วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2553

สู่สุคติเถิดอาจารย์ของผม เจตนารมณ์ที่ดีงามไม่มีวันสูญสลาย โดย สิริวัฒน์ ไกรสินธุ์

            ผมเป็นลูกศิษย์ อาจารย์อารมณ์ มีชัย เมื่อสมัยเรียนประถมศึกษาชั้น ป.5-6 โรงเรียนวัดพระมหาธาตุ นครศรีธรรมราช และยังเป็นลูกศิษย์อาจารย์เจริญ มีชัย สามีอาจารย์อารมณ์ ช่วงเรียนมัธยมต้น โรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช ปี พ.ศ. 2521-2523 อีกด้วย

            ตลอดระยะเวลา 30 กว่าปี ที่รู้จักอาจารย์อารมณ็มา กล้ากล่าวได้อย่างเต็มภาคภูมิใจว่าอาจารย์คือ "ครูผู้มีอุดมการณ์ที่แรงกล้า โดยเฉพาะอุดมการณ์ประชาธิปไตย และอุดมการณ์เพื่อประชาชนคนยากไร้ในแผ่นดิน" อีกทั้งอาจารย์ยังเป็นผู้ที่มีความอดทน มุ่งมั่น เข้มแข็ง ต่อความยากลำบากทั้งปวงในการเดินทางอันยาวนาน เพื่อให้บรรลุอุดมการณ์ที่ดีงามของตน ซึ่งบนหนทางไกลของอาจารย์มีเรื่องราวมากมายเหลือเกิน

            ประมาณปี พ.ศ.2525-2526 ผมมีโอกาสไปขลุกอยู่บ้านอาจารย์ที่นครศรีธรรมราชบ้าง เพื่อฟังความคิดและความรู้ทางการเมือง รวมทั้งอ่านหนังสือแนวการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย กระทั่งดูเพื่อนซ้อมวงดนตรีเพื่อชีวิต วง "เม็ดทราย" ช่วงนั้นอาจารย์ทั้งถูกกดดัน ถูกค้นบ้าน และถูกขัดขวางไม่ให้ทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์จากฝ่ายผู้มีอำนาจรัฐ และผู้ที่มีทัศนะตรงข้ามอยู่มากพอควร แต่อาจารย์ก็ไม่ย่อท้อหรือหวาดกลัว

            ปี 2534 รสช.ทำการรัฐประหาร พวกผมและชาวรามคำแหงทำการต่อต้านด้วยการชุมนุมนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยราม คำแหงและต่อสู้เรื่อยมาจนเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 อาจารย์อารมณ์ อาจารย์เจริญ เป็นกำลังสำคัญที่ทุ่มเท เสียสละ ร่วมกับชาวรามคำแหงและพี่น้องนักศึกษา ประชาชนเป็นจำนวนมากจนประสบชัยชนะ

            วันหนึ่งอาจารย์เจริญ ผู้เป็นสามีได้จากไป ผมไปร่วมงานศพยังจำได้ดีว่า ผมตั้งใจจะกล่าวถ้อยคำเพื่อให้กำลังใจต่ออาจารย์อารมณ์ แต่อาจารย์เข้ากอดผมพร้อมตบบ่าแล้วกลับปลุกปลอบผมแทน อาจารย์ไม่มีน้ำตา แต่มีน้ำคำที่ย้ำให้สืบทอดอุดมการณ์ของอาจารย์เจริญอยู่มิได้ขาด

            6 กุมภาพันธ์ 2552 ผมได้ไปเยี่ยมอาจารย์อารมณ์ที่โรงพยาบาล ทั้งๆที่อาจารย์รู้ว่า ช่วงสุดท้ายของชีวิตจะมาถึงในเวลาอีกไม่นาน แต่ก็ไม่มีแววตาสีหน้าอาการแห่งความกลัวแม้แต่น้อย เรื่องสำคัญของการพูดคุยระหว่างผมกับอาจารย์ที่ผมเคยฟังมานานแล้ว และจะจดจำจนวันตาย ณ วันนั้น คือ "ประชาธิปไตย และคนยากจน" แม้นช่วงสุดท้ายของชีวิตอาจารย์ยังยิ้มสู้และพร่ำพูดถึงความหวังดีที่มีต่อ คนอื่นและสังคมไทย

            ขอให้ไปสู่สุคติเถิดอาจารย์ของผม เจตนารมณ์ที่ดีงามไม่มีวันสูญสลาย


สิริวัฒน์ ไกรสินธุ์
สมาชิกวุฒิสภา จ.นครศรีธรรมราช

ที่มา "อารมณ์ มีชัย ตราไว้ในใจชน"
หนังสือที่ระลึก งานพระราชทานเพลิงศพ อาจารย์อารมณ์ มีชัย
22 กุมภาพันธ์ 2552

"หญิงสาวผู้จุดประกายฝัน" โดย เสถียร วิริยะพรรณพงศา

            ราวๆปี 2541 เห็นจะได้ พวกผมในฐานะสมาชิกน้องใหม่แกะกล่องของ "พรรคสานแสงทอง" กลุ่มกิจกรรมนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง ถูกรุ่นพี่ให้บทเรียนแรกของการเป็นนักกิจกรรม ด้วยการส่งลงพื้นที่เข้าร่วมการชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลขึ้นราคารับซื้อ ยางพาราที่ศาลาว่าการ จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งจุดนั้นเอง เป็นครั้งแรกที่พวกเราได้รู้จักกับอาจารย์อารมณ์ มีชัย อย่างเป็นทางการ หลังจากที่ได้ยินได้ฟังรุ่นพี่กล่าวขานถึงกิตติศัพท์ความเป็นนักต่อสู้เพื่อ ประชาชนมานาน และอีกฐานะหนึ่งที่พวกเราเด็กปี 1 รับรู้กันก็คือ ท่านเป็นแม่ของ 3 พี่น้อง "มีชัย" ที่นับว่า เป็นตระกูลที่ทรงอิทธิพลเหลือหลายในพรรคสานแสงทอง

            ด้วยความที่เพิ่งเริ่มเดินบนเส้นทางนี้เพียงก้าวแรก ทำให้พวกเราไม่มีประสบการณ์มากพอ ถึงแม้ว่าพวกเราจะได้รับมอบหมายให้เป็นถึงโฆษกเวที ได้โฮปาร์ค บางคนเล่นดนตรีปลุกระดมชาวบ้าน แต่ก็ทำไปตามประสาเด็กๆ เรียกว่าเอาใจสู้เข้าว่า ส่วนความรู้ ความเข้าใจหรือความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์ ไม่ต้องถามเพราะมันมีน้อยมากถึงน้อยที่สุด
       
            และอาจารย์อารมณ์ (ซึ่งต่อมาพวกเราก็ถือวิสาสะขยับความสัมพันธ์ให้กระชับขึ้นโดยพร้อมใจกัน เรียกว่า แม่แทบทุกคำ) นี่เองที่เติมเต็มในส่วนที่เด็กกิจกรรมปี 1 ขาดหายไป ทุกๆเย็น "แม่" จะนั่งรถมากับอาจารย์เจริญ มีชัย เพื่อมาหาพวกเราที่ม็อบ โดยไม่ลืมที่จะหอบข้าว หอบแกงปักษ์ใต้ ขนมนมเนย ติดมือมาด้วยทุกครั้ง แล้วก็มาจับกลุ่มล้อมวงคุยวิเคราะห์สถานการณ์ให้ฟัง เล่าเบื้องหน้าเบื้องหลังของเกมการเมือง สอนให้รู้ถึงการปฏิบัติตัวต่อมวลชน ฉายภาพความทุกข์ยากของชาวบ้านที่ถูกกดขี่โดยกลไกรัฐและระบบเศรษฐกิจแบบมือ ใครยาวสาวเอา ยิ่งตอนที่แม่พา"สหาย" ที่แม่บอกว่าเป็นเพื่อนแม่ตั้งแต่ยุคต่อสู้เผด็จการมาร่วมแจมด้วยยิ่งทำให้ วงคุยเพิ่มรสชาติขึ้นไปอีกหลายเท่าตัว เพราะมีความรู้ใหม่ๆ ให้พวกเราตักตวงอย่างไม่มีวันหมด

            สิ่งที่ "แม่" พร่ำสอนนั้นนอกจากเพิ่มเติมองค์ความรู้ เป็นการติดอาวุธทางปัญญาให้กับนักกิจกรรมวัยละอ่อนอย่างพวกเราแล้ว มันยังเป็นเหมือนตะเกียงดวงใหญ่ที่ส่องสว่างบนเส้นทางของคนที่ทำงานเพื่อ ประชาชน ทำให้พวกเราได้รู้ว่าในโลกที่คนส่วนใหญ่ แก่งแย่งเอาตัวรอด ยังมีคนที่อุทิศชีวิตให้กับภารกิจเพื่อมวลชน มันยิ่งใหญ่เหลือเกิน แววตาของแม่เวลาที่พูดถึงประชาชน พูดถึงการกดขี่และความอตุติธรรมในสังคม มันดูแข็งแกร่ง เป็นประกายวาววับ พลอยปลุกให้หัวใจพวกเราพองโต ฮึกเหิม พร้อมจะโจนทะยานตะลุยงานเพื่อมวลชนอย่างกระเหี้ยนกระหือรือ

            จากวันนั้นถึงวันนี้ก็เป็นเวลานับสิบปี "แม่" ยังคงเดินอยู่บนเส้นทางเดิมอย่างแน่วแน่ มั่นคงไม่หวั่นไหว กระทั่งลมหายใจสุดท้าย ส่วนเด็กน้อยปี 1 ในวันนั้น วันนี้หลายคนก็พลัดพรากจากไปจากเส้นทางนี้แล้ว แต่อีกจำนวนไม่น้อยยังคงศรัทธาในแนวทางที่แม่พร่ำบอกชี้นำ อย่างไม่เสื่อมคลาย

            พวกเราที่เหลืออยู่นี้ขอสัญญากับแม่ที่อยู่บนสวรรค์แล้วว่า จะมุ่งมั่นในงานเพื่อมวลชน ในบทบาทที่จะทำได้ แม้ว่ามันจะเล็กน้อยเพียงเศษเสี้ยวกับสิ่งที่แม่เคยทำไว้ก็ตาม



เสถียร วิริยะพรรณพงศา
สำนักข่าวเนชั่น ตัวแทนลูกๆ สานแสงทอง รุ่น 40



ที่มา "อารมณ์ มีชัย ตราไว้ในใจชน"
หนังสือที่ระลึก งานพระราชทานเพลิงศพ อาจารย์อารมณ์ มีชัย
22 กุมภาพันธ์ 2552

วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2553

"คุยกันให้ขี้ยากองท่วมหัว"

            คืนวันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2552 เวลาประมาณสี่ทุ่มเศษ พี่ตี๊ (ชาญยุทธ มนูญวิริยะกุล) โทรศัพท์มาแจ้งข่าวว่า แม่จากพวกเราไปแล้ว พรุ่งนี้ให้เตรียมตัวและฝากแจ้งข่าวพี่ๆน้องๆด้วย แน่นอนว่า นั่นไม่ใช่ข่าวที่เหนือความคาดหมาย เพราะตั้งแต่วันที่ข้าพเจ้าไปเยี่ยมแม่มาครั้งสุดท้าย  ก็รู้สึกแล้วว่า แม่คงอยู่กับพวกเราได้อีกไม่นาน แต่สิ่งหนึ่งที่ข้าพเจ้าทำตลอดมาตั้งแต่วันที่กลับจากไปเยี่ยมแม่ที่โรง พยาบาล คือการขอพรจากพระเจ้าหลังจากการละหมาดทุกวัน ให้แม่อารมณ์ มีชัย กลับคืนสู่ธรรมชาติ โดยความสุข สงบ อย่างที่สุด ข้าพเจ้า ข้าพเจ้ารู้ว่า แม่คงเจ็บปวดและทรมานมาก.. จนถึงวันที่แม่จากไป


            แม่อารมณ์ เป็นคนที่มีลูกมาก หมายถึงบรรดาลูกที่ไม่ใช่ลูกแท้ๆ ในสายเลือด แต่แม่รักและดูแลลูกนอกสายเลือดเหล่านี้เหมือนลูกแท้ๆ ของแม่เอง ข้าพเจ้าจำได้ว่าสมัยเป็นนักศึกษา ปีหนึ่งที่รามคำแหง ประมาณปี 2536-2537 ข้าพเจ้าและเพื่อนในรุ่น (พรรคสานแสงทอง ม.ร.รุ่น 36) ต้องอาศัยบ้านแม่เป็นที่หลับที่นอน เพื่อนในกลุ่มที่อยู่กินด้วยกันมี 5คน คือ ตัวข้าพเจ้าเอง และเพื่อนบอม แก้ว อ๊อฟ บัติ และโอเล่ บางวันก็มีรุ่นน้องตามมาค้างด้วย ก็ยิ่งเพิ่มภาระให้กับแม่  จำได้ว่าตรงข้ามบ้านของแม่มีบ้านร้างอยู่หลังหนึ่ง ซึ่งพวกเราได้เข้าไปบูรณะซ่อมแซม พอที่จะมั่วๆเอามาเป็นที่พักได้ โดยต่อทั้งน้ำทั้งไฟมาจากบ้านแม่ แต่ขอโทษครับ ค่าไฟ ค่าน้ำ พวกเราไม่เคยช่วยแม่จ่ายซักกะบาทเดียว เพราะพวกเราส่วนใหญ่ฐานะทางบ้านไม่ค่อยดี บางวันพวกเราก็แห่กันมานอนที่พรรคทิ้งบ้านร้างไว้เป็นที่เก็บสัมภาระ ยิ่งตอนที่พรรคมีกิจกรรมมากๆ เราแทบจะไม่ได้กลับไปเลยเป็นเวลาหลายสัปดาห์ จนหลายครั้งที่แม่ต้องทำขนมจีน แกงไตปลา มาส่งให้ที่พรรค เพราะกลัวพวกเราจะไม่มีอะไรจะกินกัน ข้าพเจ้ายังจำรถมาสด้าแฟมิลี่เก่าๆคันนั้นได้ดี ถ้าวันใดที่แม่กับพ่อ (อาจารย์เจริญ มีชัย) เข้ามาหาพวกเรา แสดงว่า วันนั้นเราต้องมีอาหารอร่อยๆอิ่มท้องกัน


            มีอยู่วันหนึ่ง ที่พรรคมีประเด็นต้องเคลื่อนไหวทางสังคม เรื่องอะไรนั้นจำไม่ได้ พวกเราก็ยกพลกันกลับบ้าน มานั่งแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน แม่แอบเดินมาดูพวกเราหลายครั้ง จนดึกดื่นแล้วพวกเราก็ยังไม่มีข้อสรุปอะไร แม่ก็เข้ามานั่งแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้วยจนเกือบจะห้าทุ่ม แม่ก็ขอตัวไปพักผ่อน จำได้ว่าสิ่งที่แม่สอนพวกเราและตอกย้ำอยู่เสมอ คือ "เราเป็นนักศึกษาต้องตอบแทนบุญคุณประชาชนที่เสียภาษีให้เรา" แม่เป็นคนที่อธิบายเรื่องนี้ได้ชัดมาก เชื่อมโยง ยกตัวอย่างกับเรื่องใกล้ตัวให้เห็นภาพ อีกเรื่องหนึ่งคือ แม่จะให้หลักสำคัญว่า เวลาจะตัดสินใจทำอะไรก็แล้วแต่ปัจจัยที่ควรจะนำมาเป็นหลักในการตัดสินคือ "ให้พิจารณาว่าประชาชนจะได้อะไร สังคม ส่วนรวมจะได้อะไร จากการกระทำนั้นๆ เป็นที่ตั้ง"


            ข้าพเจ้าไม่รู้หรอกว่า นักจัดตั้งหน้าตาเป็นอย่างไร มีคุณสมบัติแบบไหน แต่ในมุมมองของพวกเรา แม่คือนักจัดตั้งตัวจริงคนหนึ่ง คืนนั้นเราคุยกันต่อจนใกล้สว่าง (ไม่รู้มีอะไรคุยกันนักหนา) เช้าวันรุ่งขึ้นแม่ถามพวกเรามีข้อสรุปกันอย่างไร พวกเรานิ่งเงียบไม่มีใครตอบได้ ดูท่าทางแม่จะออกอาการหงุดหงิด "คุยกันทั้งคืน คุยกันไปให้ขี้ยา (ขี้บุหรี่) กองท่วมหัว เสียเวลาเปล่า...."  แม่อารมณ์กล่าวทิ้งท้ายก่อนเดินจากไป แม่หายไปพักใหญ่ พวกเราก็ตามไปดู เพราะรู้ว่าเราทำให้แม่อารมณ์เสียอีกแล้ว แต่ที่ไหนได้ มารู้จากพี่เมย์ (เตชาติ์ มีชัย) ว่าแม่กับพ่อไปตลาด ไปซื้อกับข้าวมาทำให้พวกเรากิน แม่ไม่เคยโกรธพวกเราเลยซักครั้งเดียว จะมีบ้างก็หงุดหงิดนิดหน่อย แต่สุดท้ายพวกเราก็จะได้กลิ่นแกงไตปลาโชยมาแต่ไกล พร้อมด้วยเสียงเจียวไข่ และแล้วพวกเราก็มีมติของที่ประชุม สรุปลงที่ ข้าว ไข่เจียว แกงไตปลา อย่างเป็นเอกฉันท์ ทุกคราไป ระหว่างกินข้าวแม่ก็จะเริ่มอธิบาย "ทิ้งกากเอาแก่น" "ชี้ขาดที่การปฏิบัติ" "การเคารพในความคิดต่าง" "เสมอภาค" และ...


            วาทกรรม "คุยกันให้ขี้บุหรี่กองท่วมหัว" จึงเป็ยถ้อยคำที่ฝังอยู่ในใจพวกเราจนถึงทุกวันนี้ เพราะหากเข้าไปดูให้ลึกถึงวาทกรรมนี้ของแม่ ข้าพเจ้าคิดว่า มีหลายนัยที่แฝงอยู่อยู่ไม่น้อย คือ เราต้องจับหลักในแต่ละเรื่องนั้นให้ได้ (ทิ้งกากเอาแก่น) เราต้องมีข้อสรุปที่ชัดเจนนำไปปฏิบัติได้ และข้อสุดท้ายสำคัญที่สุด คือ เราต้องเคารพในความคิดต่าง เสมอภาคในการมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น และทุกครั้งที่ข้าพเจ้าและเพื่อนทำกิจกรรมในมหาวิทยาลัย คราใดที่มีการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันนานเกินไป ก็จะมีเพื่อนหยิบ วาทกรรมนี้ของแม่มาเตือนสติกันอยู่เสมอ


            วันนี้...แม่จากพวกเราไปแล้ว คงเหลือไว้แต่เรื่องราวความดีงาม ตำนานของคนจริง ที่เลือกข้างความถูกต้อง และสำคัญที่สุด คือ "แบบอย่างอันทรงคุณค่า แห่งการมีชีวิตอยู่เพื่อผู้อื่น" ของแม่อารมณ์ มีชัย จะตราไว้ในดวงใจของพวกเรา และทุกๆคนที่ได้สัมผัสกับแม่ เป็นแบบอย่างให้คนรุ่นหลัง เจริญรอยตามได้อย่างไม่ลังเลตลอดกาล


รักและเคารพแม่เสมอ
อั๋น ชูวิทย์ จันทรส ตัวแทนลูกๆ สานแสงทอง รุ่น 36


ที่มา "อารมณ์ มีชัย ตราไว้ในใจชน"
หนังสือที่ระลึก งานพระราชทานเพลิงศพ อาจารย์อารมณ์ มีชัย
22 กุมภาพันธ์ 2552
+

arom meechai

arom meechai

วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2553

เพลงไปเขาเขียว - ไก่ แมลงสาบ และ สุเวศน์ ภู่ระหงษ์




เพลงไปเขาเขียว อัลบั้ม เกษตรโยธิน ชุดที่ 1 ซึ่งนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง มาแต่งเป็นบทเพลง โดย2 คู่ซี้ดนตรีอิสระ ไก่ แมลงสาบ และ สุเวศน์ ภู่ระหงษ์

วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2553

เพลง พ่อตี้ แม่นิด - เด็กในโครงการเรียนรู้กู้บ้านเกิด .... สานฝันอันยิ่งใหญ่ให้ ตี้ กรรมาชน



เพลง พ่อตี้ แม่นิด - เด็กในโครงการเรียนรู้กู้บ้านเกิด อัลบั้ม รวมพี่น้องผองเพื่อนเครือข่ายศิลปินเพื่อชีวิต สานฝันอันยิ่งใหญ่ให้ ตี้ กรรมาชน

บทกวีใบไม้คืนถิ่น -ไพวรินทร์ ขาวงาม .... สานฝันอันยิ่งใหญ่ให้ ตี้ กรรมาชน


บทกวีใบไม้คืนถิ่น -ไพวรินทร์ ขาวงาม อัลบั้ม รวมพี่น้องผองเพื่อนเครือข่ายศิลปินเพื่อชีวิต สานฝันอันยิ่งใหญ่ให้ ตี้ กรรมาชน

เพลงหลับเถิดเพื่อนรัก -ป่อง ต้นกล้า ดอกหญ้าไหว



เพลงหลับเถิดเพื่อนรัก -ป่อง ต้นกล้า ดอกหญ้าไหว อัลบั้ม รวมพี่น้องผองเพื่อนเครือข่ายศิลปินเพื่อชีวิต สานฝันอันยิ่งใหญ่ให้ ตี้ กรรมาชน

วันพุธที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2553

เพลงขอบคุณคนไทย-ยงยุทธ ด้ามขวาน.... อัลบั้ม รวมพลคนอาสา ธารรัก ธารน้ำใจ สู่ไทยอันดามัน ชุด ๒





อัลบั้ม รวมพลคนอาสา ธารรัก ธารน้ำใจ สู่ไทยอันดามัน Vol2. มหกรรมรวมน้ำใจครั้งยิ่งใหญ่ของศิลปิีนเพื่อชีวิต โดย เครือข่ายศิลปินเพื่อชีวิต ร่วมกับ มูลนิธิสายธารประชาธิปไตย, สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา, มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ, สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, มูลนิธิมิตรภาพสู่ท้องถิ่น, มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์, สถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ คณะกรรมการเตรียมงาน 30 ปี 6 ตุลา.. ขอคารวะน้ำใจอันยิ่งใหญ่ของคนไทยทั้งประเทศ เผยแพร่โดย บ้านศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน http://thaibansinlapin.blogspot.com


ธารรัก ธารน้ำใจ
หนึ่งที่ได้ คือเสียงเพลง เสียงกวีที่ให้เป็นกำลังใจแด่พี่น้องผู้ประสบภัย และอาสาสมัครที่ลงพื้นที่โดยมิได้นัดหมาย

อีกหนึ่งที่ได้ คือ การรวมเป็นหนึ่งเดียวของศิลปะ ศิลปินทั่วประเทศ
ซึ่งในโอกาสต่อไปทุกท่านเหล่านี้จะเป็นอีกส่วนหนึ่งของ การสร้างสรร
ต่อสู้ สู่ความงดงามของสังคม ร่วมกับพี่น้องเครือข่าย กลุ่มองคืกรต่างๆที่ทำงานเพื่อประชาชน และประเทศชาติ

และอีกหนึ่งที่ได้ - คือ การได้ทำหน้าที่ของตน โดยสมบูรณ์

// ความเป็นมา

เหตุการณ๋ ภัยพิบัติ "สินามึ" เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ได้กระตุ้นกระแสธารน้ำใจขนาดมหึมาของประชาชนทั่วประเทศและทั่วโลกให้หลั่งไหลมาโอบอุ้มผู้ประสบเคราะห์กรรมอย่างล้นหลาม อย่างไม่เคนปรากฏมาก่อน

ในขณะที่องค์กรภาครัฐในพื้นที่ อยู่ในสภาวะช็อคจากเหตุการณ์และตรึงเครียดอยู่กับการรอรับคำสั่งจากทางหน่วยเหนือนั้น ปรากฏว่ามีคลื่นอาสาสมัครและกลุ่มองค์กร ภาคประชาสังคมทั้งในและนอกพื้นที่ได้รวมตัว เชื่อมโยงการดำเนินงานและก่อตัวเป็นเครือข่ายเพื่อเข้าไปช่วยเหลือชุมชนและประชาชนที่กำลังเดือดร้อนอย่างแข็งขันเคียงคู่กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

เครือข่ายศิลปินเพื่อชีวิต ได้เล็งเห็นช่องว่างและตระหนักในปัญหานี้ จึงได้ริเริ่มรวมตัวกันจัดงานมหกรรมดนตรี "รวมพลคนอาสา ธารรัก ธารน้ำใจ สู่ไทยอันดามัน" ขึ้นในวันที่ 27 มีนาคม 2548 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ เพื่อระดมทุนไปสนับสนุนการดำเนินงานของกลุ่มอาสาสมัครและองค์กรภาคประชาสังคมนี้ขึ้น และเป็นที่มาของอัลบั้มเพลงชุดนี้

อัลบั้ม รวมพลคนอาสา ธารรัก ธารน้ำใจ สู่ไทยอันดามัน Vol4. มหกรรมรวมน้ำใจครั้งยิ่งใหญ่ของศิลปินเพื่อชีวิต โดย เครือข่ายศิลปินเพื่อชีวิต ร่วมกับ มูลนิธิสายธารประชาธิปไตย, สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา, มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ, สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, มูลนิธิมิตรภาพสู่ท้องถิ่น, มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์, สถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ คณะกรรมการเตรียมงาน 30 ปี 6 ตุลา.. ขอคารวะน้ำใจอันยิ่งใหญ่ของคนไทยทั้งประเทศ เผยแพร่โดย บ้านศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน

ซับน้ำตาชาวใต้-อาวทิดหล่า.... อัลบั้ม รวมพลคนอาสา ธารรัก ธารน้ำใจ สู่ไทยอันดามัน ชุด ๒





อัลบั้ม รวมพลคนอาสา ธารรัก ธารน้ำใจ สู่ไทยอันดามัน Vol2. มหกรรมรวมน้ำใจครั้งยิ่งใหญ่ของศิลปิีนเพื่อชีวิต โดย เครือข่ายศิลปินเพื่อชีวิต ร่วมกับ มูลนิธิสายธารประชาธิปไตย, สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา, มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ, สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, มูลนิธิมิตรภาพสู่ท้องถิ่น, มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์, สถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ คณะกรรมการเตรียมงาน 30 ปี 6 ตุลา.. ขอคารวะน้ำใจอันยิ่งใหญ่ของคนไทยทั้งประเทศ เผยแพร่โดย บ้านศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน http://thaibansinlapin.blogspot.com


ธารรัก ธารน้ำใจ
หนึ่งที่ได้ คือเสียงเพลง เสียงกวีที่ให้เป็นกำลังใจแด่พี่น้องผู้ประสบภัย และอาสาสมัครที่ลงพื้นที่โดยมิได้นัดหมาย

อีกหนึ่งที่ได้ คือ การรวมเป็นหนึ่งเดียวของศิลปะ ศิลปินทั่วประเทศ
ซึ่งในโอกาสต่อไปทุกท่านเหล่านี้จะเป็นอีกส่วนหนึ่งของ การสร้างสรร
ต่อสู้ สู่ความงดงามของสังคม ร่วมกับพี่น้องเครือข่าย กลุ่มองคืกรต่างๆที่ทำงานเพื่อประชาชน และประเทศชาติ

และอีกหนึ่งที่ได้ - คือ การได้ทำหน้าที่ของตน โดยสมบูรณ์

// ความเป็นมา

เหตุการณ๋ ภัยพิบัติ "สินามึ" เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ได้กระตุ้นกระแสธารน้ำใจขนาดมหึมาของประชาชนทั่วประเทศและทั่วโลกให้หลั่งไหลมาโอบอุ้มผู้ประสบเคราะห์กรรมอย่างล้นหลาม อย่างไม่เคนปรากฏมาก่อน

ในขณะที่องค์กรภาครัฐในพื้นที่ อยู่ในสภาวะช็อคจากเหตุการณ์และตรึงเครียดอยู่กับการรอรับคำสั่งจากทางหน่วยเหนือนั้น ปรากฏว่ามีคลื่นอาสาสมัครและกลุ่มองค์กร ภาคประชาสังคมทั้งในและนอกพื้นที่ได้รวมตัว เชื่อมโยงการดำเนินงานและก่อตัวเป็นเครือข่ายเพื่อเข้าไปช่วยเหลือชุมชนและประชาชนที่กำลังเดือดร้อนอย่างแข็งขันเคียงคู่กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

เครือข่ายศิลปินเพื่อชีวิต ได้เล็งเห็นช่องว่างและตระหนักในปัญหานี้ จึงได้ริเริ่มรวมตัวกันจัดงานมหกรรมดนตรี "รวมพลคนอาสา ธารรัก ธารน้ำใจ สู่ไทยอันดามัน" ขึ้นในวันที่ 27 มีนาคม 2548 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ เพื่อระดมทุนไปสนับสนุนการดำเนินงานของกลุ่มอาสาสมัครและองค์กรภาคประชาสังคมนี้ขึ้น และเป็นที่มาของอัลบั้มเพลงชุดนี้

อัลบั้ม รวมพลคนอาสา ธารรัก ธารน้ำใจ สู่ไทยอันดามัน Vol4. มหกรรมรวมน้ำใจครั้งยิ่งใหญ่ของศิลปินเพื่อชีวิต โดย เครือข่ายศิลปินเพื่อชีวิต ร่วมกับ มูลนิธิสายธารประชาธิปไตย, สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา, มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ, สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, มูลนิธิมิตรภาพสู่ท้องถิ่น, มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์, สถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ คณะกรรมการเตรียมงาน 30 ปี 6 ตุลา.. ขอคารวะน้ำใจอันยิ่งใหญ่ของคนไทยทั้งประเทศ เผยแพร่โดย บ้านศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน

วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553

เพลงอันดามัน-กองทราย -พีช สะพาน...อัลบั้มรวมพลคนอาสาธารรัก-ธารน้ำใจสู่ไทยอันดามันVol1





ธารรัก ธารน้ำใจ
หนึ่งที่ได้ คือเสียงเพลง เสียงกวีที่ให้เป็นกำลังใจแด่พี่น้องผู้ประสบภัย และอาสาสมัครที่ลงพื้นที่โดยมิได้นัดหมาย

อีกหนึ่งที่ได้ คือ การรวมเป็นหนึ่งเดียวของศิลปะ ศิลปินทั่วประเทศ
ซึ่งในโอกาสต่อไปทุกท่านเหล่านี้จะเป็นอีกส่วนหนึ่งของ การสร้างสรร
ต่อสู้ สู่ความงดงามของสังคม ร่วมกับพี่น้องเครือข่าย กลุ่มองคืกรต่างๆที่ทำงานเพื่อประชาชน และประเทศชาติ

และอีกหนึ่งที่ได้ - คือ การได้ทำหน้าที่ของตน โดยสมบูรณ์

// ความเป็นมา

เหตุการณ๋ ภัยพิบัติ "สินามึ" เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ได้กระตุ้นกระแสธารน้ำใจขนาดมหึมาของประชาชนทั่วประเทศและทั่วโลกให้หลั่งไหลมาโอบอุ้มผู้ประสบเคราะห์กรรมอย่างล้นหลาม อย่างไม่เคนปรากฏมาก่อน

ในขณะที่องค์กรภาครัฐในพื้นที่ อยู่ในสภาวะช็อคจากเหตุการณ์และตรึงเครียดอยู่กับการรอรับคำสั่งจากทางหน่วยเหนือนั้น ปรากฏว่ามีคลื่นอาสาสมัครและกลุ่มองค์กร ภาคประชาสังคมทั้งในและนอกพื้นที่ได้รวมตัว เชื่อมโยงการดำเนินงานและก่อตัวเป็นเครือข่ายเพื่อเข้าไปช่วยเหลือชุมชนและประชาชนที่กำลังเดือดร้อนอย่างแข็งขันเคียงคู่กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

เครือข่ายศิลปินเพื่อชีวิต ได้เล็งเห็นช่องว่างและตระหนักในปัญหานี้ จึงได้ริเริ่มรวมตัวกันจัดงานมหกรรมดนตรี "รวมพลคนอาสา ธารรัก ธารน้ำใจ สู่ไทยอันดามัน" ขึ้นในวันที่ 27 มีนาคม 2548 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ เพื่อระดมทุนไปสนับสนุนการดำเนินงานของกลุ่มอาสาสมัครและองค์กรภาคประชาสังคมนี้ขึ้น และเป็นที่มาของอัลบั้มเพลงชุดนี้

อัลบั้ม รวมพลคนอาสา ธารรัก ธารน้ำใจ สู่ไทยอันดามัน Vol4. มหกรรมรวมน้ำใจครั้งยิ่งใหญ่ของศิลปินเพื่อชีวิต โดย เครือข่ายศิลปินเพื่อชีวิต ร่วมกับ มูลนิธิสายธารประชาธิปไตย, สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา, มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ, สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, มูลนิธิมิตรภาพสู่ท้องถิ่น, มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์, สถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ คณะกรรมการเตรียมงาน 30 ปี 6 ตุลา.. ขอคารวะน้ำใจอันยิ่งใหญ่ของคนไทยทั้งประเทศ เผยแพร่โดย บ้านศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน

เพลง TSUNAMI - ลาฆุจุก อัลบั้มรวมพลคนอาสาธารรัก-ธารน้ำใจสู่ไทยอันดามันVol1





ธารรัก ธารน้ำใจ
หนึ่งที่ได้ คือเสียงเพลง เสียงกวีที่ให้เป็นกำลังใจแด่พี่น้องผู้ประสบภัย และอาสาสมัครที่ลงพื้นที่โดยมิได้นัดหมาย

อีกหนึ่งที่ได้ คือ การรวมเป็นหนึ่งเดียวของศิลปะ ศิลปินทั่วประเทศ
ซึ่งในโอกาสต่อไปทุกท่านเหล่านี้จะเป็นอีกส่วนหนึ่งของ การสร้างสรร
ต่อสู้ สู่ความงดงามของสังคม ร่วมกับพี่น้องเครือข่าย กลุ่มองคืกรต่างๆที่ทำงานเพื่อประชาชน และประเทศชาติ

และอีกหนึ่งที่ได้ - คือ การได้ทำหน้าที่ของตน โดยสมบูรณ์

// ความเป็นมา

เหตุการณ๋ ภัยพิบัติ "สินามึ" เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ได้กระตุ้นกระแสธารน้ำใจขนาดมหึมาของประชาชนทั่วประเทศและทั่วโลกให้หลั่งไหลมาโอบอุ้มผู้ประสบเคราะห์กรรมอย่างล้นหลาม อย่างไม่เคนปรากฏมาก่อน

ในขณะที่องค์กรภาครัฐในพื้นที่ อยู่ในสภาวะช็อคจากเหตุการณ์และตรึงเครียดอยู่กับการรอรับคำสั่งจากทางหน่วยเหนือนั้น ปรากฏว่ามีคลื่นอาสาสมัครและกลุ่มองค์กร ภาคประชาสังคมทั้งในและนอกพื้นที่ได้รวมตัว เชื่อมโยงการดำเนินงานและก่อตัวเป็นเครือข่ายเพื่อเข้าไปช่วยเหลือชุมชนและประชาชนที่กำลังเดือดร้อนอย่างแข็งขันเคียงคู่กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

เครือข่ายศิลปินเพื่อชีวิต ได้เล็งเห็นช่องว่างและตระหนักในปัญหานี้ จึงได้ริเริ่มรวมตัวกันจัดงานมหกรรมดนตรี "รวมพลคนอาสา ธารรัก ธารน้ำใจ สู่ไทยอันดามัน" ขึ้นในวันที่ 27 มีนาคม 2548 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ เพื่อระดมทุนไปสนับสนุนการดำเนินงานของกลุ่มอาสาสมัครและองค์กรภาคประชาสังคมนี้ขึ้น และเป็นที่มาของอัลบั้มเพลงชุดนี้

อัลบั้ม รวมพลคนอาสา ธารรัก ธารน้ำใจ สู่ไทยอันดามัน Vol4. มหกรรมรวมน้ำใจครั้งยิ่งใหญ่ของศิลปินเพื่อชีวิต โดย เครือข่ายศิลปินเพื่อชีวิต ร่วมกับ มูลนิธิสายธารประชาธิปไตย, สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา, มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ, สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, มูลนิธิมิตรภาพสู่ท้องถิ่น, มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์, สถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ คณะกรรมการเตรียมงาน 30 ปี 6 ตุลา.. ขอคารวะน้ำใจอันยิ่งใหญ่ของคนไทยทั้งประเทศ เผยแพร่โดย บ้านศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน

ช่วยด้วยใจ-สีแพร เมฆาลัย อัลบั้มรวมพลคนอาสาธารรัก-ธารน้ำใจสู่ไทยอันดามันVol4




ธารรัก ธารน้ำใจ
หนึ่งที่ได้ คือเสียงเพลง เสียงกวีที่ให้เป็นกำลังใจแด่พี่น้องผู้ประสบภัย และอาสาสมัครที่ลงพื้นที่โดยมิได้นัดหมาย

อีกหนึ่งที่ได้ คือ การรวมเป็นหนึ่งเดียวของศิลปะ ศิลปินทั่วประเทศ
ซึ่งในโอกาสต่อไปทุกท่านเหล่านี้จะเป็นอีกส่วนหนึ่งของ การสร้างสรร
ต่อสู้ สู่ความงดงามของสังคม ร่วมกับพี่น้องเครือข่าย กลุ่มองคืกรต่างๆที่ทำงานเพื่อประชาชน และประเทศชาติ

และอีกหนึ่งที่ได้ - คือ การได้ทำหน้าที่ของตน โดยสมบูรณ์

// ความเป็นมา

เหตุการณ๋ ภัยพิบัติ "สินามึ" เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ได้กระตุ้นกระแสธารน้ำใจขนาดมหึมาของประชาชนทั่วประเทศและทั่วโลกให้หลั่งไหลมาโอบอุ้มผู้ประสบเคราะห์กรรมอย่างล้นหลาม อย่างไม่เคนปรากฏมาก่อน

ในขณะที่องค์กรภาครัฐในพื้นที่ อยู่ในสภาวะช็อคจากเหตุการณ์และตรึงเครียดอยู่กับการรอรับคำสั่งจากทางหน่วยเหนือนั้น ปรากฏว่ามีคลื่นอาสาสมัครและกลุ่มองค์กร ภาคประชาสังคมทั้งในและนอกพื้นที่ได้รวมตัว เชื่อมโยงการดำเนินงานและก่อตัวเป็นเครือข่ายเพื่อเข้าไปช่วยเหลือชุมชนและประชาชนที่กำลังเดือดร้อนอย่างแข็งขันเคียงคู่กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

เครือข่ายศิลปินเพื่อชีวิต ได้เล็งเห็นช่องว่างและตระหนักในปัญหานี้ จึงได้ริเริ่มรวมตัวกันจัดงานมหกรรมดนตรี "รวมพลคนอาสา ธารรัก ธารน้ำใจ สู่ไทยอันดามัน" ขึ้นในวันที่ 27 มีนาคม 2548 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ เพื่อระดมทุนไปสนับสนุนการดำเนินงานของกลุ่มอาสาสมัครและองค์กรภาคประชาสังคมนี้ขึ้น และเป็นที่มาของอัลบั้มเพลงชุดนี้

อัลบั้ม รวมพลคนอาสา ธารรัก ธารน้ำใจ สู่ไทยอันดามัน Vol4. มหกรรมรวมน้ำใจครั้งยิ่งใหญ่ของศิลปินเพื่อชีวิต โดย เครือข่ายศิลปินเพื่อชีวิต ร่วมกับ มูลนิธิสายธารประชาธิปไตย, สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา, มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ, สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, มูลนิธิมิตรภาพสู่ท้องถิ่น, มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์, สถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ คณะกรรมการเตรียมงาน 30 ปี 6 ตุลา.. ขอคารวะน้ำใจอันยิ่งใหญ่ของคนไทยทั้งประเทศ เผยแพร่โดย บ้านศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน

เพลงวัคซีนใจ - The แมลงสาบ Project อัลบั้ม ๑๐ ปี แมลงสาบ ๒ วัคซีนใจ

เพลงวัคซีนใจ - The แมลงสาบ Project อัลบั้ม ๑๐ ปี แมลงสาบ ๒ วัคซีนใจ

วันอาทิตย์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2553

เพลง รักนิรันดร์ - The แมลงสาบ Project อัลบั้ม ๑๐ ปี แมลงสาบ ๒ วัคซีนใจ

เพลง รักนิรันดร์ - The แมลงสาบ Project อัลบั้ม ๑๐ ปี แมลงสาบ ๒ วัคซีนใจ

เพลงพี่ขอโทษ (เสือกลับใจ) - The แมลงสาบ Project อัลบั้ม ๑๐ ปี แมลงสาบ ๒ วัคซีนใจ

เพลงพี่ขอโทษ (เสือกลับใจ) - The แมลงสาบ Project อัลบั้ม ๑๐ ปี แมลงสาบ ๒ วัคซีนใจ

เพลง รำวงปัญญาชีวิต - The แมลงสาบ Project อัลบั้ม ๑๐ ปี แมลงสาบ ๒ วัคซีนใจ

เพลง รำวงปัญญาชีวิต - The แมลงสาบ Project อัลบั้ม ๑๐ ปี แมลงสาบ ๒ วัคซีนใจ

เพลงแอบรัก - The แมลงสาบ Project อัลบั้ม ๑๐ ปี แมลงสาบ ๒ วัคซีนใจ

เพลงแอบรัก - The แมลงสาบ Project อัลบั้ม ๑๐ ปี แมลงสาบ ๒ วัคซีนใจ

เพลงครูชาวนา - The แมลงสาบ Project อัลบั้ม ๑๐ ปี แมลงสาบ ๒ วัคซีนใจ

เพลงครูชาวนา - The แมลงสาบ Project อัลบั้ม ๑๐ ปี แมลงสาบ ๒ วัคซีนใจ

เพลงสามรัก - The แมลงสาบ Project อัลบั้ม ๑๐ ปี แมลงสาบ ๒ วัคซีนใจ

เพลงสามรัก - The แมลงสาบ Project อัลบั้ม ๑๐ ปี แมลงสาบ ๒ วัคซีนใจ

เพลงจากวันนั้นสู่วันนี้ - The แมลงสาบ Project อัลบั้ม ๑๐ ปี แมลงสาบ ๒ วัคซีนใจ

เพลงจากวันนั้นสู่วันนี้ - The แมลงสาบ Project อัลบั้ม ๑๐ ปี แมลงสาบ ๒ วัคซีนใจ

เพลงยิ้มยิ้มสู้ - - The แมลงสาบ Project อัลบั้ม ๑๐ ปี แมลงสาบ ๒ วัคซีนใจ

เพลงยิ้มยิ้มสู้ - - The แมลงสาบ Project อัลบั้ม ๑๐ ปี แมลงสาบ ๒ วัคซีนใจ

เพลงยอดรัก - The แมลงสาบ Project อัลบั้ม ๑๐ ปี แมลงสาบ ๒ วัคซีนใจ

เพลงยอดรัก - The แมลงสาบ Project อัลบั้ม ๑๐ ปี แมลงสาบ ๒ วัคซีนใจ

สุเวศน์ ภู่ระหงษ์ ศิลปินประชาชน

เรื่องที่น่าสนใจของกลุ่มศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน

ความเห็นต่อ กลุ่มศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน