่านภูมิภาคนี้ ในฐานะที่เป็นผู้แทนขององค์การแตร์แดซอม มาส่งเสริมการพัฒนางานครั้งนั้น อ๊อด (ภิรมย์ คล้ายจินดา) มือขวา (ในเมืองไทย) ของคุณวอลเตอร์ ทำหน้าที่เป็นเสมือนเจ้าภาพต้อนรับขับสู้ ดูแลประสานการต่างๆร่วมกับคุณศิริพร (ภรรยาคุณวอลเตอร์) สุวิทย์ นำหรีดพี่น้องสลัมคารวะผู้วายชนม์ นับว่าเป็นการชุมนุมนักกิจกรรมสังคมสาขาต่างๆที่คับคั่งครั้งหนึ่ง ไม่ว่าสหาย 66/2523 หรือไม่ก็ตาม

            เป็นธรรมดาของผู้คนเช่นเราๆตั้งใจไปร่วมงานคนที่รักและศรัทธา เมื่อเจอกันก็อดไม่ได้ที่จะจับแก๊งค์ สนทนาพาทีวิพากษ์วิจารณ์ หรือแม้กระทั่งสารพัดนินทา โดยเฉพาะการเมืองเรื่องชอบคุน เช่นเคย วันนั้นสุวิทย์เป็นคนที่ให้ข้อมูลเบื้องหลังเบื้องลึกได้ค่อนข้างมากในฐานะ ที่เขาเป็นคนทำหน้าที่โฆษกเวทีพันธมิตรพิชิตหน้าเหลี่ยม และเขายืนหยัดสายเอ็นจีโอ ไม่ขอรับตำแหน่งใดๆ เมื่อเลิกเวทีสยามพารากอนแล้วมีการรัฐประหารอีกหลายเดือนต่อมา

            หลังวันนั้น เราแยกย้ายกันสู่งานของแต่ละคน เอ็นจีโอ กลุ่มพวกผมถูกสถานการณ์เรียกชุมนุมกันโดยด่วนอีกครั้ง ในวันที่ 8 มีนาคม 2550 ในงานฌาปนกิจศพอย่างกระทันหันของอ๊อด (หัวใจวาย) ที่บางระกำ พิษณุโลก บ้านเกิดของอ๊อด

            ชั่วโมงนั้นแดดจ้าฟ้ากระจ่าง
            กาเหว่าพร่างพองเสียงสำเนียงก้อง
            มิตรสหาย ชายหญิง ญาติร่วมประคอง
            โลงขาวขลิบทองสู่ปูนเมรุ
            เป็นสุข..เป็นสุข เถิดอ๊อด
            บุรุษยอด เกิดมาสมค่าเห็น
            ดี-จริง-งาม สิ่งควรเป็น
            กาเหว่าเร้น แซมเสียงเคียงเมรุ
            สุวิทย์ ก้าวย่างวางผ้าพาด
            ร่วมประศาสน์ อุทิศ แทนมิตรที่เห็น
            แด่อ๊อด แลประดาเจ้ากรรมนายเวร
            เขาดูเด่น..เช่นที่เคย

            พวกเราแยกย้ายจากกันยามบ่าย ..ของวันนั้น ก่อนจากกันผมและหลายๆคนยังแซวกันว่า ต่อไปตามึงละ
            ผมตบไหล่ บำรุง (บุญปัญญา) ท่ามกลางพี่ๆน้อง ตามด้วยคำพูดว่า ใครจะไปก่อนกันวะ เช้าวันที่ 12 มีนาคม ผมอยู่ในหมู่บ้านจังหวัดชุมพร โทรศัพท์ข่าวของสุวิทย์ ทำให้เช้าวันนั้นของผมพลอยหมองหม่นไปด้วย
            ผมผันตัวเองจากอีสาน มาร่วมงานในมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.) ปี 2533 หลังวันวาเลนไทน์ ปี 2534 นายพลเสื้อคับ เป็นหัวหน้ารัฐประหาร อาจารย์โคทม อารียา สมชาย หอมละออ สมพงษ์ พัดปุย พร้อมผมและน้องๆร่วมประชุมกันที่ สภาคริสตจักรฯ สะพานหัวช้าง ราชเทวี ที่ประชุมเห็นชอบฟื้นฟูคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ขึ้นอีกครั้ง (ครป.เกิดขึ้นเมื่อปี 2522 ตอนร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับที่นักการเมืองท่านหนึ่งให้ฉายาว่าฉบับหมาเมิน ) ต่อมาได้เข้าร่วมกับกลุ่มนิสิตนักศึกษา ที่ปริญญา เทวานฤมิตรกุล นำอยู่ ผนวกกันเพื่อต่อสู้ประชาธิปไตย

            ผมได้ร่วมงานใกล้ชิดกับสุวิทย์โดยตรงมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนธันวาคมปีนั้น สายคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช) เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับสากลครั้งสำคัญเป้นโอกาสแรก ตอนที่ธนาคารโลกมาจัดประชุม โดยรัฐบาลไทยจัดสร้างศูนย์ประชุมสิริกิตติ์ ต้องไล่รื้อ ชุมชนไผ่สิงโต จำนวนหนึ่งออกไป เราประสานกับเอ็นจีโอ สายสลัม สุวิทย์เป็นคนหนึ่งที่ร่วมและช่วยเหลืออย่างแข็งขัน ช่วยให้คนด้อยโอกาลชนบทและสลัมได้สัมพันธ์เป็นเครือข่าย เข้าอกเข้าใจปัญหาองค์รวมได้ดียิ่งขึ้น หลายครั้งหลายหนที่พี่น้องจากชนบทมีความจำเป็นต้อง สื่อสารปัญหาของการพัฒนาที่ผิดพลาดในกรุงเทพฯ พี่น้องชาวสลัมจะเป็นทั้งปริมาณคนเข้าร่วม เสบียงหรือแม้แต่ที่พักคนจนเมือง และชนบทก็เข้าอกเข้าใจกันดียิ่งขึ้น จนรวมเป็นสมัชชาคนจน (2538) และร่วมกันขับเคลื่อนภารกิจ เพื่อประท้วงและผลักดันให้เกิดสังคมที่เป็นธรรมร่วมกัน มาจนถึงปัจจุบัน สุวิทย์แสดงสปิริต ร่วมด้วยช่วยกันมาอย่างเสมอต้นเสมอปลาย แม้ว่าบางครั้งเขาจะแสดงความคิดเห็น คัดค้าน แบบฟันธงอย่างเปิดเผย ตรงไปตรงมา

            ผมรู้จักภูมิหลังของสุวิทย์ ผ่านสมภพ บุนนาค ซึ่งเป็นรุ่นน้องรุ่นพี่กันที่ มศว.บางแสนยุคก่อน สุวิทย์เป็นกรรมการศูนย์นิสิต นักศึกษาและร่วมมีบทบาทเคลื่อนไหวเพื่อความถูกต้องของกลุ่มก้าวหน้าเสมอๆ จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ปริศนา เมื่อ 6 ตุลาคม 2519 ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และท้องสนามหลวง ทั้งสองเร้นกายสู่มหาวิทยาลัยธรรมชาติคนละภูมิภาค สมภพได้ไปแสดงฝีมือพ่อครัวที่โจษจันในกลุ่ม ส่วนสุวิทย์แสดงฝีมือการเคยเป็นอาจารย์นักเรียนช่างกลให้ปรากฏเล่าขานกันใน เขตงาน เหตุการณ์ผันแปร เขาทั้งสองต้องออกมาล่าฝันต่อกับเอ็นจีโอและสุวิทย์ก็ยังคงเป็นน้องที่เห็น คุณค่า เคารพ นับถือพี่สมภพของเขาเสมอต้นเสมอปลาย
            ต่อมาเมื่อ ครป.ย้ายสำนักงานจากสมาคมสิทธิเสรีภาพ (สสส.) มาอยู่ที่ตึก มอส. ผมและสุวิทย์ได้เพิ่มความใกล้ชิดในงานมากยิ่งขึ้น ได้ช่วยให้ ครป.ซึ่งมีจริตและความชำนาญเรื่องการรณรงค์ประชาธิปไตยและการเมือง ได้เพิ่มความเข้าใจ ประเด็นการพัฒนาและขบวนการสังคมใหม่ ซึ่งมีความจำเป็น   ในการเคลื่อนไหวการพัฒนาแบบองค์รวม ผมแอบหวังอยู่ในใจว่า คงจะช่วยกันให้ความเข้าอกเข้าใจในขบวนงานสังคมของเครือข่ายต่างๆได้ดียิ่ง ขึ้น ระยะหลังขบวนการประชาชน และเอ็นจีโอขยายบทบาทมากขึ้น แต่ดูเหมือนว่างานก็ยิ่งทำยิ่งยากขึ้น เราต้องสูญเสียคนของเราจำนวนหนึ่งอยู่บ่อยๆ เมื่อเข้าสู่วงการเมือง หรือแม้แต่เข้าไปมีบทบาททางการกับภาคราชการ พวกเราส่วนหนึ่งคิดถึงการมีพรรคการเมืองของเราเอง สวนรักที่อัมพวาของผม ได้เคยใช้เป็นที่สุมหัว คิดตั้งพรรค ปรับเปลี่ยนกันไม่น้อยกว่าสองครั้ง แต่ก้ไปไม่ได้เท่าไร จนในที่ประชุมสมัชชา ครป. ครั้งล่าสุดที่มหาวิทยาลัชราชภัฏจันทร์เกษม สุวิทย์ประกาศไม่ขอมีตำแหน่งใดๆใน ครป. และจะตระเวนไปเตรียมการตั้งพรรค สถานการณ์โดยรวมไม่เอื้ออำนวยทำให้เขาต้องข้องแวะกับรัฐบาลและประชาธิปไตย ...ของสังคมไทยและชนชั้นนำทำให้เขามีเวลาไม่พอที่จะสร้างพรรคการเมืองให้ เป็นจริงได้ ปัจจุบันไม่มีเขาแล้ว เขาทิ้งประวัติศาสตร์จิ๋วๆไว้ให้กับสังคมไทย  พิภพและมิตรสหายต้องทบทวนกันต่อ

            สุวิทย์ก็เหมือนมนุษย์โดยทั่วไป เขามีข้อบกพร่องอย่างน้อยหนึ่งสิ่ง ที่ระยะหลังนี้ผมประสบด้วยตัวเอง และน้องๆเล่าให้ฟังบ่อยๆ ว่า หลายครั้งที่มีการปรึกษาหารือ หรือกินดื่มในหมู่มิตร น้องๆเมื่อได้ที่เขามักแขวะบางคนในวงบ่อยๆ บางครั้งถึงกับเสียมิตรกันไป จนถึงต้องมีการไกล่เกลี่ยตามมา

            จากปี 2533 จนถึงวันจากกัน ผมรับรู้และประสบด้วยตนเองว่า เขาไม่เคยคิดฉวยโอกาส ถ้าเขาตัดสินใจสมัคร สว.ครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญปี 40 นั้น เขาได้รับเลือกอย่างแน่นอน เขาจะคิดถึงมวลชนคนด้อยโอกาสอยู่เสมอๆ เขาเลือกอยู่กับเอ็นจีโอจนๆ นึกถึงกลุ่มเป้าหมายมากกว่าตนอง และองค์กรที่สังกัด และซื่อสัตย์เสมอ
            ช่วงพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตย เขาติดตามเรื่องราวอย่างจดจ่อมาก่อนหน้าเข้าร่วมมานาน รับฟังจากเบื้องล่างทุกระดับ เมื่อกลุ่มประกาศรับบริจาคที่ท้องสนามหลวง เอ็นจีโอสาย กป.ได้รับมอบหมายให้ดูแลเงินบริจาค จากสนามหลวง จนถึงหัวค่ำวันสุดท้ายฝนตกหนักที่ตึก กกต. หลังจากประกาศสลายตัวตอนเช้าที่สยามพารากอน ยอดเงินผ่านชุดนี้ 19 ล้านเศษ เราช่วยกันเป็นผู้ดูแลชั้นต้นก่อนถึงตัวแทนกลุ่มพันธมิตรฯ 5 คน ผมและน้องๆกลุ่มหนึ่งต้องช่วยกันดูแลการอนุมัติ เบิกจ่าย ทำบัญชี สรุปประจำวัน ให้สุวิทย์ประกาศบนเวทีทุกวัน ในช่วงทำงาน สุวิทย์ไม่เคยมาเบิกค่าใช้จ่ายจากกองกลางนี้เลย เขาต้องไปสื่อสารกับพันธมิตรฯในส่วนต่างจังหวัด ในหลายแห่งหลายครั้ง เขากลับมาพร้อมกับซองเงินหรือเงินพับซ้อนกัน บอกว่า มีคน กลุ่ม ฝากบริจาคมาช่วย พันธมิตรฯครั้งหนึ่ง เขาต้องออกเดินสายยาว ผมอนุมัติเงินสดเป็นค่าเดินทางให้ไปล่วงหน้า เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจเดินทาง เขาแจ้งกับผมว่าไม่ขอเบิกเงินก้อนนั้นแล้ว เพราะเครือข่ายต้นสังกัดของเขาจ่ายให้เอง และเขาแจ้งว่า ได้ฝากเงินดังกล่าวให้มาคืนส่วนกลางแล้ว จนถึงขณะนี้ส่วนกลางยังไม่ได้รับเงินจำนวนนั้น เห็นทีจะต้องเล่นผีถ้วยแก้ว ถามเรื่องนี้กับสุวิทย์สักหน่อยเป็นไร

            ระหว่างที่ผมยังงงๆกับข่าวที่ได้รับในเช้าวันนั้น ถ้อยคำ สี่วลี ถูกคิดและถ่ายทอดถึงน้องๆ และแปรเป็นแถบผ้าสีแดงขึงอยู่ท่ามกลางหรีดและช่อดอกไม้ ในงานสวดพระอภิธรรมให้เขาเรื่อยมา

                ลูกที่ดีของแม่พ่อ
                ศิษย์สมพอ ของครู อยู่เสมอ
                เกลอของเพื่อน ไม่เคยเบลอ
                สหายผู้ไม่เผลอ ห่างมวลชน
                ไปสบายเถอะนะน้อง
                สุ      สง่าเอี่ยมเลี่ยมแล้   จิตใจ เขาคง
                วิทย์   ส่งสืบสหาย         มุ่งสร้าง
                วัด     ตวงห่วงเรื่องร้าย     เธอร่วม เสมอตัว
                หนู   ดั่งหลั่งแรงล้าง        ไป่เรื้อ  ตราบวาย

วันครบรอบ 15 ปี พฤษภาหฤโหด
สวนรักปลายคลองลำประโดงลึก อัมพวา         

ที่มา สุวิทย์ วัดหนู นักรบประชา เคียงข้างคนจน
คณะจัดทำหนังสืออนุสรณ์แห่ง ชีวิต สุวิทย์ วัดหนู
วันที่ 20 ธันวาคม 2495 - วันที่ 11 มีนาคม 2550

วันอังคารที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2553

อาจารย์อารมณ์ มีชัย คุณแม่ของชาวสานแสงทอง มร.. โดย เชี่ยวชาญ เกื้อชู

            ทันทีที่ทราบข่าวว่า อาจารย์อารมณ์ มีชัย ได้จากพวกเราไปอย่างไม่มีวันกลับในช่วงดึกของวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2552 ภาพความทรงจำในอดีตเมื่อครั้งเรียนในมหาวิทยาลัยรามคำแหงก็ย้อนปรากฏหลายฉาก ตอน

            ราวปี 2532-2535 รถจี๊บทหารสีเขียวสภาพเก่าโทรม วิ่งเข้าออกมหาวิทยาลัยรามคำแหงเกือบทุกเย็นจนเป็นที่คุ้นหูคุ้นตาของนัก กิจกรรมสมัยนั้นเป็นอย่างดี ชายร่างท้วมผิวขาววัย 50 กว่าทำหน้าที่เป็นคนขับ ส่วนผู้ที่นั่งคู่มากับคนขับเป็นหญิงวัยเดียว กันผิวขาวนวลท่าทางกระฉับกระเฉงยิ้มง่ายอารมณ์ดี แสดงถึงสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์

            ทันทีที่รถจอดหน้าที่ทำการ "พรรคสานแสงทอง" กลุ่มนักกิจกรรมทางสังคมในรั้วมหาวิทยาลัยหญิงชายต่างกรูออกมาต้อนรับ ยกมือไหว้ ก่อนช่วยกันขนสัมภาระทั้งข้าวสารอาหารแห้งลงจากรถและจัดแจงเตรียมหุงข้าวทำ แกงสำหรับอาหารมื้อเย็น

            หญิงวัย 50 มักใช้เวลาขณะเตรียมอาหารสนทนาแลกเปลี่ยน ถ่ายทอดประสบการณ์ต่างๆนานากับนักกิจกรรมอย่างสนุกสนาน ส่วนชายวัย 50 หลังเสร็จหน้าที่พลขับ จะเดินเข้าร่วมกับกลุ่มนักศึกษาชาย ที่ตีโครงติดป้ายกันอย่างคึกคัก แกมักสอดแทรกแนวความคิดเรียกเสียงเฮฮาเป็นระยะๆ ได้ทั้งสาระและคลายเหนื่อยไปพร้อมๆกัน

            "กินข้าวให้หมดจาน เพราะเป็นหยาดเหงื่อของชาวนา" อาจารย์อารมณ์สอน
           
            "อย่ารังเกียจการใช้แรงงานและดูถูกผู้ใช้แรงงาน" อาจารย์เจริญบอก

            นี่คือ... ภาพและเรื่องราวเก่าๆตอนหนึ่งในอดีตกว่า 20 ปีที่ผ่าน กลับมาอยู่ในความทรงจำอีกครั้งหนึ่งหลังทราบข่าวร้าย

            อาจารย์อารมณ์และอาจารย์เจริญ มีชัย สองสามีภรรยา นอกจากอาสาตัวเข้ามาแบกรับอาหารการกินแล้ว ยังให้แหล่งที่พักพิงกับรุ่นพี่รุ่นน้องของพวกเรา บ้านพักของอาจารย์ทุกหลังจึงเต็มไปด้วยบรรดานักกิจกรรมอาศัยหลับนอนกินอยู่ เต็มบ้านทุกวันคืนไม่เคยขาด รถจี๊บคันเก่าก็ถูกนำมาใช้งานเสมือนสมบัติของพรรคสานแสงทองและผุพังเพราะงาน กิจกรรมสังคมไปในที่สุด

            อาจารย์อารมณ์ ปฏิบัติอย่างนี้อยู่หลายปีไม่เคยขาดตกบกพร่อง และไม่เคยปริปากบ่นเรียกร้องบุญคุณทดแทนจากผู้ใด? ด้วยเหตุนี้เองสมาชิกพรรคสานแสงทองมหาวิทยาลัยรามคำแหง หลายรุ่น เรียกขานอาจารย์ทั้งสองท่านว่า "พ่อ-แม่" อย่างไม่ขัดเขินจวบจนวันนี้

            24 กุมภาพันธ์ 2534 สร้างความทุกข์ใจใหักับคุณแม่อารมณ์อีกครั้งหนึ่ง เมื่อคณะนายทหารในนามคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ เคลื่อนรถถังออกมาทำรัฐประหาร พวกเรานักศึกษา 15 คน ออกมาต่อต้านการยึดอำนาจของคณะทหาร "ทหาร เผชิญหน้ากับลูกๆนักศึกษา" สถานการณ์ทางการเมืองตึงเครียด คุณแม่อารมณ์หวั่นวิตกอย่างมาก เกรงว่า พวกเราจะตกอยู่ในภาวะอันตรายจึงจัดเตรียมเวรยามรักษาความปลอดภัยปกป้องคุ้ม ครอง ตัวท่านเองก้ไม่ยอมกลับบ้านกินอยู่หลับนอนเคียงข้างกับพวกเราไม่ห่าง บางคืนจะเห็นคุณแม่นั่งเป็นเวรยามเฝ้าลูกๆท่ามกลางความมืดมน

            ในที่สุดพวกเราทั้ง 15 คน ที่ต่อต้านการรัฐประหารถูกจับกุม ข้อหาฝ่าฝืนกฎอัยการศึก ถุกคุมขังตามสถานีตำรวจทั่วกรุงเทพฯ ก็ตกเป็นภาระของคุรแม่อารมณ์อีก ต้องตระเวณส่งข้าวส่งน้ำตาม สน.ต่างๆ ทั้งยังเป็นธุระวิ่งหยิบยืมเงินประกันตัว นำพวกเราออกมาจากกรงขังจนได้รับอิสระภาพ กระทั่งเหตุการณ์ลุกลามบานปลายกลายเป็นพฤษภาคม 2535 คุณแม่อารมณ์ตัดสินใจเดินนำหน้าประกาศเจตนารมณ์ปกป้องประชาธิปไตยและยกลูก ชายทั้งสาม โจ้-นัท-เมย์ ให้ประชาชนกลางถนนราชดำเนิน

            นี่คือ... ภาพและเรื่องราวเก่าๆ อีกตอนหนึ่งที่อยู่ในความทรงจำไม่เสื่อมคลาย แม้คุณแม่จะจากพวกเราไปแล้วในวันนี้

            ขอให้คุณแม่หลับให้สบาย สู่ภพภูมิแห่งความสุขสงบร่มเย็น คุณแม่จะอยู่ในความทรงจำของพวกเรา ลูกๆชาวพรรคสานแสงทอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง ไปตราบนานเท่านาน

            อาจารย์อารมณ์  .... แม่    ผู้เสียสละเอื้ออาทรให้อาหารและอุปถัมภ์ที่อยู่หลับนอน
            อาจารย์อารมณ์  .... แม่    ผู้อบรมให้เรารู้จักการ  "เสียสละและเห็นคุณค่าของผู้ยากไร้"
            อาจารย์อารมณ์  .... แม่    ผู้อยู่เคียงข้างในยามสถานการณ์การเมืองคลุ้มคลั่ง
            อาจารย์อารมณ์  .... แม่    ผู้ทำให้พวกเรารู้จักซาบซึ้งคำว่า "เสรีภาพและประชาธิปไตย"
            อาจารย์อารมณ์  .... แม่    ผู้พร่ำสอนให้พวกเราหยัดยืนอยู่บนความ "ซื่อสัตย์และยุติธรรม"



เชี่ยว ชาญ เกื้อชู
รักษาการหัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
สาขาจังหวัดนครศรีธรรมราช
อดีตคณะกรรมการองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง
พรรคสานแสงทอง
และ 1 ใน 15 นักศึกษาถูกจับกุมในข้อหาฝ่าฝืนกฎอัยการศึก
ต่อต้านการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.)




ที่มา "อารมณ์ มีชัย ตราไว้ในใจชน"
หนังสือที่ระลึก งานพระราชทานเพลิงศพ อาจารย์อารมณ์ มีชัย

แห่งประวัติศาสตร์การเคลื่อนไหว โดย สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์

            ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 ครูอารมณ์ขึ้นรถตู้สีขาวปราศรัยว่า "หากใครมีภาระครอบครัวต้องรับผิดชอบก็ให้กลับบ้านได้ เพราะประกาศภาวะฉุกเฉินแล้ว ทหารอาจทำอันตรายได้"
            ทหาร รสช. ประกาศสวนทันทีว่า

            "หยุดพูด หยุดใช้เสียงได้แล้ว และสลายตัวไปเสีย ทหารมีสิทธิ์จับได้นะ"
            "เอาอย่างนี้ พวกเราในที่นี้ใจเกินร้อยอยู่แล้ว ไม่ต้องปลุกใจกันอีกแล้ว เป็นไงก็เป็นกัน" ครูอารมณ์พุดเป็นประโยคสุดท้ายก่อนวางไมโครโฟน

            ความข้างต้นคัดมาจากหนังสือ "บันทึก พฤษภา 2535 ปากคำประวัติศาสตร์จากเลือดและน้ำตา" (โดย ไศล ภูลี้ สมาพันธ์ประชาธิปไตยจัดพิมพ์) สะท้อนให้เห็นตัวตนที่แท้จริง จุดยืน อุดมคติ และชีวิตที่เลือกได้ของครูอารมณ์ มีชัย ซึ่งจากพรากพวกเราไปชั่วนิจนิรันดร์
            ผมรู้จัก สตรีผู้ยิ่งใหญ่แห่งภาคใต้ผู้นี้เมื่อครั้งเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร ในช่วงเหตุการณ์หลังเดือนตุลาคม 2516

            เขาเป็นสตรีฝ่ายก้าวหน้า ต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่กับสุรชัย แซ่ด่าน นักรบประชาชนแห่งนครศรีธรรมราช ภายใต้พรรคปฏิวัติร่วมกับสามี ครูเจริญ มีชัย
            20 ปีต่อมา ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 ครูอารมณ์ ได้รับเลือกเป็น 1 ใน 7 แกนนำสมาพันธ์ประชาธิปไตย องค์กรภาคประชาชนที่โค่นล้มเผด็จการ 4 เหล่าทัพ รสช.ลงอย่างหมดรูป ครั้งนั้น เราจะเห็นวีรภาพอันเด็ดเดี่ยวและกาญกล้าของครูอารมณ์ เคียงคู่กับพลตรีจำลอง ศรีเมือง  สมศักดิ์ โกศัยสุข ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ สุวิทย์ วัดหนู และคนอื่นๆ อีกจำนวนนับแสนๆ
            ในทางการเมือง ครูอารมณ์ยึดมั่นแนวทางความถูกต้องและความเป็นธรรมอย่างไม่เสื่อมคลาย ทั้งในฐานะข้าราชการครูโรงเรียนมัธยมศึกษา นักพัฒนาในองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ด้านเด็ก และนักเคลื่อนไหวมวลชน

            ในช่วงปี 2549-2551 ภายใต้พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ครูอารมณ์ได้ร่วมต่อสู้อย่างสุดจิตสุดใจ เพื่อโค่นล้มรัฐบาลเผด็จการทุนนิยมสามานย์ในชื่อของ "ระบอบทักษิณ" จนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต
            บนเส้นทางสายนี้ ชีวิตของครูอารมณ์เป็นชีวิตที่เลือกได้จริงๆ ตาม "อุดมคติ และความเป็นธรรมทางสังคม" โดยมุ่งหวังเป้าหมายปลายทางสู่ "การเมืองใหม่"

            ครูอารมณ์ มีชัย เป็นนักรบของประชาชนอันสมบูรณ์ หมดจด
            เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์การเคลื่อนไหวมวลชน เพื่อการลุกขึ้นสู้และสรรค์สร้างสังคมใหม่
            หลับเถิด.. พี่สาว...นักรบประชาชน
            เราขอแสดงความเคารพ ความรำลึกอันเปี่ยมล้นด้วยความรักและศรัทธายิ่ง


สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย


ที่มา "อารมณ์ มีชัย ตราไว้ในใจชน"
หนังสือที่ระลึก งานพระราชทานเพลิงศพ อาจารย์อารมณ์ มีชัย
22 กุมภาพันธ์ 2552

วันเสาร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2553

เพลงม้าก้านกล้วย -สุเวศน์ ภู่ระหงษ์ วัลลภ พลเสน อัลบั้ม ม้าก้านกล้วย เด็กไทยปลอดภัยไว้ก่อน



เพลงม้าก้านกล้วย - อัลบั้ม ม้าก้านกล้วย เด็กไทยปลอดภัยไว้ก่อน ประพันธ์เพลงโดย สุเวศน์ ภู่ระหงษ์ วัลลภ พลเสน
อัลบั้มซึ่งโรงพยาบาลรามาธิบดี ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) ให้การสนับสนุนในการผลิต

แม่ผู้เลี้ยงลูกด้วยงาน โดย มนตรี สินทวิชัย

            ฉันยังจำได้ดี ถึงวันหนึ่งเมื่อหลายปีมาแล้ว คุณแม่อารมณ์และคุณพ่อเจริญ มีชัย สองสามีภรรยาคู่ทุกข์คู่ยาก เดินจูงมือกันมาเยือนที่มูลนิธิคุ้มครองเด็ก ว่าด้วย เมย์ ลูกชายคนสุดท้องทำงานอยู่ที่นี่ ผมมีโอกาสแลกเปลี่ยนทัศนะความคิดกับท่านทั้งสองอย่างออกรสในหลายๆเรื่อง บรรยากาศที่เป็นกันเองคล้ายกับว่า เราสนิทสนมกันมาเนิ่นนาน และฉันยังจำได้ดีก่อนที่ท่านทั้งสองจะจูงมือกันไป เพื่อกลับนครศรีธรรมราช คุณพ่อเจริญกล่าวกับฉันผสมรอยยิ้มว่า "ถ้าวันใดไปพบยมบาล เดินเข้าไปหาเขาอย่างองอาจนะ"  ฉันยิ้มและสบกับท่านทั้งสองแทนคำร่ำลาที่ไม่ต้องเปล่งวาจาออกมาแต่ก็เข้าใจ กัน

            ฉันมีโอกาสนั่งสนทนากับท่านทั้งสองอีกหลายครั้ง ความรู้ปนเสียงหัวเราะทำให้ปัญญาฉันถูกบั่นให้คมขึ้นไม่มากก็น้อย เมื่อคุณพ่อเจริญจากไปด้วยความอาลัยรัก นอกจากผมจะมีโอกาสสนทนากับคุณแม่อารมณ์อีกหลายครั้งกับบรรยากาศที่ไม่เต็ม เพราะขาดคุณพ่อเจริญ ก็ยังมีโอกาสร่วมงานกับท่านอีกหลายปี ความจริง ความทุ่มเท ความเข้าใจคนและน้อมรับฟัง แม้ผู้แลกเปลี่ยนจะมีวัยวุฒิ คุณวุฒิ หรือประสบการณ์ชีวิตที่น้อยกว่า ดูจะเป็นลักษณะพิเศษของเธอ

            ดวงตาของคุณแม่อารมณ์ ยังเป็นดวงตาที่สร้างความประทับใจให้ฉันมาโดยตลอด เพราะทุกครั้งที่เธอพูดถึงงานการช่วยเหลือเด็กก็ดี งานต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมก็ดี ดวงตาของเธอจะเปล่งประกายด้วยความสุขแฝงด้วยความภูมิใจ โดยเฉพาะเมื่อเธอพูดถึงลูกๆ ของเธอที่ทำงานเยี่ยงเธอหรือมากกว่าเธอ ดวงตาของเธอยิ่งเปล่งประกายมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด

            แม่แปลกเลยที่คนเป็นแม่เช่นเธอจะไม่ใยดีพูดถึง ความต้องการให้ลูกเรียนจบสูงๆ มีเงินทองใช้อย่างสบาย เพราะแม้ว่าในช่วงที่เธอป่วย ฉันก็ทราบว่า เธอก็ยังถามถึงงานของลูกๆอยู่เป็นประจำ

            เป็นไปได้ว่า หากสังคมเรามีแม่ที่มีความสุขกับการทำงานเพื่อสังคมของลูกๆ มากกว่าความสำคัญของฐานะ ตำแหน่ง หรือ การศึกษาเช่นนี้ มากขึ้นเรื่อยๆ โลกใบนี้คงงดงามมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน

            ไปสู่สุขคติภพเถิด คุณแม่อารมณ์ มีชัย ไปอย่างคนที่เก็บอารมณ์ มีชัยไปด้วย และหากยมพบาลมีจริง ผมว่า คนเป็นแม่อย่างเธอคงเดินเข้าไปพบอย่างองอาจเฉกเช่น คุณพ่อเจริญ มีชัยเคยกล่าวกับผม

ครูยุ่น
(มนตรี สินทวิชัย)


ที่มา "อารมณ์ มีชัย ตราไว้ในใจชน"
หนังสือ ที่ระลึก งานพระราชทานเพลิงศพ อาจารย์อารมณ์ มีชัย
22 กุมภาพันธ์ 2552
+

arom meechai

arom meechai

วันเสาร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2553

Tsunami - ต่อศักดิ์ จันทร์กลัด.... อัลบั้ม รวมพลคนอาสา ธารรัก ธารน้ำใจ สู่ไทยอันดามัน ชุด ๒


จากเพื่อนสู่เพื่อน-บูรพา




อัลบั้ม รวมพลคนอาสา ธารรัก ธารน้ำใจ สู่ไทยอันดามัน Vol2. มหกรรมรวมน้ำใจครั้งยิ่งใหญ่ของศิลปิีนเพื่อชีวิต โดย เครือข่ายศิลปินเพื่อชีวิต ร่วมกับ มูลนิธิสายธารประชาธิปไตย, สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา, มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ, สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, มูลนิธิมิตรภาพสู่ท้องถิ่น, มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์, สถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ คณะกรรมการเตรียมงาน 30 ปี 6 ตุลา.. ขอคารวะน้ำใจอันยิ่งใหญ่ของคนไทยทั้งประเทศ เผยแพร่โดย บ้านศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน http://thaibansinlapin.blogspot.com


ธารรัก ธารน้ำใจ
หนึ่งที่ได้ คือเสียงเพลง เสียงกวีที่ให้เป็นกำลังใจแด่พี่น้องผู้ประสบภัย และอาสาสมัครที่ลงพื้นที่โดยมิได้นัดหมาย

อีกหนึ่งที่ได้ คือ การรวมเป็นหนึ่งเดียวของศิลปะ ศิลปินทั่วประเทศ
ซึ่งในโอกาสต่อไปทุกท่านเหล่านี้จะเป็นอีกส่วนหนึ่งของ การสร้างสรร
ต่อสู้ สู่ความงดงามของสังคม ร่วมกับพี่น้องเครือข่าย กลุ่มองคืกรต่างๆที่ทำงานเพื่อประชาชน และประเทศชาติ

และอีกหนึ่งที่ได้ - คือ การได้ทำหน้าที่ของตน โดยสมบูรณ์

// ความเป็นมา

เหตุการณ๋ ภัยพิบัติ "สินามึ" เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ได้กระตุ้นกระแสธารน้ำใจขนาดมหึมาของประชาชนทั่วประเทศและทั่วโลกให้หลั่งไหลมาโอบอุ้มผู้ประสบเคราะห์กรรมอย่างล้นหลาม อย่างไม่เคนปรากฏมาก่อน

ในขณะที่องค์กรภาครัฐในพื้นที่ อยู่ในสภาวะช็อคจากเหตุการณ์และตรึงเครียดอยู่กับการรอรับคำสั่งจากทางหน่วยเหนือนั้น ปรากฏว่ามีคลื่นอาสาสมัครและกลุ่มองค์กร ภาคประชาสังคมทั้งในและนอกพื้นที่ได้รวมตัว เชื่อมโยงการดำเนินงานและก่อตัวเป็นเครือข่ายเพื่อเข้าไปช่วยเหลือชุมชนและประชาชนที่กำลังเดือดร้อนอย่างแข็งขันเคียงคู่กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

เครือข่ายศิลปินเพื่อชีวิต ได้เล็งเห็นช่องว่างและตระหนักในปัญหานี้ จึงได้ริเริ่มรวมตัวกันจัดงานมหกรรมดนตรี "รวมพลคนอาสา ธารรัก ธารน้ำใจ สู่ไทยอันดามัน" ขึ้นในวันที่ 27 มีนาคม 2548 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ เพื่อระดมทุนไปสนับสนุนการดำเนินงานของกลุ่มอาสาสมัครและองค์กรภาคประชาสังคมนี้ขึ้น และเป็นที่มาของอัลบั้มเพลงชุดนี้

อัลบั้ม รวมพลคนอาสา ธารรัก ธารน้ำใจ สู่ไทยอันดามัน Vol4. มหกรรมรวมน้ำใจครั้งยิ่งใหญ่ของศิลปินเพื่อชีวิต โดย เครือข่ายศิลปินเพื่อชีวิต ร่วมกับ มูลนิธิสายธารประชาธิปไตย, สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา, มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ, สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, มูลนิธิมิตรภาพสู่ท้องถิ่น, มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์, สถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ คณะกรรมการเตรียมงาน 30 ปี 6 ตุลา.. ขอคารวะน้ำใจอันยิ่งใหญ่ของคนไทยทั้งประเทศ เผยแพร่โดย บ้านศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน

แสนหายตายเจ็บ-หน่องโคราช.... อัลบั้ม รวมพลคนอาสา ธารรัก ธารน้ำใจ สู่ไทยอันดามัน ชุด ๒





อัลบั้ม รวมพลคนอาสา ธารรัก ธารน้ำใจ สู่ไทยอันดามัน Vol2. มหกรรมรวมน้ำใจครั้งยิ่งใหญ่ของศิลปิีนเพื่อชีวิต โดย เครือข่ายศิลปินเพื่อชีวิต ร่วมกับ มูลนิธิสายธารประชาธิปไตย, สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา, มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ, สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, มูลนิธิมิตรภาพสู่ท้องถิ่น, มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์, สถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ คณะกรรมการเตรียมงาน 30 ปี 6 ตุลา.. ขอคารวะน้ำใจอันยิ่งใหญ่ของคนไทยทั้งประเทศ เผยแพร่โดย บ้านศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน http://thaibansinlapin.blogspot.com


ธารรัก ธารน้ำใจ
หนึ่งที่ได้ คือเสียงเพลง เสียงกวีที่ให้เป็นกำลังใจแด่พี่น้องผู้ประสบภัย และอาสาสมัครที่ลงพื้นที่โดยมิได้นัดหมาย

อีกหนึ่งที่ได้ คือ การรวมเป็นหนึ่งเดียวของศิลปะ ศิลปินทั่วประเทศ
ซึ่งในโอกาสต่อไปทุกท่านเหล่านี้จะเป็นอีกส่วนหนึ่งของ การสร้างสรร
ต่อสู้ สู่ความงดงามของสังคม ร่วมกับพี่น้องเครือข่าย กลุ่มองคืกรต่างๆที่ทำงานเพื่อประชาชน และประเทศชาติ

และอีกหนึ่งที่ได้ - คือ การได้ทำหน้าที่ของตน โดยสมบูรณ์

// ความเป็นมา

เหตุการณ๋ ภัยพิบัติ "สินามึ" เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ได้กระตุ้นกระแสธารน้ำใจขนาดมหึมาของประชาชนทั่วประเทศและทั่วโลกให้หลั่งไหลมาโอบอุ้มผู้ประสบเคราะห์กรรมอย่างล้นหลาม อย่างไม่เคนปรากฏมาก่อน

ในขณะที่องค์กรภาครัฐในพื้นที่ อยู่ในสภาวะช็อคจากเหตุการณ์และตรึงเครียดอยู่กับการรอรับคำสั่งจากทางหน่วยเหนือนั้น ปรากฏว่ามีคลื่นอาสาสมัครและกลุ่มองค์กร ภาคประชาสังคมทั้งในและนอกพื้นที่ได้รวมตัว เชื่อมโยงการดำเนินงานและก่อตัวเป็นเครือข่ายเพื่อเข้าไปช่วยเหลือชุมชนและประชาชนที่กำลังเดือดร้อนอย่างแข็งขันเคียงคู่กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

เครือข่ายศิลปินเพื่อชีวิต ได้เล็งเห็นช่องว่างและตระหนักในปัญหานี้ จึงได้ริเริ่มรวมตัวกันจัดงานมหกรรมดนตรี "รวมพลคนอาสา ธารรัก ธารน้ำใจ สู่ไทยอันดามัน" ขึ้นในวันที่ 27 มีนาคม 2548 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ เพื่อระดมทุนไปสนับสนุนการดำเนินงานของกลุ่มอาสาสมัครและองค์กรภาคประชาสังคมนี้ขึ้น และเป็นที่มาของอัลบั้มเพลงชุดนี้

อัลบั้ม รวมพลคนอาสา ธารรัก ธารน้ำใจ สู่ไทยอันดามัน Vol4. มหกรรมรวมน้ำใจครั้งยิ่งใหญ่ของศิลปินเพื่อชีวิต โดย เครือข่ายศิลปินเพื่อชีวิต ร่วมกับ มูลนิธิสายธารประชาธิปไตย, สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา, มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ, สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, มูลนิธิมิตรภาพสู่ท้องถิ่น, มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์, สถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ คณะกรรมการเตรียมงาน 30 ปี 6 ตุลา.. ขอคารวะน้ำใจอันยิ่งใหญ่ของคนไทยทั้งประเทศ เผยแพร่โดย บ้านศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน

วันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2553

เพลงปลาทู2 - วีระศักดิ์ ขุขันธิน ...อัลบั้มรวมพลคนอาสาธารรัก-ธารน้ำใจสู่ไทยอันดามันVol4




ธารรัก ธารน้ำใจ
หนึ่งที่ได้ คือเสียงเพลง เสียงกวีที่ให้เป็นกำลังใจแด่พี่น้องผู้ประสบภัย และอาสาสมัครที่ลงพื้นที่โดยมิได้นัดหมาย

อีกหนึ่งที่ได้ คือ การรวมเป็นหนึ่งเดียวของศิลปะ ศิลปินทั่วประเทศ
ซึ่งในโอกาสต่อไปทุกท่านเหล่านี้จะเป็นอีกส่วนหนึ่งของ การสร้างสรร
ต่อสู้ สู่ความงดงามของสังคม ร่วมกับพี่น้องเครือข่าย กลุ่มองคืกรต่างๆที่ทำงานเพื่อประชาชน และประเทศชาติ

และอีกหนึ่งที่ได้ - คือ การได้ทำหน้าที่ของตน โดยสมบูรณ์

// ความเป็นมา

เหตุการณ๋ ภัยพิบัติ "สินามึ" เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ได้กระตุ้นกระแสธารน้ำใจขนาดมหึมาของประชาชนทั่วประเทศและทั่วโลกให้หลั่งไหลมาโอบอุ้มผู้ประสบเคราะห์กรรมอย่างล้นหลาม อย่างไม่เคนปรากฏมาก่อน

ในขณะที่องค์กรภาครัฐในพื้นที่ อยู่ในสภาวะช็อคจากเหตุการณ์และตรึงเครียดอยู่กับการรอรับคำสั่งจากทางหน่วยเหนือนั้น ปรากฏว่ามีคลื่นอาสาสมัครและกลุ่มองค์กร ภาคประชาสังคมทั้งในและนอกพื้นที่ได้รวมตัว เชื่อมโยงการดำเนินงานและก่อตัวเป็นเครือข่ายเพื่อเข้าไปช่วยเหลือชุมชนและประชาชนที่กำลังเดือดร้อนอย่างแข็งขันเคียงคู่กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

เครือข่ายศิลปินเพื่อชีวิต ได้เล็งเห็นช่องว่างและตระหนักในปัญหานี้ จึงได้ริเริ่มรวมตัวกันจัดงานมหกรรมดนตรี "รวมพลคนอาสา ธารรัก ธารน้ำใจ สู่ไทยอันดามัน" ขึ้นในวันที่ 27 มีนาคม 2548 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ เพื่อระดมทุนไปสนับสนุนการดำเนินงานของกลุ่มอาสาสมัครและองค์กรภาคประชาสังคมนี้ขึ้น และเป็นที่มาของอัลบั้มเพลงชุดนี้

อัลบั้ม รวมพลคนอาสา ธารรัก ธารน้ำใจ สู่ไทยอันดามัน Vol4. มหกรรมรวมน้ำใจครั้งยิ่งใหญ่ของศิลปินเพื่อชีวิต โดย เครือข่ายศิลปินเพื่อชีวิต ร่วมกับ มูลนิธิสายธารประชาธิปไตย, สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา, มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ, สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, มูลนิธิมิตรภาพสู่ท้องถิ่น, มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์, สถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ คณะกรรมการเตรียมงาน 30 ปี 6 ตุลา.. ขอคารวะน้ำใจอันยิ่งใหญ่ของคนไทยทั้งประเทศ เผยแพร่โดย บ้านศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน

วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2553

เพลงไม่สนุกอย่างที่คิด - สุเวศน์ ภู่ระหงษ์ วัลลภ พลเสน อัลบั้ม ม้าก้านกล้วย เด็กไทยปลอดภัยไว้ก่อน



เพลงไม่สนุกอย่างที่คิด - อัลบั้ม ม้าก้านกล้วย เด็กไทยปลอดภัยไว้ก่อน ประพันธ์เพลงโดย สุเวศน์ ภู่ระหงษ์ วัลลภ พลเสน
อัลบั้มซึ่งโรงพยาบาลรามาธิบดี ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) ให้การสนับสนุนในการผลิต

เพลงสบายใจไทยแลนด์ -สุเวศน์ ภู่ระหงษ์ วัลลภ พลเสน อัลบั้ม ม้าก้านกล้วย เด็กไทยปลอดภัยไว้ก่อน



เพลงสบายใจไทยแลนด์ - อัลบั้ม ม้าก้านกล้วย เด็กไทยปลอดภัยไว้ก่อน ประพันธ์เพลงโดย สุเวศน์ ภู่ระหงษ์ วัลลภ พลเสน
อัลบั้มซึ่งโรงพยาบาลรามาธิบดี ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) ให้การสนับสนุนในการผลิต

ฟังเพลง เกษตรโยธิน-โดย-ไก่ แมลงสาบ&สุเวศน์ ภู่ระหงษ์-ชุดเกษตรโยธิน



ฟังเพลง เกษตรโยธิน-โดย-ไก่ แมลงสาบ&สุเวศน์ ภู่ระหงษ์-ชุดเกษตรโยธิน

สุเวศน์ ภู่ระหงษ์ ศิลปินประชาชน

เรื่องที่น่าสนใจของกลุ่มศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน

ความเห็นต่อ กลุ่มศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน