วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2554

2 VDO ไก่ แมลงสาบ และสุเวศน์ ภู่ระหงษ์แวะให้กำลังใจทีมผลิตระเบิดจุลินทรีย์ เมื่อ ๓๐ ต.ค.๒๕๕๔

           เมื่อช่วงเที่ยงวันอาทิตย์ที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๔ ไก่ แมลงสาบและสุเวศน์ ภู่ระหงษ์ ได้เดินทางไปยัง ศูนย์ปฏิบัติราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี เพื่อเยี่ยมเยือนและให้กำลังใจ ทีมงานที่กำลังนั่งปัันระเบิดจุลินทรีย์ ในโครงการ ร่วมกู้วิกฤติชาติด้วยศาสตร์พระราชา ตอน ยุทธการอธรรมปราบอธรรม ฟื้นฟูหลังน้ำลดด้วย ระเบิดจุลินทรีย์ ซึ่งได้มีการวมพลังภาคีเครือข่ายชาวจันทบุรีหลายร้อยคนมาช่วยกันผลิตระเบิดเมื่อวันที่ ๒๙ ต.ค.๒๕๕๔ ที่ผ่านมา แต่ในช่วงเวลานั้น ไก่ แมลงสาบ และสุเวศน์ ภู่ระหงษ์ ติืดภาระกิจ จึงไม่ได้เดินทางมาให้กำลังใจในวันนั้น

          ทั้งคู่จึงเดินทางมาเยี่ยมเยือนทีมงานที่มาทำ ระเบิดจุลินทรีย์ และได้ช่วยทำระเบิดจุลินทรีย์ พูดคุยกับคุณปู Kanlaya Samang จาก ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติโป่งแรด ( ศปร. ) จันทบุรี อธิบายข้อมูลการทำงาน และกิจกรรมที่จะดำเนินการต่อไปให้ฟังกัน




          นอกจากนั้นยังได้ร้องเพลงให้กำลังใจทีมงานที่ผลิตระเบิดจุลินทรีย์แบบกันเองอีกด้วย



          ไก่ แมลงสาบ และสุเวศน์ ภู่ระหงษ์ ไปให้กำลังใจ ทีมงานที่ช่วยกันผลิต ระเบิดจุลินทรีย์ ร่วมกู้วิกฤติชาติด้วยศาสตร์พระราชา ตอน ยุทธการอธรรมปราบอธรรม ฟื้นฟูหลังน้ำลดด้วย ระเบิดจุลินทรีย์ ณ ศูนย์ปฏิบัติราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๔

รายงานข้อมูลและการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในศูนย์พักพิงจังหวัดชลบุรี ประจำวันที่ ๓๐ ตุลาคม. พ.ศ. ๒๕๕๔ เวลา ๑๘.๐๐ น.

    1. การปฏิบัติงานด้านสถานที่พักพิงของผู้ประสบอุทกภัย
      ๑.๑  จำนวนผู้ประสบอุทกภัยในศูนย์พักพิงจังหวัดชลบุรี มีจำนวนทั้งสิ้น ....๓,๓๖๑..... คน
      เป็นชาย ๑,๕๕๐ คน  หญิง  ๑,๘๑๑  คน
      ๑.๒  จำนวนตามข้อ ๑. เป็นผู้ประสบอุทกภัยที่เพิ่มขึ้นจากเมื่อวานนี้ จำนวน .....๔๓๑.... คน

ลำดับที่ สถานที่พักพิง จำนวนผู้ประสบอุทกภัย เหลือรองรับได้ หมายเหตุ(จำนวนเด็ก)
เป้าหมายรองรับได้ ปัจจุบัน  
  ผู้พักพิง
เพศ
ชาย หญิง
สถาบันการพลศึกษาชลบุรี ๑.๑ โรงยิมเนเซียมโรงเรียนกีฬา (A)
๑.๒ โรงอาหาร (B)
๑.๓ อาคารเรียน (C)
๑.๔ โรงอาหารวิทยาเขต (D)
๑.๕ วิทยาบริการใหม่ (E)
๑.๖ วิทยาบริการเก่า (F)
๑.๗ โรงยิมเนเซียมบาสเกตบอล (G)
๑.๘ อาคารเรียน ๑ (H)
๑.๙ อาคารเรียน ๒ (I)
๑.๑๐ สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา (J )
๑.๑๑ พื้นที่สำรอง


๕๐๐
๑๐๐
๓๕๐
๔๐๐
๖๑๕
๓๐๐
๓๐๐
๓๐๐
๔๐๐
๒๐๐
๕๓๕


๔๙๒
๙๗
๓๒๘
๓๒๗
๖๒๗
๑๔๔
๒๙๘
๒๙๐
๓๗๘
๑๔๕
-


๒๒๙
๔๙
๑๖๔
๑๔๕
๒๖๐
๖๐
๑๓๒
๑๔๓
๑๘๔
๖๘


๒๖๓
๔๘
๑๖๔
๑๘๒
๓๖๗
๘๔
๑๖๖
๑๔๗
๑๙๔
๗๗



๒๒
๗๓
-
๑๕๖
๑๐
๒๒
๕๕
๕๓๕


๑๑๐
๑๗
๒๗
๖๘
๑๒๗
๑๙
๗๘
๒๘
๓๑
๓๖
รวม ๔,๐๐๐ ๓,๑๒๖ ๑,๔๓๔ ๑,๖๙๒ ๘๘๖ ๕๔๑
ศูนย์ศึกษาพัฒนาชุมชนชลบุรี ๒๐๐ ๑๖๖ ๗๑ ๙๕ ๓๔
ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค ๒ ๔๐๐ ๔๐๐
ค่ายนวมินทราชินี ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐
กองบัญชาการช่วยรบที่  ๑ ๓๐๐ ๓๐๐
สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค ๓ ๖๐๐ ๖๙ ๔๕ ๒๔ ๕๓๑
สวนสัตว์เขาเขียว ๕๐๐ ๕๐๐
ค่ายลูกเสือวชิราวุธ ๓,๐๐๐ ๓,๐๐๐
สถานีขนส่งจังหวัดชลบุรี รถยนต์ ๔๐๐  คัน
รวมทั้งสิ้น ๑๐,๐๐๐ ๓,๓๖๑ ๑,๕๕๐ ๑,๘๑๑ ๖,๖๕๑ ๕๕๔








    1. การปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุข

ลำดับที่ บริการ จำนวนผู้รับบริการ รวมยอดสะสม หมายเหตุ
๒.๑ ด้านการรักษาพยาบาล
๑) บริการรักษาพยาบาล ๓๙๐ ๑,๒๐๐
๒) ส่งต่อ ๑๔ ๔๔
๓) รับไว้ในโรงพยาบาลชลบุรี
- โรคที่พบมากที่สุดคือ …โรคระบบทางเดินหายใจ… จำนวน …๒๓๔….. ราย ...โรคติดเชื้อปรสิต... จำนวน...๑๑๕...ราย รองลงมา....โรคระบบไหลเวียน... จำนวน …๑๐๕.. ราย  โรคระบบย่อยอาหาร.....๑๐๐.....ราย            โรคระบบกล้ามเนื้อ จำนวน …๘๕…… ราย และ โรคผิวหนัง.....๖๙......ราย 
๒.๒ ด้านการช่วยเหลือและฟื้นฟูสุขภาพจิต
๑) ประเมินด้านสุขภาพจิต ๓๕๕ ๕๖๑
๒) โรคซึมเศร้า -
๓) รักษาจิตเวช ๒๗ ๒๗
๔) ส่งต่อ
๒.๓ ด้านการสาธารณสุข
๑) สำรวจสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่พักอาศัย ๑๙ จุด ๒๖ จุด
๒) ปรับปรุงสุขาภิบาลน้ำดื่ม/น้ำใช้ ๕๒ จุด ๕๙ จุด
๓) ตรวจคุณภาพน้ำ/สิ่งส่งตรวจ ๗๐
๔) สุขาภิบาลอาหารไม่ผ่านมาตรฐาน ๑ แห่ง (ตึก  A) ๑ แห่ง (ตึก  A)
๓) ดำเนินการสอบสวนโรค ๑๑ ๑๕






    1. การปฏิบัติงานด้านการรับสมัครงาน

กิจกรรม จำนวนผู้สมัคร การบรรจุงานได้ทันที หมายเหตุ
คน ยอดสะสม คน ยอดสะสม
การรับสมัครงาน -ไม่มีผู้สมัคร- ๗๖ -ไม่มี- ๑๙
รวมทั้งสิ้น -ไม่มีผู้สมัคร- ๗๖ -ไม่มี- ๑๙


    1. การให้คำปรึกษาด้านแรงงาน

กิจกรรม จำนวน หมายเหตุ
คน ยอดสะสม
การให้คำปรึกษา ๒๗
รวมทั้งสิ้น ๒๗


    1. การให้บริการท่องเที่ยว  (ข้อมูล ณ วันที่ ๓๐  ตุลาคม ๒๕๕๔)

กิจกรรม จำนวน หมายเหตุ
คน ยอดสะสม
- รอบเช้า
สวนเสือศรีราชา
๑๑๓ ๔๔๒
- รอบบ่าย(งด)
หาดบางแสน
-งดกิจกรรม- ๒๖๖ ชมConcert Modern 9
รวม ๑๑๓ ๗๐๘












                        ๖. การบริการด้านขนส่ง

กิจกรรม จำนวนเที่ยว หมายเหตุ
การบริการ ยอดสะสม
การสนับสนุนรถบัส ๑๔ ๓๐ ต.ค. ๕๔      บริษัทภัทรวดีทัวร์สนับสนุน
รวม ๑๔


                    ๗. งานอาสาสมัคร

หน่วยงาน/องค์กร จำนวนอาสาสมัครปฏิบัติงาน หมายเหตุ
คน ยอดสะสม
 นักศึกษา  ม.ศรีปทุม ๕๐ ๓๐๐
 นักเรียนโรงเรียนกีฬา ๑๐๐ ๖๐๐
 นักเรียนตำรวจ ๒๐๐ ๑,๒๐๐
 ภาคเอกชน ๑๐๐ ๖๐๐
รวม ๔๕๐ ๒,๗๐๐


                    ๘.  ด้านพัฒนาสังคมศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานภาค ๓

กิจกรรม รายละเอียด
มอบรถเข็น ๘ คัน
ไม้เท้าขาวคนตาบอด ๑ อัน
ให้คำปรึกษาด้านสังคมสงเคราะห์ ๓๒ คน








      ๙.งานรักษาความปลอดภัยและงานจัดการจราจร

ลำดับที่ กิจกรรม จำนวนเจ้าหน้าที่ตำรวจ/อาสาสมัคร
คน ยอดรวม
๑. การรักษาความปลอดภัย ๗๐ ๗๐
๒. งานจราจร ๑๕ ๑๕
รวม ๘๕ ๘๕


                    สำนักงานจังหวัดชลบุรี โทร. ๐ ๓๘๒๗ ๕๐๓๔ 
                          

วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ข่าวความเคลื่อนไหวจากศูนย์พักพิงชั่วคราวจังหวัดชลบุรี 29 ต.ค.2554

มท1  เยี่ยมศูนย์พักพิงชั่วคราวจังหวัดชลบุรีพร้อมการแสดงคอนเสริ์ตให้กำลังใจผู้ประสบภัย 30 ต.ค. นี้
นายวิชิต  ชาตไพสิฐ   ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี  เปิดเผยว่า จากการที่จังหวัดชลบุรีได้รับหมายหมายจาก ศปภ.เป็นจังหวัดที่รับผู้ประสบภัยจากดอนเมืองมาเข้าพักที่จังหวัดชลบุรี  รวม  9  ศูนย์  โดยมีศูนย์พักพิงจังหวัดชลบุรี  สถาบันพลศึกษาและโรงเรียนกีฬาจังหวัดชลบุรีเป็นศูนย์พักพิงจุดแรกและ เป็นกองอำนวยการใหญ่  ซึ่งศูนย์แห่งนี้สามารถเข้าพักได้ถึง  4,000  คน ในขณะนี้มีผู้เข้าพักแล้ว 2,423 คน และในวันอาทิตย์ที่ 30  ตุลาคม  2554  ตั้งแต่เวลา 12.30 น. เป็นต้นไป โดยนายยงยุทธ  วิชัยดิษฐ์  รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จะเดินทางมาเยี่ยมเยียนผู้ประสบภัยที่ศูนย์และเปิดงานการแสดงคอนเสริต์ช่อง 9 ช่วยภัยน้ำท่วมพร้อมศิลปินดาราชื่อดังกว่า 20 คน คณะตลกเต๋อ เชิญยิ้ม  จะมาสร้างรอยยิ้มให้กำลังใจผู้ประสบภัย  นอกจากนี้ธนาคารออมสินจะนำสิ่งของมาช่วยเหลือผู้ประสบภัยในครั้งนี้ด้วย จึงขอเชิญชวนทุกท่านเดินทางมาชมการแสดงคอนเสิร์ตและร่วมให้กำลังใจผู้ประสบภัยได้ตามวัน เวลาและสถานที่ดังกล่าว /
ศูนย์ชลบุรีขอสนับสนุนสิ่งของเครื่องใช้ผู้ประสบภัยด่วน
นางสาวกัญญรัตน์   เกียรติสุภา   ประชาสัมพันธ์จังหวัดชลบุรี ได้รับแจ้งจากศูนย์พักพิงจังหวัดชลบุรี  สถาบันพลศึกษาและโรงเรียนกีฬาจังหวัดชลบุรี ว่าขณะนี้มีความต้องการสิ่งของเครื่องใช้ต่าง  ๆ ดังนี้          1.ผ้ายางกันเปื้อน  2.ผ้าขาวม้า  3.ผ้าเช็ดตัว 4. ชุดชั้นในสตรี 5 .เสื่อปู  6. ไม้แขวนเสื้อและที่หนีบผ้า                7.กาละมัง  และ 8.พัดลม โดยขอให้ผู้ใจบุญแจ้งความประสงค์ในการบริจาคมาที่ศูนย์ Call center 038 -054186-96   จำนวน  11  คู่สาย  เพื่อที่ศูนย์จะได้จัดระเบียบในการรับสิ่งของบริจาคได้ตรงตามความต้องการของผู้ประสบภัยต่อไป

จ.ชลบุรี มียอดผู้เข้าพักศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย 2,423 คน
วันนี้ (29 ต.ค.54) ที่ศูนย์พักพิงจังหวัดชลบุรี  สถาบันพลศึกษาและโรงเรียนกีฬาจังหวัดชลบุรี  นายวิชิต  ชาตไพสิฐ  ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี พร้อมด้วยนายภัทรธรณ์   เทียนไชย รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์พักพิงจังหวัดชลบุรี  ได้ประชุมผู้ดูแลตึกและหน่วยงานต่าง  ๆ เพื่อสรุปยอดจำนวนผู้ประสบอุทกภัยเข้าพักในศูนย์พักพิงจังหวัดชลบุรี   โดยมีผู้เข้าพักที่ตึก A โรงยิมเนเซียมโรงเรียนกีฬา 470 คน ตึก B โรงอาหาร 99 คน ตึก C อาคารเรียน 313 คน  ตึก D โรงอาหารวิทยาเขต   300 คน ตึก E วิทยาบริการใหม่  615 คน ตึก F วิทยาบริการเก่า  140 คน  ตึก G 215 คน และตึก I  จำนวน  73  คน  รวม 2,225 คน  นอกจากนี้ยังมีผู้ประสบภัยเข้าพัก ศูนย์ศึกษาพัฒนาชุมชนชลบุรี 166 คน และสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 3 จำนวน 32 คน รวมทั้งสิ้น 2,423คน
ในขณะนี้มีหน่วยงานต่าง  ๆ เข้ามาดูแลผู้ประสบภัย โดยเฉพาะสุขภาพอนามัยมีผู้ป่วยเข้ารับการรักษา 810 ราย มีการรับสมัครงาน 62 ราย ได้งานทำแล้ว 17 ราย พาเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดแล้ว 399  ราย พร้อมทั้งให้บริการเครื่องซักผ้า เครื่องปั่นผ้า โดยให้มีการจัดคิวให้เป็นระเบียบ ส่วนน้ำมีเพียงพอในการอุปโภค บริโภค แต่ขวดเริ่มขาดแคลนขอให้ผู้ประสบภัยอย่าทิ้งขวดน้ำและนำไปกรอกน้ำตามจุดที่ให้บริการในแต่ละตึกได้ตลอดเวลา ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป /

ศูนย์ประสบภัยชลบุรี เจอปัญหาอาหารกล่องและอาหารสดเหลือขอความร่วมมือผู้ใจบุญประสานศูนย์ก่อนมาบริจาค
นางสาวกัญญรัตน์   เกียรติสุภา  ประชาสัมพันธ์จังหวัดชลบุรี รายงานข่าวจากศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยจังหวัดชลบุรี  ซึ่งตั้งอยู่ที่สถาบันการพลศึกษาชลบุรีและโรงเรียนกีฬาจังหวัดชลบุรี  อำเภอเมืองชลบุรี ขณะนี้รับผู้อพยพรวมทั้งสิ้น 2,384  ราย โดยมีผู้ใจบุญนำอาหารกล่องและอาหารสดหลายอย่างมาร่วมเลี้ยงผู้ประสบภัยจำนวนมาก โดยบางรายไม่ได้ประสานมาที่ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยก่อนทำให้บางวันมีอาหารมากเกินความจำเป็นและไม่สามารถเก็บไว้ได้ ศูนย์ ฯ จึงขอความร่วมมือจากผู้มีจิตศรัทธาที่ประสงค์จะร่วมช่วยเหลือผู้ประสบภัยดังกล่าวขอความอนุเคราะห์จากท่านขอให้แจ้งความประสงค์ในการบริจาคมาที่ศูนย์ Call center 038 -054186-96   จำนวน  11  คู่สาย  เพื่อที่ศูนย์จะได้จัดระเบียบในการจัดอาหารให้พอดีกับความต้องการของผู้ประสบภัยในแต่ละวันและมีเพียงพอในวันต่อไปเนื่องจากได้คาดการณ์ว่าจะมีผู้ประสบภัยเข้ามาเพิ่มที่จังหวัดชลบุรีนับหมื่นคนและอาจจะอยู่นานนับเดือนด้วย

ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยจังหวัดชลบุรี ขอความร่วมมือให้แจ้งความประสงค์ในการบริจาคสิ่งของ

ขอความอนุเคราะห์พี่น้องสื่อมวลชนที่รักยิ่งทุกท่านช่วยเผยแพร่ข่าวนี้ด้วย

          ด้วยศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยจังหวัดชลบุรี  ตั้งอยู่ที่สถาบันการพลศึกษาชลบุรีและโรงเรียนกีฬาจังหวัดชลบุรี ได้รับความอนุเคราะห์จากผู้ใจบุญนำอาหารกล่องและอาหารสดหลายอย่างมาร่วมเลี้ยงผู้ประสบภัยจำนวนมาก โดยบางรายไม่ได้ประสานมาที่ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยก่อนทำให้บางวันมีอาหารมากเกินความจำเป็นและไม่สามารถเก็บไว้ได้ จึงขอความร่วมมือจากท่านขอให้แจ้งความประสงค์ในการบริจาคจากมาที่ศูนย์
Call center 038 -054186-96   จำนวน  11  คู่สาย  เพื่อที่ศูนย์จะได้จัดระเบียบในการจัดอาหารให้พอดีกับความต้องการของผู้ประสบภัยในแต่ละวันและมีเพียงพอในโอกาสข้างหน้าด้วย


ขอขอบคุณสื่อมวลชนทุกแขนงที่อนุเคราะห์เผยแพร่ข่าวนี้ จากกัญญรัตน์  เกียรติสุภา
 ปชส.ชลบุรี โทร 089-8320344

        เกินความจำเป็นและไม่สามารถเก็บไว้ได้ จึงขอความร่วมมือจากท่านขอให้แจ้งความประสงค์ในการบริจาคจากมาที่ศูนย์ Call center 038 -054186-96

จ.ชลบุรี มียอดผู้เข้าพักศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย 2,241 คน

               วันนี้ (28 ต.ค.54) ที่ศูนย์พักพิงจังหวัดชลบุรี   นายภัทรธรณ์   เทียนไชย รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์พักพิงจังหวัดชลบุรี  ได้ประชุมสรุปยอดจำนวนผู้ประสบอุทกภัยเข้าพักในศูนย์พักพิงจังหวัดชลบุรี   โดยเข้าพักที่ตึก A โรงยิมเนเซียมโรงเรียนกีฬา 482 คน ตึก B โรงอาหาร 99 คน ตึก C อาคารเรียน 311 คน  ตึก D โรงอาหารวิทยาเขต   300 คน ตึก E วิทยาบริการใหม่  523 คน ตึก F วิทยาบริการเก่า  141 คนและตึก G 187 คน นอกจากนี้ยังมีผู้ประสบภัยเข้าพัก ศูนย์ศึกษาพัฒนาชุมชนชลบุรี 166 คน และสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 3 จำนวน 32 คน รวมทั้งสิ้น 2,241 คน  โดยมีผู้ควบคุมดูแลในแต่ละตึกจะเข้ามาร่วมประชุมสรุปความต้องการของผู้เข้าพักในแต่ละวัน ซึ่งผู้ประสบภัยยังมีความต้องการสิ่งของที่จำเป็น  อาทิ พัดลม ที่นอน หมอน นมกล่อง นมผง  และช่วงระหว่างตึกมืดมากจึงขอให้มีไฟฟ้าระหว่างตึก เนื่องจากเกรงว่าจะมีมิจฉาชีพเข้ามาฉวยโอกาสขโมยสิ่งของผู้อพยพได้

                สำหรับจังหวัดชลบุรี ได้จัดศูนย์ผู้ประสบภัยในเบื้องต้น รวม
9 ศูนย์ สามารถเข้าพักได้ 9,437 คน เข้าพักแล้ว 2,241 คน คงเหลือยอดที่สามารถเข้าพักเพิ่มได้อีก 7,196 คน  ซึ่งในขณะนี้ได้มีหน่วยงานและมูลนิธิต่าง ๆ ได้เข้ามาติดตั้งทีวีจอใหญ่ให้ผู้ประสบภัยได้พักผ่อน มีการจัดกิจกรรมนำเที่ยวและนันทนาการเพื่อให้ผู้ประสบภัยได้คลายเครียดอย่างเต็มที่

วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ข้อปฎิบัติสำหรับผู้อาศัยอยู่ในศูนย์พักพิง

ข้อปฎิบัติสำหรับผู้อาศัยอยู่ในศูนย์พักพิง
      1. ไม่เก็บอาหารข้ามมื้อ ควรกินอาหารที่ผ่านความร้อน ปรุงสุกใหม่ภายใน 4 ชั่วโมง ก่อนกินอาหารควรสังเกตลักษณะกลิ่นและรสชาติ ของอาหาร ว่า บูด เสีย หรือไม่ หากอาหารบูด เสีย ห้ามกิน ให้ทิ้งลง  ถังขยะ และแจ้งอาสาสมัครในศูนย์ว่า พบอาหารบูด เสีย เพื่อระงับการแจกอาหารชนิดนั้น
      2. ดื่มน้ำสะอาดต้มสุกหรือน้ำบรรจุขวด ถ้าผิดปกติไม่ควรดื่ม ให้เปิดฝาขวด และนำไปเป็นน้ำใช้
      3. ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลล้างมือ ก่อนรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องส้วม และหลัง ไอ จาม หรือสั่งน้ำมูก
      4. ถ้ามีอาการระคายเคืองตา ปวดตา น้ำตาไหล ตาแดง ขี้ตามากกว่าปกติ ควรแจ้งหน่วยแพทย์ที่ประจำศูนย์พักพิงทันที ไม่ควรขยี้ตา และแยกของใช้ ไม่ควรใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น
      5. ใช้ผ้า กระดาษทิชชู ปิดปากและจมูกเวลาไอ จาม หรือถ้ามีอาการป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจควรสวมหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อเข้าสู่คนอื่น
      6. ถ้ามีอาการเจ็บป่วย เช่น ท้องเสีย ไข้ ปวดศีรษะ ไอ อ่อนเพลีย คันตามผิวหนัง เบื่ออาหาร ระคายเคืองตา รีบแจ้งหน่วยแพทย์ที่ประจำศูนย์พักพิงทันที
      7. ทิ้งขยะ เศษอาหาร ลงในถังขยะที่จัดไว้ให้
      8. ให้รักษาความสะอาดห้องส้วม-ห้องอาบน้ำ ทุกครั้งหลังใช้เสร็จ
      9. ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ถ้าขาดยาหรือไม่มียา ให้แจ้งหน่วยแพทย์ที่ประจำศูนย์พักพิงทันที
      10.หากพบบุคคลใกล้ชิดมีอาการไม่สบาย ให้แจ้งหน่วยแพทย์ที่ประจำศูนย์พักพิงทันที

      ที่มา: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
ด้วยความปรารถนาดีจาก.........กลุ่มสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ
                    สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดชลบุรี
กรมควบคุมโรค  กระทรวงสาธารณสุข
                pr_ dpc3@hotmail.com

จุดรองรับผู้ประสบสาธารณภัย จังหวัดชลบุรี

จุดรองรับผู้ประสบสาธารณภัย  จังหวัดชลบุรี

ที่ สถานที่อพยพ ผู้ประสาน หมายเลขโทรศัพท์ จำนวนคน จำนวนรถ
1 ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนชลบุรี นางวินิจ ศัพท์พันธุ์ 081-7001534 438 150
2 ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค  ๒ พล.ต.ธน ยุติธรรมดำรงค์ 081-8800259 300 100
3 มณฑลทหารบกที่ 14 พ.อ.ประเทือง พ.ต.ศักดิ์สิทธิ์
พ.ท.สุรัตน์
081-9402176 081-5756914
086-7092192
1,000 1,000
4 เทศบาลตำบลหนองไม้แดง คุณดวงทิพย์ ภาวสุทธิ์ชัยกิจ 081-8654275 200 100
5 สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 3ชลบุรี นายเสถียร พจน์โพธ์ศรี 085-4838628 600 100
6 สถาบันการพลศึกษา นายวิชัย ศรีตะปัญญา 081-8659244 4,000 3,000
7 สวนสัตว์เปิดเขาเขียว 038-298195 038-298270 200 500
8 ค่ายลูกเสือวชิราวุธ นายวิชัย สัมพันธรัตน์ นายอำเภอศรีราชา 081-9236787 081-8670705 3,000 500
9 สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดชลบุรี นายมาโนท ชาญวัฒนศิลป์ 081-6362773 400
10 ประสานงานกลาง สนง.ปภ.ชลบุรี คุณรัตนา คุณณิศวุฒิ
คุณชุษณฎา
081-9218055 081-4229523
081-6557940
ให้ทุกจุดแฟ็กข้อมูลเวลา 09.00 น.และเวลา16.00น. หมายเลข 038-278032
11 การประปาส่วนภูมิภาคสาขาชลบุรี นายอนันต์ 081-9839422
12 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดชลบุรี นายพิเชษ 085-2449156
13 โทรศัพท์จังหวัดชลบุรี นายโสภณ 081-1120011
                                                                              9,738                  5,850

+++++++++
ฝ่ายดำเนินการจุดรองรับผู้ประสบสาธารณภัยจังหวัดชลบุรี (วิทยาลัยพลศึกษาชลบุรี)
ผู้อำนวยการศูนย์พักพิงระยะที่ 1 (นายภัครธรณ์ เทียนไชย)

1. ฝ่ายอำนวยการ
 ผอ. ฝ่ายอำนวยการ นายภัครธรณ์ เทียนไชย นายเลอสันต์  ศศิพงษ์
นางสาวรัตนา
นางสาวชุษณฏา
นายณิศวุฒิ
089-203-1325 081-867-0688
081-921-8055
081-655-7940
081-422-9523
2. ฝ่ายสื่อสาร
  - โทรศัพท์เป็นหลัก - Internet (www.chonburi.go.th)  
3. ฝ่ายจราจร/อาสาสมัคร
ผอ. ฝ่ายการจราจร พ.ต.อ. สุภธีร์ 081-824-9564
4. ฝ่ายสุขอนามัย/พยาบาล
ผอ. ฝ่ายสุขอนามัย/พยาบาล นายแพทย์มรุต จิรเศรษฐสิริ นางจันทนา
081-781-4056
5. ฝ่ายอาหารและเครื่องดื่ม
ผอ. ฝ่ายอาหารและเครื่องดื่ม ปลัดจังหวัดชลบุรี นายอำเภอศรีราชา
นายปรีดา สมบูรณ์ทรัพย์


089-245-0162
6. ฝ่ายสงเคราะห์
ผอ. ฝ่ายสงเคราะห์ นายเลอสันต์  ศศิพงษ์ อบต. ตลองตำหรุ
ทต.คลองตำหรุ
รร. กีฬา (คุณทวีศักดิ์)
ทต. นาป่า
สำนักงานพัฒนาระบบ
อบต.หนองข้างคอก
ทต. หนองไม้แดง
ทต. เสม็ด
ทต. อ่างศิลา
เทศบาลเมือง
เทศบาลเมืองบ้านสวน
อบต.หนองรี
ทต.เหมือง
เทศบาลเมืองแสนสุข
เทศบาลเมืองบ้านสวน
ไฟฟ้าชลบุรี
อาจารย์มหาวิทยาลัยศรีปทุม
อ. วนิชา (ปลา)
081-867-0688 081-983-2950
081-865-7411
081-457-4136
081-945-3602
081-687-3057
084-466-4564
081-865-4275
081-982-2131
089-832-8989
086-833-8020
081-003-2841
089-603-6716


086-330-6616
083-858-0327, 086-559-9881
081-945-7467

ข้อมูลข่าวศูนย์พักพิงชั่วคราวผู้ประสบอุทกภัย ที่ศูนย์สถาบันพลศึกษาและโรงเรียนกีฬาจังหวัดชลบุรี วันที่ 27 ตุลาคม 2554

ข้อมูลข่าวศูนย์พักพิงชั่วคราวผู้ประสบอุทกภัย ที่ศูนย์สถาบันพลศึกษาและโรงเรียนกีฬาจังหวัดชลบุรี
วันที่   27  ตุลาคม  2554  เวลา  18.00  น.
อาคาร ยอดคนที่รับได้ ยอดปัจจุบัน ยอดรถที่รับได้ ยอดปัจจุบัน
ตึก A 400 371 3,000  คัน  
ตึก B 100 98
ตึก C 300 298
ตึก D 400 315
ตึก E 400 323
ตึก F 200 130
ตึก G 300  
ตึก H 300  
ตึก I 300  
รวมยอด 2,700 1,237    


สรุปปัญหาและแนวทางแก้ไข

จ.ชลบุรี สรุปยอดผู้พักพิงรวมเกือบ 2,000 คน สามารถรับเพิ่มได้อีก

                 วันนี้ (27 ต.ค.54) ที่ศูนย์พักพิงจังหวัดชลบุรี   นายภัทรธรณ์   เทียนไชย  รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ได้ประชุมหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อสรุปข้อมูลของศูนย์ ฯ ในช่วงเวลา 19.00 น.เป็นประจำทุกวัน โดยในวันนี้มีจำนวนผู้ประสบอุทกภัยเข้าพักในศูนย์พักพิงจังหวัดชลบุรี ที่สถาบันพลศึกษาชลบุรีจำนวน 1,693   คน โดยเข้าพักที่ตึก A โรงยิมเนเซียมโรงเรียนกีฬา 450 คน  ตึก B โรงอาหาร 99 คน ตึก C  อาคารเรียน 301 คน  ตึก D โรงอาหารวิทยาเขต   273 คน ตึก E วิทยาบริการใหม่  440 คน และตึก F วิทยาบริการเก่า  130 คน นอกจากนี้ยังมีผู้ประสบภัยเข้าพัก ศูนย์ศึกษาพัฒนาชุมชนชลบุรี 166 คน และสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 3 จำนวน 32 คน รวมทั้งสิ้น 1,891  คน

              สำหรับจังหวัดชลบุรี ได้จัดศูนย์ผู้ประสบภัยในเบื้องต้น รวม
9 ศุนย์  สามารถเข้าพักได้ 9,437 คน เข้าพักแล้ว  1,891  คน  คงเหลือยอดที่สามารถเข้าพักเพิ่มได้อีก  7,546 คน  ซึ่งในขณะนี้ได้มีหน่วยงานและมูลนิธิต่าง  ๆ ได้เข้ามาติดตั้งทีวีจอใหญ่ให้ผู้ประสบภัยได้พักผ่อน มีการจัดกิจกรรมนำเที่ยวและนันทนาการเพื่อให้ผู้ประสบภัยได้คลายเครียดอย่างเต็มที่

ผู้ว่าฯ ชลบุรี ประชุมสั่งการสร้างศูนย์ชลบุรีโมเดล โดยมีศูนย์พักพิงสถาบันการพลศึกษาและโรงเรียนกีฬาจังหวัดชลบุรีเป็นกองอำนวยการด้านต่าง ๆ เพียงแห่งเดียว

       ที่ห้องประชุมกองอำนวยการศูนย์พักพิงสถาบันการพลศึกษาและโรงเรียนกีฬาจังหวัดชลบุรี นายวิชิต  ชาตไพสิฐ  ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ประชุมเพื่อสรุปปัญหาอุปสรรคในด้านต่าง ๆ โดยพบว่าศูนย์พักพิงชั่วคราว มีผู้เข้าพักประมาณ 1,237 คน และมีผู้ประสบอุทกภัยที่กำลังตั้งครรภ์ใกล้คลอดอยู่หลายคน จึงให้หน่วยงานสาธารณสุขดูแลอย่างใกล้ชิดและเมื่อถึงกำหนดคลอดให้จัดนำส่งโรงพยาบาลทันที  พร้อมทั้งขอให้ผู้ประสบภัยที่ประสงค์จะเข้าพักที่จังหวัดชลบุรี ขอให้มาที่กองอำนวยการที่ศูนย์พักพิงสถาบันการพลศึกษาและโรงเรียนกีฬาจังหวัดชลบุรีเพียงแห่งเดียว เพื่อความเป็นระเบียบในการวางระบบต่าง ๆ 

         นอกจากนี้นายวิชิต  ชาติไพสิฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี กล่าวต่อไปว่า จะจัดให้ศูนย์แรงงานจังหวัดชลบุรีหางานให้ผู้ประสบอุทกภัยทำขณะที่อาศัยอยู่ ณ ศูนย์พักพิงชั่วคราวผู้ประสบอุทกภัย เพื่อให้ผู้ประสบอุทกภัยมีรายได้และนำไปดำรงชีพต่อไป หากผู้ประสบภัยต้องการข้อมูลต่าง ๆ ขอให้แจ้งมาที่ศูนย์
call  center โทร 038-054186 – 96 รวม 11 คู่สายตลอด 24 ชั่วโมง

วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2554

VDO น้ำท่วมไทยน้ำใจท่วมท้น และ ไทยช่วยไทย 26-10-2554 Mix เสียงใหม่

            เมื่อ 2 บทเพลงอย่าง น้ำท่วมไทยน้ำใจท่วมท้น และ ไทยช่วยไทย ถูกนำมามิกซ์เสียงใหม่ ให้น่าฟังมากยิ่งขึ้นเมื่อ 25 ต.ค.2554 บทเพลงนี้ กำลังจะถูกทำเป็นมิวสิควิดีโอเผยแพร่ในหลายสื่อ

           มีภาพเหตุการณ์หลายภาพ ในวิกฤติน้ำท่วมใหญ่ 2554 ในครั้งนี้ จึงได้ถูกนำมาผลิตเป็น VDO เมื่อ 26 ต.ค.2554 อีกหนึ่งเวอร์ชั่น ที่มีภาพประกอบที่แตกต่างกันออกไป




           เพลงน้ำท่วมไทย น้ำใจท่วมท้น Final Mix ภาพบรรยากาศ 25-26 ต.ค 2554 โดย ศิลปิน สีเผือก คนด่านเกวียน, แฮมเมอร์, คีตาญชลี, จ่าหรอย เฮนรี่, ต่าย ศรัณพร และไก่ แมลงสาบ โดย อ.ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี และ เชิงชาย มีเจริญ ทำดนตรีให้



         เพลงไทยช่วยไทย (Final Mix) กับภาพกิจกรรมปกป้องศิริราช รักพ่อภาคปฏิบัติ 25 ตค 2554 ความตั้งใจ รวมพลังปกป้องบ้านของพ่อหลวง ที่ศิริราช ทุ่มเทกันอย่างเต็มที่

เพลงน้ำท่วมไทยน้ำใจท่วมท้น ฉบับลูกทุ่ง

           ในช่วงเวลาวิกฤติน้ำท่วมไทย ในเดือนตุลาคม 2554 หลายศิลปินได้ผลิตบทเพลงเพื่อให้กำลังใจ และบอกเล่าเรื่องราวเหตุการณ์สำคัญครั้งนี้ออกมาอยางต่อเนื่อง เช่นเดียวกับกลุ่มศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน ได้ผลิตบทเพลง น้ำท่วมไทย น้ำใจท่วมท้น และเพลงไทยช่วยไทย โดยมีศิลปิน แฮมเมอร์, สีเผือก คนด่านเกวียน, จ่าหรอย เฮนรี่, คีตาญชลี, ต่าย ศรัณพร และไก่ แมลงสาบ ร่วมกันขับร้อง

          สำหรับบทเพลง น้ำท่วมไทยน้ำใจท่วมท้น มีศิลปินที่เขียนเพลง และตั้งชื่อเพลงด้วยชื่อนี้ เช่นกัน แต่ขับร้องในแนวเพลงลูกทุ่ง จึงขอหยิบเพลง น้ำท่วมไทยน้ำใจท่วมท้น ฉบับลูกทุ่งมาให้ฟังกันครับ




จาก:youtube - sainateeswim
น้ำเหนือไหลบ่า น้ำตาไหลหลั่งครั้งใหญ่
น้ำนองท่วมไทย ทำให้เสียใจหม่นหมอง
นครสวรรค์ สุพรรณ ชัยนาทน้ำนอง อุทัยธานี
สิงห์บุรีอ่างทอง เจิ่งนองอยุธยา

วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ศูนย์พักพิงสาธารณภัย จ.ชลบุรีรับบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมและอาสาสมัครผู้ชายจำนวนมากด่วน

          นางสาวกัญญรัตน์ เกียรติสุภา ประชาสัมพันธ์จังหวัดชลบุรี รายงานบรรยากาศที่ศูนย์พักพิงรองรับผู้ประสบสาธารณภัยจังหวัดชลบุรี ในบริเวณสถาบันการพลศึกษาและโรงเรียนกีฬาจังหวัดชลบุรีว่า ในขณะนี้มีผู้เขาพักพิง รวม 750 คน ส่วนใหญ่อพยพย้ายมาจากศูนย์พักพิงสาธารณภัยดอนเมืองเป็นเพศหญิง อายุ 18 ปีขึ้นไป บางคนยังขาดของใช้ส่วนตัวและผ้าถุงสำหรับผลัดเปลี่ยนอาบน้ำ เป็นจำนวนมาก และบางครอบครัวมีเด็กอ่อนจึงทำให้ต้องการของใช้เด็ก เช่น ผ้าอ้อม กะละมังอาบน้ำเด็ก นมผงสำหรับเด็ก สำหรับเพศชายส่วนใหญ่ยังขาดผ้าขาวม้าเป็นจำนวนมาก สำหรับคนชราทั้งเพศหญิงและชายอายุ 60 ปีขึ้นไปส่วนใหญ่ต้องการ หมอน ที่นอนปิกนิก ผ้านวม เนื่องจากมีอาการปวดหลัง นอกจากนี้ยังขอความร่วมมือพี่น้องประชาชนผู้ชายร่วมเป็นอาสาสมัครที่ศูนย์ดังกล่าวเป็นจำนวนมาก

          จึงขอให้พ่อแม่พี่น้องจังหวัดชลบุรีและจังหวัดใกล้เคียงร่วมบริจาคสิ่งของดังกล่าวให้กับผู้ประสบภัยน้ำท่วม หรือสมัครเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือผู้พักพิงที่ศูนย์วิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดชลบุรี โทร call center 038- 288077 ตลอด 24 ชม. ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป


     ***  CALL CENTER ศูนย์พักพิงรองรับผู้ประสบสาธารณภัยจังหวัดชลบุรี โปรดแจ้ง  โทร 038-288077  รวม 10 คู่สาย ได้ตลอด 24 ชั่วโมงเพียงจุดเดียว เพื่อป้องกันความสับสนของข่าว

ข้อมูลศูนย์อพยพจังหวัดชลบุรี (25 ต.ค.2554)

สถานการณ์ปัจจุบัน
    - เปิดศูนย์พักพิงแล้ว 2 จุด ได้แก่ วิทยาลัยพลศึกษา และศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนชลบุรี 
    - มีประชาชนจากจังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี กรุงเทพ ประสานติดต่อขอเข้ามาพักแล้วหลายราย 
    - ปัจจุบัน (11.30 น. 25 ต.ค.2554) มีประชาชนเข้าพักที่ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนชลบุรี จำนวน 18 ราย (สุนับ 5 ตัว) และมีผู้ขอเข้าพักและเดินทางมาอย่างต่อเนื่อง
       สนง.ปภ.ชลบุรี



+++++++++++++++++++++++++




ชาวกาฬสินธุ์ร่วมถกปัญหานิวเคลียร์ ชี้ควรให้ความรู้กับสังคม


            กาฬสินธุ์ : เมื่อวันที่ 24 ต.ค. เวลา 10.00 น. ที่ห้องประชุมโรงเรียนหัวหินวัฒนาลัย บ้านหนองนู ต.หัวหิน อ.ห้วยเม็ก จ.กาฬสินธุ์ องค์กรภาคี ได้แก่ ศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ (ศสส.) อีสาน, เครือข่ายพลังงานทางเลือกเพื่ออนาคต, เครือข่ายติดตามเรื่องนิวเคลียร์ จังหวัดกาฬสินธุ์, เครือข่ายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภาคอีสาน, มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ และ Mekong school Alumni, EarthRights International  ได้จัดเวทีเสวนาเรื่องโรงฟ้านิวเคลียร์ โดยมีผู้นำชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนในพื้นที่ จำนวนกว่า 60 คน เข้าร่วมรับฟัง และแลกเปลี่ยนข้อมูล

                ทั้งนี้ ตามแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2553-2573 หรือ แผน PDP2010 (Thailand Power Development Plan 2010) ได้กำหนดแผนในการสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้นถึง  29  โรง  โรงไฟฟ้าถ่านหิน 9 โรงโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ 9 โรง และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 5 โรง  เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 52,890 เมกะวัตต์ ในระยะ 20 ปี (ปี 2573)จากเดิมผลิตได้ 28,045 เมกะวัตต์ (ปี 2552)  และได้มีการกำหนดเดินเครื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เครื่องแรกในปี 2563 

              ทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ.ได้แสดงรายงานหัวข้อการศึกษาเรื่องสถานที่ตั้ง ซึ่งใช้องค์ประกอบการพิจารณา 3 ด้านคือ ด้านวิศวกรรม ด้านสิ่งแวดล้อม และเศรษฐศาสตร์  สรุปว่าพื้นที่เหมาะสมเป็นที่ตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 5 อันดับแรกคือ 1.อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี 2.ต.พนมรอก อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ 3.ต.ไม้รูด อ.คลองใหญ่ จ.ตราด 4. ต.คันธุลี  อ.ท่าชนะ จ.สุราษฏร์ธานี และ5.ปากน้ำละแม อ.ละแม จ.ชุมพร โดยเป้าหมายหลักคือ จ.นครสวรรค์และอุบลราชธานี  แต่ในขณะเดียวกันพื้นที่ อ.ห้วยเม็ก จ.กาฬสินธุ์  ซึ่งไม่ได้ถูกระบุในแผน PDP ก็เป็นพื้นที่หนึ่งที่มีการดำเนินการสำรวจตั้งแต่ปลายปี 2553 และวางเป้าหมายที่จะทำโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในพื้นที่เช่นกัน

              โดยนายสุวิทย์  กุหลาบวงษ์ ผู้ประสานงานศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ (ศสส.) อีสาน กล่าวว่า หลังจากที่เกิดเหตุการณ์สึนามิและการรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสีของโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะที่ประเทศญี่ปุ่น ทำให้เกิดการตื่นตัวของกระแสสังคมทั่วโลก ส่วนในประเทศไทยส่งผลให้รัฐบาลประกาศชะลอโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์  แต่ในทางปฏิบัติ
การดำเนินการด้านการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับประโยชน์ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ยังมีอย่างต่อเนื่อง และขยายลงสู่ชุมชน  ในขณะที่ความชัดเจนในด้านความรู้เรื่องนิวเคลียร์อย่างรอบด้านของประชาชนยังไม่มี ซึ่งประเด็นเหล่านี้ทางสังคมและชุมชนที่เกี่ยวข้องควรจะได้รับการรับรู้และวิเคราะห์ถึงความเหมาะสมในด้านการพัฒนาพลังงาน

            “เรากำลังจะเอาพื้นที่เกษตรกรรมอันอุดมสมบูรณ์ไปแลกกับอุตสาหกรรม ในขณะที่ชุมชนก็มักจะถูกอ้างเสมอว่าเพื่อการพัฒนา แต่ไม่เคยได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร ฉะนั้นจะต้องตอบคำถามให้ได้ว่าถ้ามีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แล้วคุณภาพชีวิตเราจะดีขึ้นหรือไม่   นายสุวิทย์กล่าว


                 ด้าน ดร.ธวัชวงศ์ชัย ไตรทิพย์ นักวิชาการ กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎกาฬสินธุ์ กล่าวว่า ชาวบ้านได้รับทราบข้อมูลจากกระแสข่าวว่าจะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ จ.กาฬสินธุ์ และมีการลงสำรวจพื้นที่ หลังจากนั้นทางการก็เข้ามาให้ข้อมูลฝ่ายเดียวว่าเราจะมีการพัฒนา และมีไฟฟ้าใช้อย่างมั่นคง  แต่ยังไม่เคยมีใครเข้ามาให้ข้อมูลกับชาวกาฬสินธุ์อย่างสมบูรณ์ ว่าจะมีผลกระทบหรือไม่ และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
ผลกระทบเกิดขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่น ทำให้ผู้คนตื่นตัวกันมากขึ้น ดังนั้น ในวันนี้จึงเป็นนิมิตรหมายที่ดีที่เราจะร่วมกันเรียนรู้ และรณรงค์เผยแพร่ เพื่อให้สังคมได้ตระหนักถึงการใช้พลังงาน และรู้เท่าทันปัญหาการพัฒนาพลังงานของประเทศ  ดร.ธวัชวงศ์ชัย กล่าว

                 ทางด้านนายสมคิด  เหล่าประชา ชาวตำบลกุดโดน หมู่ที่ 13 กล่าวว่า ในพื้นที่มีทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ดังนั้น ควรมีการให้การศึกษากับคนในชุมชนทั้งนักเรียน ผู้นำ และชาวบ้าน ซึ่งไม่ใช่การต่อต้านหรือบอกว่าเอาโครงการ แต่เน้นการให้ข้อมูลความรู้อย่างรอบด้าน แล้วมีการขยายเวทีไปสู่ภาคส่วนต่างๆ

                  “ทางการได้เข้ามาเปิดเวทีและให้ข้อมูลแต่ด้านดี แจกผ้าห่ม พร้อมกับเงิน 200 บาท แล้วให้ชาวบ้านยกมือเห็นด้วย ซึ่งบางคนก็ไม่รู้เรื่องเห็นเขายกมือก็ยกเอากับเขา ทว่าพวกเราไม่เคยได้รับรู้ข้อมูลเลยว่านิวเคลียร์มันคืออะไร จะมีผลกระทบหรือไม่ นายสมคิดกล่าว


/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/  

นายเดชา  คำเบ้าเมือง  ศูนย์สื่อชุมชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ศสธ.)
ตู้ปณ. 14 อ.เมือง จ.อุดรธานี  41000
โทรศัพท์ : 081-3696266


อีเมล์ decha_61@yahoo.com ; huktin.ud@gmail.com

สุเวศน์ ภู่ระหงษ์ ศิลปินประชาชน

เรื่องที่น่าสนใจของกลุ่มศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน

ความเห็นต่อ กลุ่มศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน