วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

โครงการสองทศวรรษพฤษภาประชาธรรม นำสังคมประชาธิปไตย สู่การเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพครั้งใหม่

โครงการสองทศวรรษพฤษภาประชาธรรม นำสังคมประชาธิปไตย สู่การเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพครั้งใหม่

Commemorate Two Decades of May 1992 Popular Uprisings

Leading a Democratic Society
to a New Qualitative Change

หลักการและเหตุผล

       เหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2535 กำลังจะเวียนมาบรรจบครบสองทศวรรษ หรือ 20 ปี ในปี 2555 ซึ่งพ้องกับโอกาสแห่งการครบรอบ 80 ปี
การอภิวัฒน์ประชาธิปไตยไทย พ.ศ.2475 และเพื่อเป็นการรำลึกเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์การพัฒนาประชาธิปไตย และวีรชน
ประชาธิปไตยอย่างมีความหมาย องค์กรประชาธิปไตย องค์กรสิทธิมนุษยชน และองค์กรประชาชน ภาคส่วนต่างๆจึงมองเห็นคุณค่า และคุณูปการ
การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในอดีต นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อปี 2475 เป็นต้นมา อย่างต่อเนื่อง และเป็นกระบวนการ ทั้งนี้เนื่อง
จากเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 นั้น มิได้เกิดขึ้นเอง หากแต่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการต่อสู้ทางการเมืองระหว่าง ประชาชนผู้รักชาติ รัก
ประชาธิปไตย กับกลุ่มเผด็จการอำนาจนิยม ที่มีสืบเนื่องมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน

        สำหรับการรำลึกสองทศวรรษพฤษภาประชาธรรม เราในฐานะที่เป็นประชาชนผู้รักประชาธิปไตย จึงต้องร่วมกันผลักดัน ให้เหตุการณ์พฤษภาคม
2535 มีตำแหน่งแห่งที่ในหน้าประวัติศาสตร์ยุคใหม่ที่ประชาชนเป็นผู้สร้างขึ้น นอกจากนี้ยังต้องปลุกจิตสำนึกให้ประชาชน และคนรุ่นใหม่ได้ เห็นคุณค่าของประชาธิปไตยที่เหล่าวีรชน ได้เสียสละชีวิตและเลือดเนื้อ ญาติของวีรชนและผู้รักประชาธิปไตย ต้องหลั่งน้ำตาให้กับการสูญเสีย บุคคลอันเป็นที่รัก ครั้งแล้วครั้งเล่า ภูมิปัญญา ความศรัทธาต่อประชาธิปไตย การเคารพและยึดมั่นในสิทธิมนุษยชน ความรักต่อมนุษยชาติย่อมถือ เป็นสิ่งสำคัญ ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ในสังคมที่พึงปรารถนา

        การรำลึกสองทศวรรษพฤษภาประชาธรรม จึงถือเป็นโอกาสอันดียิ่งที่ผู้รักประชาธิปไตย และรักความเป็นธรรมในสังคม จะต้องร่วมกันสรุปบทเรียน และประสบการณ์ ตลอดจนการหามาตรการ ที่เหมาะสมในการยกระดับการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม และเสริมศักยภาพของภาคประชาชนในสังคม การเมือง ตลอดจนการป้องกันมิให้รัฐ ทุน และผู้มีอำนาจิทธิพลได้ใช้ความรุนแรงต่อประช่าชน ได้อีก ดังเช่นที่ได้เกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้งหลายหน ในประวัติศาสตร์ หาไม่แล้ว สังคมประชาธิปไตยคงจะไม่สามารถเติบโต และพัฒนาขึ้นได้ท่ามกลางพลวัตรและความซับซ้อนทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการเมืองที่ถูกครอบคลุมไปด้วย "มลภาวะทางจริยธรรม" ของ ผู้นำที่หลงไหลในอำนาจ เงินตรา ร่วมกับข้าราชการที่ฉ้อฉล ในยุคสมัยโลกาภิวัฒน์ ที่จักรวรรดิระบบทุนไร้สัญชาติ ได้มีอิทธิพลอย่างสูงในการ กุมชะตากรรมของประชาชนส่วนใหญ่ ในขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงยากจน ค่นแค้น ตกระกำลำบาก อยู่ภายใต้พันธนาการของระบบรวบอำนาจแบบเบ็ดเสร็จ

       เป้าหมายของโครงการรำลึกสองทศวรรษพฤษภาประชาธรรม จึงเป็นการร่วมกันรำลึก และเชิดชูจิตวิญญาณนักสู้เพื่อประชาธิปไตย ร่วมกันสร้าง สรรค์ประชาธิปไตย เพื่อสืบทอดเจตนารมย์ของวีรชนผู้ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2535 และเหตุการณ์อื่นๆจากทุกสารทิศ และเพื่อความสมานฉันท์ ร่วมกันสร้างสรรค์ประชาธิปไตยที่ประชาชนมีส่วนร่วม มีสิทธิเสรีภาพ และความเท่าเทียมกันทางสังคม สร้างเสริม กระบวนการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ และถ่วงดุลอำนาจทุนผู้หิวกระหาย อย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพโปร่งใส และเป็นธรรม ตอบสนองต่อ
ประโยชน์สุขของประชาชนและสังคม อย่างเป็นรูปธรรม



      ยี่สิบปีแห่งการรำลึกวีรกรรมพฤษภาประชาธรรม จึงจะมีความหมายอย่างแท้จริงได้

วัตถุประสงค์
1. เพื่อเป็นการรำลึกคุณความดีของวีรชน และสืบทอดเจตนาประชาธิปไตยให้กับคนรุ่นหลัง ด้วยการร่วมเฉลิมฉลอง และสถาปนาอนุสาวรีย์วีรชน พฤษภาประชาธรรม
2. เพื่อสร้างโอกาสให้มีการสรุปทบทวนบทเรียนครั้งใหญ่ของภาคประชาชน และผลักดันการปฏิรูปการเมืองอย่างเต็มรูปแบบ ตั้งการติดตาม ตรวจสอบ องค์กรภาครัฐ องค์กรอิสระ ระบบรัฐสภาอย่างเข้มข้น โดยมุ่งเน้นการเมืองภาคประชาชน ให้มีบทบาทสำคัญยิ่งขึ้นในกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยและสังคม เศรษฐกิจที่เป็นธรรม
3. เพื่อเป็นเวทีวิชาการ งานวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ และเกี่ยวข้องกับการต่อสู้ของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2535
4.เพื่อร่วมกันรณรงค์ นำเสนอภาพปัญหา และแนวทางการแก้ไขทั้งในระดับพื้นที่ ระดับโครงสร้างและนโยบายที่ส่งผลกระทบต่อสังคมไทยปัจจุบัน นำเสนอต่อสาธารณชนอย่างกว้างขวาง เพื่อนำมาสู่การเปลี่ยนแปลง และพัฒนาที่ดีและยั่งยืน
5.เพื่อเป็นการเสริมสร้างกัลยาณมิตรในระดับสากล ร่วมสมานฉันท์กับภาคประชาสังคมทั่วโลก เปิดกว้างสู่โลกภายนอก เพื่อภารกิจในการพิทักษ์ สิทธิมนุษยชน ความเป็นธรรม สันติภาพ และความมั่นคงของมนุษยชาติทั้งมวล


จัดกิจกรรมระหว่างวันที่ 17-19 พฤษภาคม 2555



ผู้รับผิดชอบโคงการ เครือข่ายองค์กรประชาธิปไตย องค์กรสิทธิมนุษยชน องค์กรประชาชน คณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35
ผู้สนับสนุนโครงการ มูลนิธิพฤษภาประชาธรรม ฯลฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สุเวศน์ ภู่ระหงษ์ ศิลปินประชาชน

เรื่องที่น่าสนใจของกลุ่มศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน

ความเห็นต่อ กลุ่มศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน