วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

11 วิดีโอบันทึกการแสดงสด มหกรรมดนตรี รวมพลคนอาสา ธารรักธารน้ำใจ สู่ไทยอันดามัน เมื่อ 27 มี.ค.2548 (Fair concert gather people volunteer spirit Than Than Love. Thailand to the Andaman )

             หลายคนยังจดจำภาพเหตุการณ์พิบัติภัย "สึนามิ" เมื่อวันที่ 26 ธ.ค.2547 ได้อย่างไม่มีวันลืมเลือน เหตุการณ์ในครั้งนั้น ทำให้เราได้เห็นกระแสธารน้ำใจที่มากมายมหาศาล หลั่งไหลเข้าสู่ผู้ประสบเคราะห์กรรม เกิดกลุ่มอาสาสมัครมากมาย เดินทางเข้าสู่พื้นที่  กลุ่ม องค์กรต่างๆได้รวมตัวเพื่อเข้าไปช่วยเหลือในหลายรูปแบบ เครือข่ายศิลปินเพื่อชีวิต ต่างรวมใจเพื่อการช่วยเหลือพี่น้องชาวใต้เช่นกัน  โดยได้ผลิตผลงานเพลงชุดพิเศษ "รวมพลคนอาสา ธารรัก ธารน้ำใจ สู่ไทยอันดามัน" 4 อัลบั้ม กว่า 50 บทเพลง ที่ถ่ายทอดเรื่องราวของเหตุการณ์สึนามิ และยังได้รวมตัว รวมใจกันจัดมหกรรมดนตรี "รวมพลคนอาสา ธารรักธารน้ำใจ สู่ไทยอันดามัน" ขึ้นเมื่อ 27 มี.ค.2548 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์


           




            นี่คือ วิดีโอบันทึกการแสดงสดมหกรรมดนตรีในครั้งนั้น ซึ่งหาชมยากพอสมควร แต่สามารถชมได้อย่างเต็มอิ่ม ในเวบแห่งนี้


           

           

            เหตุการณ์พิบัติภัย "สึนามิ" เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ได้กระตุ้นกระแสธารน้ำใจขนาดมหึมาของประชาชนทั่วประเทศและทั่วโลก ให้หลั่งไหลมาโอบอุ้มผู้ประสบเคราะห์กรรมอย่างล้นหลาม อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน


            ในช่วงแรก ขณะที่องค์กรภาครัฐในพื้นที่กำลังอยู่ใยสภาวะช็อคจากเหตุการณ์และ ตึงเครียดอยู่กับการรอรับคำสั่งการของหน่วยเหนือนั้น ปรากฏว่า มีคลื่นอาสาสมัครและกลุ่ม-องค์กรภาคประชาสังคมทั้งในและนอกพื้นที่ได้รวมตัว เชื่อมโยงการดำเนินงานและก่อตัวเป็นเครือข่าย เพื่อเข้าไปช่วยเหลือชุมชนและประชาชนที่กำลังเดือดร้อนอย่างแข็งขันเคียงคู่กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


            ในขณะเดียวกัน กระแสบริจาคเงินและสิ่งของเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยก็เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง  โดยมีหน่วยงานรัฐ สถาบันการเงิน องค์กรการกุศล และบริษัทห้างร้านต่างๆ ลุกขึ้นมาเป็นตัวกลาง แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า องค์กรเหล่านั้นมักจะขาดความเข้าใจในกระบวนการชุมชนเข้มแข็ง และไม่ทราบความต้องการการช่วยเหลือที่หลากหลายของผู้ประสบภัย จึงกำหนดการช่วยเหลือแบบสำเร็จรูปไปจากส่วนกลาง ขาดระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพในพื้นที่ ผูกติดกับกลไกระบบราชการและมุ่งช่วยเหลือเป็นรายบุคคลแบบประชาสงเคราะห์มากกว่าที่จะสร้าง กระบวนการฟื้นฟูและพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยผ่านกลไกอาสาสมัครและองค์กรภาคประชาสังคมดังกล่าว

                      

           


            เครือข่ายศิลปินเพื่อชีวิต ได้เล็งเห็นช่องว่างและตระหนักในปัญหานี้จึงได้เริ่มรวมตัวกันจัดงานมหกรรมดนตรี รวมพลคนอาสา ธารรักธารน้ำใจ สู่ไทยอันดามัน ขึ้นในวันที่ 27 มีนาคม 2548 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เพื่อระดมทุนไปสนับสนุนการดำเนินงานของกลุ่มอาสาสมัครและองค์กรภาคประชาสังคม โดยจัดตั้งกองทุนนี้ขึ้นมา สำหรับกลไกการดำเนินงานต่อไปในระยะยาว


           

           


            ธารรัก ธารน้ำใจ

หนึ่งที่ได้        คือ เสียงเพลง เสียงกวีที่ให้เป็นกำลังใจแด่พี่น้องผู้ประสบภัย
                และ อาสาสมัครที่ลงพื้นที่โดยมิได้นัดหมาย

อีกหนึ่งที่ได้    คือ การรวมเป็นหนึ่งเดียวของศิลปะ ศิลปินทั่วประเทศ
                ซึ่งในโอกาสต่อไปทุกท่านเหล่านี้จะเป็นอีกส่วนหนึ่งของ การสร้างสรร
                ต่อสู้ สู่ความงดงามของสังคม ร่วมกับพี่น้องเครือข่าย กลุ่มองค์กรต่างๆที่ทำงาน
                เพื่อประชาชน และ ประเทศชาติ

และอีกหนึ่งที่ได้ คือ การได้ทำหน้าที่ของตน โดยสมบูรณ์

            กุศลใดที่ท่านทำ ขอให้กุศลนั้นจงบังเกิดแก่ดวงจิตของท่านนั้นเทอญฯ
                        ธารรัก ธารน้ำใจ
                            วัลลภ พลเสน
                        (เครือข่ายศิลปินเพื่อชีวิต)
                            ๘ มีนาคม ๒๕๔๘
           

                      

          


         รายชื่อศิลปินร่วมใจช่วยเหลือพี่น้องชาวใต้ คอนเสิร์ตรวมพลคนอาสา ธารรักธารน้ำใจสู่ไทยอันดามัน
วันอาทิตย์ที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๔๗ ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์, ท่านอังคาร กัลยาณพงศ์, นพ.วิชัย โชควิวัฒน, ไพวรินทร์ ขาวงาม, สุรชัย จันทิมาธร, มงคล อุทก, จาตุรนต์ ฉายแสง, พญ.คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์, พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ, เศก ศักดิ์สิทธิ์, นุภาพ สวันตรัจฉ์, วีระศักดิ์ ขุขันธิน, กิตติพงศ์ ขันธกาญจน์, ประทีป ขจัดพาล, วง แฮมเมอร์, วงคีตาญชลี,  มาลีฮวนน่า, วงซูซู, วิสา คัญทัพ, นิด,ตี้ กรรมาชน, วงอมตะ, วงอี๊ด ฟุตบาธ, วงโฮป แฟมิลี่, วสันต์ สิทธิเขตต์, ชูเกียรติ ฉาไธสง, ยงยุทธ ด้ามขวาน, จ่าหรอย เฮนรี่, อู๋ เสรีชน, ต่อ เสบียง, วงแมลงสาบ, ไพจิตร อักษรณรงค์, วง ไท-ลา-กูน, วงสะพาน, วงชนบท, ต่อศักดิ์ จันทร์กลัด, ต๋อย ลาดเป้ง, วงแม่น้ำ, สมพงศ์ ทวี, สีแพร เมฆาลัย, วงปุถุชน, วงลาฆูจุก, วงบูรพา, นายขนมชั้น, วง ตี๋ ภูธร, วงประโคนชัย, วง เลอมาน, ไตรศุลี มโนเพ็ชร, นิด ลายสือ, ป๋อง ณ ปะเหลียน, เฮี้ยว ณ ปานนั้น, วง อัสลีมาลา, เบื้อก โคราช, แดง คนดง, เด๊ะ สิทธิชัย, ติ๊ก ชุมแพ, เมธา เมธี, วงชาวดง, หน่อง โคราช, ภูบรรทัด, วงคนงาน-ภราดร, วงอัสดง, ชวลา ชัยมีแรง,  แพงคำ, ศิลป์ ไทวาตาชิ, อำนาจ ชัยเจริญ, ตี๋ ต้นหลัก, วง ลาฆูจุก , เพื่อนเขาใหญ่, วง folk co, ไฝ ทานตะวัน, หมอก เมืองหนาว, สันเพชร กีตาร์โปร่ง, ปู บ้านบุญเรือง, สุเวศน์ ภู่ระหงษ์, การแสดงเด็กชาวเขา, อุบล สาศิลา, กลุ่มสลึง, น้องนาย ศิลปินน้อย, วง โฮม (นักศึกษา) , วงเย็นสุข(Indy Style) วง โดโรธี (Funk) , วง MAGANTA (ART ROCK) , รำมโนราห์ แบบโบราณ โดย โสวภา ขาวสง, วง คนผ่านทาง, ละครเวทีจากกลุ่มนักศึกษาและเด็กในพื้นที่ภาคใต้, พี่น้องบ้านน้ำเค็ม 3ท่าน ,

พิธีกร : จักรกฤษ ศิลปชัย, ภิญโญ รุ่งสมัย, อารยา อนันต์ประกฤติ, ไก่ แมลงสาบ, สุนัย มันตานุรักษ์, พระอาทิตย์, ต๋อย ลาดเป้ง,

กำกับเวที : อู๋ การเวก,
ประสานเวที : ซัน, สุนัย มันตานุรักษ์, ต๋อย ลาดเป้ง, จุ๋ม รัชตะ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สุเวศน์ ภู่ระหงษ์ ศิลปินประชาชน

เรื่องที่น่าสนใจของกลุ่มศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน

ความเห็นต่อ กลุ่มศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน