วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2555

3 VDO การสัมมนาหัวข้อ อนาคตประเทศไทยกับประชาคมอาเซียน เมื่อ 8 เม.ย.2555

        การสัมมนาหัวข้อ อนาคตประเทศไทยกับประชาคมอาเซียน ณ สำนักงานสมาคมคุ้มครองการทำกินของคนไทย ต.หนองสาหร่าย อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
8 เม.ย.2555 โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ภาคเศรษกิจ/ความั่นคง ดร.เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์ (ม.มหิดล) อ.พงศ์จรัส รวยร่ำ นักวิชาการด้านกฎหมายสิทธิมนุษย?ชน อ.กิตติบดี ใยพูล อดีตคณะบดีนิติศาสตร์ ม.ขอนแก่น




ประเด็นสำคัญส่วนหนึ่ง
1. คนสิงคโปร์ไปประเทศไหน มี notebook 1 เครื่อง นั่งสอบถามคนท้องถิ่น เก็บข้อมูลประเทศนั้น
2. ฝรั่งชาติตะวันตก เก็บข้อมูลท้องถิ่น รู้ข้อมูลมากกว่าเจ้าของประเทศ
3. การค้าในไทยยุคก่อน สมัยก่อนผ่านผู้มีอิทธิพล ทั้งเจ้าพ่อ เจ้าแม่ ในการซื้อขาย ทั้งไม้ซุง ไม้สัก น้ำมัน
4. ปัจจุบัน มีนายหน้า โบรกเกอร์ ทำการค้าขายระหว่างประเทศ ซึ่งรู้ภาษาถิ่ิน เป็นตัวกลางเชื่อม
5. ฮ่องกง สิงคโปร์อยู่ได้ ด้วยทรัพยากรจากแผ่นดินใหญ่ จาก ไทย พม่า อินโด โดยร่วมมือกับผู้มีอิทธิพลไทย ทำการค้าทั้งบนโต๊ะ และใต้โต๊ะ ทั้งในและนอกกฏหมาย
6. ประชาคมอาเซียน ทำให้การค้าใต้โต๊ะ ขึ้นมาอยู่บนโต๊ะ
7. ยิ่งเติบโต ยิ่งมีช่องว่าง ระหว่าง ไทย- สิงคโปร์-มาเล อยากได้ผลประโยชน์จากชาติอื่น และจะปกป้องผลประโยชน์ของประเทศนผ่านการประสานความร่วมมือ
8. มีการโยงใยไปทั่วโลก ประชาคม ทับซ้อนกันหลายอย่าง มีกลุ่มใหม่กระทบกัน ความสัมพันธ์ต่างๆ เลี่ยงไม่ได ยังไงก็ต้องเกิดการรวมตัวเป็นประชาคม
9. ถ้าต่างชาติมาถือหุ้นลงทุนมากขึ้น ก็มีอำนาจในการตัดสินใจมากขึน
10. นักลงทุน ลาว เขมร เข้ามาลงทุนในรูปของทุนประเทศใหญ่ เช่น จีน
11. ทำเลทองถูกช่วงชิง คนท้องถิ่นถูกไล่ที ไ่ม่เหลือพื้นที่ดีๆ มีทุนต่างชาติเข้ามา....
12. สิ่งที่คิดว่า มั่นคง สามารถเปลี่ยนไปในพริบตาเดียว ชุมชนเดิม สามารถเปลีั่่ยนแปลงได้ ทุกสิ่งเกิดขึ้นได้
13. สิงคโปร์ จ้างคนเก่งทั่วโลก มาสอนพลเมืองของตนเอง ให้รู้การบริหารจัดการ ให้ฉลาด เก่ง
14. ประชาคมอาเซียน ที่จริง ไม่มีความเป็นประชาคม แค่การจับมือ คนที่พร้อมมีผลประโยชน์ร่วมกันเท่านั้น (ปลาใหญ่กินปลาเล็ก)
15. แต่ละประเทศมี mapping รู้หมดในไทย จะหาทรัพยากรีที่ต้องการจุดไหน ดูจากดาวเทียม เช่น ค้นหาสินแร่
16. ไทยไม่มี R&D ไม่มีวิธีคิด+การจัดการ มีแต่ความเฮง
17. ประเทศที่มีอำนาจต่อรอง เปลี่ยนแปลงได้ เคลื่อนย้าย ทำเลทอง ศูนย์กลางต่างๆได้ เพื่อหาสิ่งที่เหมาะสม คุ้มทุน ย้ายฐานการผลิต เพราะมีอำนาจต่อรอง




ประเด็นสำคัญส่วนหนึ่ง

1.คนไทยคิดแค่บริบทไทย ไม่เคยคิดกรอบอาเซียน-หรือกว้างกว่านั้น คิดแค่บริบทท้องถิ่น
2. มองในฐานะนักยุทธศาสตร์ ปรากฏการณ์ในไทยไม่ได้เกิดขึ้นเดี่ยวๆ
3. เช่น ปี 40 การโจมตีค่าเงินบาท - เกิดการเปลี่ยนฐานธุรกิจจากญี่ปุ่น ไปสิงคโปร์ - สิงคโปร์เข้ามาคุมธุรกิจสื่อสาร-พรรคการเมือง ไทยรักไทย
4. กรณี 19 ก.ย.49 - เกิด เวที พธม. - ทหารที่ขึ้นเวที- ส่วนใหญ่จบการศึกษาจากอเมริกา , อเมริกาถือไพ่สองใบ -- ดูเวทีเสื้อแดง อาจารย์ที่ขึ้นเวทีแดง จบมหาวิทยาัลัยคอแนล จาก อเมริกาทั้งนั้น
5. สถานการณ์ 3 จังหวัดภาคใต้ - มาจากการสนับสนุนของต่างชาติ 1000%
6. มองถึงอาเซียน - แนวคิดแรกคิด รวมพลังกันไม่ให้มหาอำนาจรังแก
- เราใช้ภาษาอังกฤษได้ แต่ถ้าจะขายสินค้าในประชาคม ท้องถิ่น - ภาษาบาซ่าในฟิลิปปินส์ รู้หรื่อยัง จะขายของได้่มั้ย - ความหลากหลายล่ะ
7. ความถดถอย เราไม่พร้อมเรื่องภาษา ไม่มองภาพขยาย เหนื่อย
8. ทำงานต้องเป็นระบบ network เครือข่าย อยู่เดี่ยวๆไม่มีทาง = ไม่เข้มแข็ง




ประเด็นสำคัญส่วนหนึ่ง

1.สมาคมคุ้มครองการทำกินของคนไทย เป็นเครือข่ายจะปกป้องสังคมไทยให้อยู่ในอาเซียนได้ยังไง
2. มายาภาพการท่องเที่ยวที่ชูกัน ความจริง 20-30% กลับสู่คนไทย แล้วต่อไปเราจะสู้ต่างประเทศได้หรือ ถ้ายังไม่พัฒนาตัวเอง
3. สังคมไทยไม่เข้าใจปัญหา ใครใส่ข้อมูลอะไรเชื่อหมด ไม่เข้าใจอาเซียนว่า เราอยู่ตรงจุดไหน ขาดการวิเคราะืห์ ศึกษา
4. ควรให้ข้อมูลความรุ้ รณรงค์ ให้ข้อมูลตัวเลข ซื้อของคนไทยกี่% ซื้อห้างค้าปลีกกี่ % จะได้บอกให้ชัดว่า มีผลประทบยังไง
5. เข้าใจแล้ว ความสามารถบริหารจัดการ มากกว่า นวัตกรรม+เทคโนโลยี... สิงคโปร์รู้ เส้นทาง จุดยุทธศษสตร์ นำไปสู่อำนาจต่อรอง
6. เราสามารถสร้างอำนาจต่อรอง ถ้าปฏิรูปกฏหมายให้สูงกว่านี้ ต่างประเทศจะใช้สิ่งที่ไทยไปเซ็นรับรองเค้าไว้ ไม่สนใจ กฏหมายในไทย
7. ต้องศึกษาว่า ทำไมหวยใต้ดินถึงสู้หวยรัฐได้
8 ปัจจุบันรัฐบาลไทยไม่ได้หากินกับงบประมาณ แต่หากินกับนโยบาย ส่วนต่าง
9. ปรากฏการณ์เป็นภาพลวงตาที่เห็น ต้องสู้ด้วยยุทธศาสตร์ ยุทธวิถี
10. ทำไมชาวพุทธไม่ไปวัด แต่อิสลามไปละหมาด ( มีเครือข่ายตาม) คริสไปโบสถ์ มีคนบอก ชวน..

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สุเวศน์ ภู่ระหงษ์ ศิลปินประชาชน

เรื่องที่น่าสนใจของกลุ่มศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน

ความเห็นต่อ กลุ่มศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน