เวลา | รายการ | โดย | หมายเหตุ |
11:00 | เลี้ยงพระเพล | ครอบครัววัดหนู | |
12:00 | เวทีวัฒนธรรม | รายการศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน FMTV | |
เดี่ยวแยนโนไว้อาลัย | น้องต้นกล้า | ||
ศิลปินร่วมไว้อาลัย | วง ฆราวาส | ||
กวีอาลัยแด่สุวิทย์ วัดหนู | วสันต์ สิทธิเขตต์ | ||
ศิลปินร่วมไว้อาลัย | นิด กรรมาชนดนตรีชนเผ่า “โครงการเรียนรู้กู้บ้านเกิด | ||
ศิลปินร่วมไว้อาลัย | สุพัฒน์ นิลบุตร | ||
ศิลปินร่วมไว้อาลัย | ไก่ แมลงสาบ | ||
1 ปี ที่จากไปสุวิทย์ วัดหนู | ภรรยาสุวิทย์ วัดหนู | ||
พิภพ ธงไชย | |||
สมศักดิ์ โกศัยสุข | |||
นิติรัตน์ ทรัพย์สมบูลย์ | |||
ศิลปินร่วมไว้อาลัย | เศก ศักดิ์สิทธิ์ | ||
ศิลปินร่วมไว้อาลัย | วงซูซู | ||
ศิลปินร่วมไว้อาลัย | ชูเกียรติ ฉาไธสง | ||
กวีอาลัยเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ | วสันต์ สิทธิเขตต์ | ||
กำกับรายการ ซัน |
สุ วิทย์ วัดหนู เกิดเมื่อ 20 ธันวาคม 2495 ที่ ต.บางเสร่ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี จบการศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒบางแสน (ม.บูรพาปัจจุบัน) จากหมู่บ้านเล็กๆ ริมทะเล เข้าสู่งานกิจกรรมค่ายอาสาพัฒนา
เริ่ม เข้าร่วมกับรุ่นพี่ (วิทยากร เชียงกูล) ภายในรั้วมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒบางแสน (ปัจจุบันคือ ม.บูรพา) และก้าวไปกับขบวนการประชาธิปไตย 14 ตุลา 2516 ขับไล่เผด็จการ "ถนอม -ประภาส-ณรงค์"
เขา เป็นบุตรคนที่ 2 ของตระกูลวัดหนู จากบรรดาพี่น้อง 8 คน เริ่มเรียนประถมที่โรงเรียนบ้านบางสะเหร่จนจบ ป. 7 และเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนชลชายกระทั่งจบ ม.ศ.5 และสอบเอ็นซ์ทรานเข้า ม.ศรีนครินทรวิโรฒน์ วิทยาเขต บางแสน หรือ ม.บูรพาในปัจจุบัน ในสาขาเอกฟิสิกส์ – คณิตศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์และจบการศึกษาภายใน 4 ปี ปี 2518 เขาเพิ่งจบศึกษาศาสตร์บัณฑิต และเป็นอาจารย์สอนโรงเรียนช่างกล พระราม 6 และมีบทบาทสำคัญในฐานะแกนนำ "แนวร่วมอาชีวะเพื่อประชาธิปไตย" ป้องกันกำลังจัดตั้งนักเรียนอาชีวะของฝ่ายขวาจัด หลังถูกปราบปราม 6 ตุลา 2519...ถูกสถานการณ์กดดันให้ต้องหนีเข้าป่า ไปประจำเขตงานทางใต้ (สุราษฏร์-ชุมพร) ใต้ร่มเงาพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย นานถึง 8 ปี
หลัง ออกจากป่า เมื่อปี 2528 เข้าทำงานกับมูลนิธิดวงประทีป ต่อมาปี 2532 จนกระทั่งปัจจุบัน ทำงานอยู่กับมูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย เริ่มตั้งแต่เจ้าหน้าที่, เลขาธิการ และกรรมการมูลนิธิฯ เคยเป็น เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย(ครป.) ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน, ที่ปรึกษาเครือข่ายสลัม 4 ภาค และเลขาธิการเครือข่ายคนเดือนตุลา และมีบทบาทขับไล่เผด็จการในเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 ในปี 2548 ได้รับเลือกจากมูลนิธินิปปอน(ญี่ปุ่น) ให้เป็น "ปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชีย"
กระทั่ง เที่ยงคืนของวันที่ 12 มี.ค. 2550 เราได้สูญเสียบุคลากรคนสำคัญต่อกระบวนการประชา
ธิปไตย และการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมในสังคมไปอีกคน บทบาทของเขาในฐานะนักเคลื่อนไหวคนสำคัญของขบวนการภาคประชาชน หลายครั้งที่มีการชุมนุมทางการเมืองหรือการชุมนุมเรียกร้องของเครือข่ายสลัม 4 ภาคหรือ“คนจนเมือง” สุวิทย์ วัดหนู มักเป็นกลไกสำคัญของการเชื่อมร้อยประสานพลังเพื่อต่อรองกับรัฐ
ตลอด ระยะเวลากว่าค่อนชีวิต สุวิทย์ทุ่มเทแรงกายแรงใจเข้าสู่การงานอันหลากหลายโดยมีแกนหลักทางความคิด ความเชื่อที่ว่าสังคมที่ดีงามจะเกิดขึ้นได้ด้วยการให้ความเป็นธรรมแก่กัน อย่างเสมอหน้า แม้ว่าในแต่ละช่วงชีวิต วิธีการในการต่อสู้ของเขาจะปรับเปลี่ยนไปตามบริบทและเหตุปัจจัยรอบข้างมาก น้อยเพียงใดก็ตาม
ในช่วงวัยหนุ่ม เขาเป็นแกนนำนักศึกษาจากทิศบูรพาที่เหมารถเข้าร่วมเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ 14 ตุลา เมื่อเติบโตขึ้นอีกเข้าสู่ช่วงการทำงาน ความโดดเด่นทางการเมืองของเขาทำให้ต้องลี้ภัยเข้าร่วมขบวนการต่อสู้ด้วย กำลังอาวุธกับรัฐบาลเผด็จการ หลังจากนั้น จังหวะของชีวิตนำพาเขาออกจากป่าเพื่อเผชิญการต่อสู้ด้วยแนวทางสันติวิธี เพื่อสิทธิที่อยู่อาศัยของคนชั้นล่างในเมือง ตลอดจนเคลื่อนไหวทางการเมืองภาคประชาชนอย่างเข้มข้นจวบจนวินาทีสุดท้ายของ ชีวิต
ตลอด ระยะเวลากว่าค่อนชีวิต สุวิทย์ทุ่มเทแรงกายแรงใจเข้าสู่การงานอันหลากหลายโดยมีแกนหลักทางความคิด ความเชื่อที่ว่าสังคมที่ดีงามจะเกิดขึ้นได้ด้วยการให้ความเป็นธรรมแก่กัน อย่างเสมอหน้า แม้ว่าในแต่ละช่วงชีวิต วิธีการในการต่อสู้ของเขาจะปรับเปลี่ยนไปตามบริบทและเหตุปัจจัยรอบข้างมาก น้อยเพียงใดก็ตาม
ในช่วงวัยหนุ่ม เขาเป็นแกนนำนักศึกษาจากทิศบูรพาที่เหมารถเข้าร่วมเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ 14 ตุลา เมื่อเติบโตขึ้นอีกเข้าสู่ช่วงการทำงาน ความโดดเด่นทางการเมืองของเขาทำให้ต้องลี้ภัยเข้าร่วมขบวนการต่อสู้ด้วย กำลังอาวุธกับรัฐบาลเผด็จการ หลังจากนั้น จังหวะของชีวิตนำพาเขาออกจากป่าเพื่อเผชิญการต่อสู้ด้วยแนวทางสันติวิธี เพื่อสิทธิที่อยู่อาศัยของคนชั้นล่างในเมือง ตลอดจนเคลื่อนไหวทางการเมืองภาคประชาชนอย่างเข้มข้นจวบจนวินาทีสุดท้ายของ ชีวิต
ช่วง เวลาในรั้วมหาวิทยาลัยแห่งนี้นี่เอง ที่หล่อหลอมวัยหนุ่มของเขาให้มุ่งมั่นในแนวทางการทำงานเพื่อส่วนรวม เขาได้รับเลือกตั้งให้เป็นนายกสโมสรนิสิต ในปี 2514 ท่ามกลางกระแสดอกไม้บานของหนุ่มสาวเสื้อขาวและบรรยากาศทางการเมืองของเผด็จ การทหารที่กดทับสังคมไทยมาเป็นเวลาเนิ่นนาน เมื่อสถานการณ์ทางการเมืองเข้าสู่สภาวะที่สุกงอม การชุมนุมใหญ่ที่ธรรมศาสตร์ในเดือนตุลาปี 2516 เริ่มต้นขึ้น
เขา และเพื่อนนักศึกษาจากทิศตะวันออกก็เคลื่อนขบวนเข้าเสริมขบวน.ในทันทีและมี บทบาทอย่างสำคัญในการเคลื่อนไหวในเหตุการณ์ที่เรียกกันว่า “14 ตุลา”
หลัง จบการศึกษา ด้วยวุฒิปริญญาตรี เขาทำงานเป็นอาจารย์วิทยาลัยช่างกลพระราม6ในช่วงเวลาสั้นๆไม่กี่ปี ก่อนที่จะถูกกดดันจนต้องลี้ภัยการเมืองเข้าสู่แนวป่าที่ภาคใต้ในปลายปี 2518 เพื่อจับปืนร่วมรบกับ พคท. ที่เขตงานสุราษฎร์ธานี ด้วยหวังว่าแนวทางนี้จะสามารถสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้คนในสังคมได้ เขายังเป็นหนึ่งในผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เข้าขยายเขตงานของ พคท.ที่ชุมพรในระยะเวลาสุดท้ายของสงครามกลางเมืองครั้งนั้น
เขา เคยเล่าในเวลาต่อมาว่า การตัดสินใจเข้าป่าในครั้งนั้น นอกจากจะเพื่อหลีกเร้นจากกระบวนการปราบปรามจับกุมแกนนำประชาชนและนักศึกษา ที่มีบทบาททางการเมืองจำนวนมากแล้ว ยังมีเจตนาเพื่อประกันความปลอดภัยของครอบครัวของเขาเอง อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะผิดหวังกับการต่อสู้ที่สิ้นสุดลง แต่ประสบการณ์พิเศษครั้งนั้นยังอยู่ในความทรงจำของเขาตลอดมา
สุ วิทย์ใช้เวลาต่อสู้ในแนวทางจับปืนสู้ด้วยอาวุธเป็นเวลาประมาณ 8 ปี ก่อนออกจากป่ามาในช่วงประมาณปี 2526 - 2527 โดยที่ไม่ได้มอบตัวกับทางการ เขากลับมาปรับตัวและใจเข้าสู่วิธีชีวิตคนเมืองอยู่พักใหญ่ เริ่มแรกเขาทำงานหลายอย่างจากความช่วยเหลือของเพื่อนพ้องน้องพี่ ทั้งงานหนังสือพิมพ์ ร้านอาหาร รวมไปถึงการทำสวนที่ชุมพร หลังจากทำงานอยู่พักใหญ่เขาก็กลับเข้ากรุงเทพตามคำเชิญชวนของครูประทีป อึ้งทรงธรรม ให้ทำงานร่วมกับมูลนิธิดวงประทีปเมื่อประมาณปี 2530
และ นั่นคือก้าวแรกของการได้กลับมาร่วมงานกับองค์กรพัฒนาเอกชน เพื่อเติมเต็มอุดมคติเพื่อส่วนรวมของเขาอีกครั้ง สุวิทย์เริ่มเข้าสู่สายงานชุมชนเมืองด้วยโครงการเขตปลอดยาเสพติดในชุมชน คลองเตย และมีโอกาสเห็นภาพการทำงานร่วมกับชาวชุมชนของมูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย (มพศ.) เขาจึงโยกตัวเองเข้าสู่การทำงานในองค์กรแห่งนี้เรื่อยมาจนถึงวาระสุดท้ายของ ชีวิตในวัย 54 ปี
อาจกล่าว ได้ว่า สุวิทย์ เป็นหนึ่งในนักพัฒนายุคแรกๆ ที่เกาะติดประเด็นของ “คนจนเมือง” มาโดยตลอด และร่วมต่อสู้ในฐานะ “พี่เลี้ยง” ของชาวชุมชนเพื่อให้ตระหนักถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนในสังคมประชาธิปไตยและ สิทธิที่จะมีคุณภาพชีวิตที่ดี ตลอดจนสิทธิในที่อยู่อาศัยที่ประชาชนในรัฐพึงได้รับ นอกจากนี้ อีกด้านหนึ่งสุวิทย์ยังเป็นนักพัฒนาที่เกาะติดกับการเคลื่อนไหวทางการเมือง โดยมุ่งหวังถึงการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ประชาชนมีสิทธิมีเสียงอย่างแท้จริง
จึง ไม่แปลกอะไรเลย ที่เราจะเคยเห็นภาพเขาอยู่ท่ามกลางการการเคลื่อนไหวของชาวสลัมในนามของเครือ ข่ายสลัม 4 ภาคและสมัชชาคนจน การเคลื่อนไหวเพื่อคัดค้านการไล่รื้อชุมชนแออัด รวมไปถึงการเคลื่อนไหวผลักดันในระดับโครงสร้างอย่างการผลักดัน พ.ร.บ.ชุมชนแออัด ภาคประชาชน หรือแม้แต่การเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างกรณีพฤษภาทมิฬปี 2535 และการผนึกกำลังไล่ทักษิณปี 2549 ซึ่งเขารับหน้าที่โฆษกของเวทีของเหตุการณ์ทั้งสอง
ในบทบาท ของนักพัฒนา เขายังมีส่วนร่วมในการก่อรูปของขบวนชาวบ้านดังกรณีเครือข่ายสลัม 4 ภาค และสมัชชาคนจนในฐานะที่ปรึกษา เขายังเป็นหนึ่งในกรรมการ ครป.มาตั้งแต่ยุคพฤษภาทมิฬและเป็นเลขาธิการในห้วงปี 2543 – 2545 ในขณะที่ยังเป็นเลขาธิการ มพศ.มาเป็นระยะเวลาหลายปี นอกจากนี้ เขายังเคยเป็นเลขาธิการเครือข่ายเดือนตุลา อันเป็นองค์กรเครือข่ายของเพื่อนพ้องคนเดือนตุลา
จึงไม่แปลกอะไร เลย ที่เราจะเคยเห็นภาพเขาอยู่ท่ามกลางการการเคลื่อนไหวของชาวสลัมในนามของเครือ ข่ายสลัม 4 ภาคและสมัชชาคนจน การเคลื่อนไหวเพื่อคัดค้านการไล่รื้อชุมชนแออัด รวมไปถึงการเคลื่อนไหวผลักดันในระดับโครงสร้างอย่างการผลักดัน พ.ร.บ.ชุมชนแออัด ภาคประชาชน หรือแม้แต่การเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างกรณีพฤษภาทมิฬปี 2535 และการผนึกกำลังไล่ทักษิณปี 2549 ซึ่งเขารับหน้าที่โฆษกของเวทีของเหตุการณ์ทั้งสอง "การ สูญเสียสุวิทย์หมายถึงสูญเสียแนวทางพรรคการเมืองแบบอุดมคติ แบบสังคมนิยมไปด้วย เพราะการที่จะตั้งพรรคการเมืองขึ้นได้ต้องยอมรับว่าต้องมีคนที่เชื่อใน เรื่องนี้พอสมควร และคนที่จะนำให้คนอื่นมีความเชื่อเรื่องนี้อยู่ในใจและแสดงตัวตนออกมาในที่สาธารณะ ต้องมีคนแบบสุวิทย์เป็นคนนำ" (พิภพ ธงไชย)
หลัง จบการศึกษา ด้วยวุฒิปริญญาตรี เขาทำงานเป็นอาจารย์วิทยาลัยช่างกลพระราม6ในช่วงเวลาสั้นๆไม่กี่ปี ก่อนที่จะถูกกดดันจนต้องลี้ภัยการเมืองเข้าสู่แนวป่าที่ภาคใต้ในปลายปี 2518 เพื่อจับปืนร่วมรบกับ พคท. ที่เขตงานสุราษฎร์ธานี ด้วยหวังว่าแนวทางนี้จะสามารถสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้คนในสังคมได้ เขายังเป็นหนึ่งในผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เข้าขยายเขตงานของ พคท.ที่ชุมพรในระยะเวลาสุดท้ายของสงครามกลางเมืองครั้งนั้น
เขา เคยเล่าในเวลาต่อมาว่า การตัดสินใจเข้าป่าในครั้งนั้น นอกจากจะเพื่อหลีกเร้นจากกระบวนการปราบปรามจับกุมแกนนำประชาชนและนักศึกษา ที่มีบทบาททางการเมืองจำนวนมากแล้ว ยังมีเจตนาเพื่อประกันความปลอดภัยของครอบครัวของเขาเอง อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะผิดหวังกับการต่อสู้ที่สิ้นสุดลง แต่ประสบการณ์พิเศษครั้งนั้นยังอยู่ในความทรงจำของเขาตลอดมา
สุ วิทย์ใช้เวลาต่อสู้ในแนวทางจับปืนสู้ด้วยอาวุธเป็นเวลาประมาณ 8 ปี ก่อนออกจากป่ามาในช่วงประมาณปี 2526 - 2527 โดยที่ไม่ได้มอบตัวกับทางการ เขากลับมาปรับตัวและใจเข้าสู่วิธีชีวิตคนเมืองอยู่พักใหญ่ เริ่มแรกเขาทำงานหลายอย่างจากความช่วยเหลือของเพื่อนพ้องน้องพี่ ทั้งงานหนังสือพิมพ์ ร้านอาหาร รวมไปถึงการทำสวนที่ชุมพร หลังจากทำงานอยู่พักใหญ่เขาก็กลับเข้ากรุงเทพตามคำเชิญชวนของครูประทีป อึ้งทรงธรรม ให้ทำงานร่วมกับมูลนิธิดวงประทีปเมื่อประมาณปี 2530
และ นั่นคือก้าวแรกของการได้กลับมาร่วมงานกับองค์กรพัฒนาเอกชน เพื่อเติมเต็มอุดมคติเพื่อส่วนรวมของเขาอีกครั้ง สุวิทย์เริ่มเข้าสู่สายงานชุมชนเมืองด้วยโครงการเขตปลอดยาเสพติดในชุมชน คลองเตย และมีโอกาสเห็นภาพการทำงานร่วมกับชาวชุมชนของมูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย (มพศ.) เขาจึงโยกตัวเองเข้าสู่การทำงานในองค์กรแห่งนี้เรื่อยมาจนถึงวาระสุดท้ายของ ชีวิตในวัย 54 ปี
อาจกล่าว ได้ว่า สุวิทย์ เป็นหนึ่งในนักพัฒนายุคแรกๆ ที่เกาะติดประเด็นของ “คนจนเมือง” มาโดยตลอด และร่วมต่อสู้ในฐานะ “พี่เลี้ยง” ของชาวชุมชนเพื่อให้ตระหนักถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนในสังคมประชาธิปไตยและ สิทธิที่จะมีคุณภาพชีวิตที่ดี ตลอดจนสิทธิในที่อยู่อาศัยที่ประชาชนในรัฐพึงได้รับ นอกจากนี้ อีกด้านหนึ่งสุวิทย์ยังเป็นนักพัฒนาที่เกาะติดกับการเคลื่อนไหวทางการเมือง โดยมุ่งหวังถึงการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ประชาชนมีสิทธิมีเสียงอย่างแท้จริง
จึง ไม่แปลกอะไรเลย ที่เราจะเคยเห็นภาพเขาอยู่ท่ามกลางการการเคลื่อนไหวของชาวสลัมในนามของเครือ ข่ายสลัม 4 ภาคและสมัชชาคนจน การเคลื่อนไหวเพื่อคัดค้านการไล่รื้อชุมชนแออัด รวมไปถึงการเคลื่อนไหวผลักดันในระดับโครงสร้างอย่างการผลักดัน พ.ร.บ.ชุมชนแออัด ภาคประชาชน หรือแม้แต่การเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างกรณีพฤษภาทมิฬปี 2535 และการผนึกกำลังไล่ทักษิณปี 2549 ซึ่งเขารับหน้าที่โฆษกของเวทีของเหตุการณ์ทั้งสอง
ในบทบาท ของนักพัฒนา เขายังมีส่วนร่วมในการก่อรูปของขบวนชาวบ้านดังกรณีเครือข่ายสลัม 4 ภาค และสมัชชาคนจนในฐานะที่ปรึกษา เขายังเป็นหนึ่งในกรรมการ ครป.มาตั้งแต่ยุคพฤษภาทมิฬและเป็นเลขาธิการในห้วงปี 2543 – 2545 ในขณะที่ยังเป็นเลขาธิการ มพศ.มาเป็นระยะเวลาหลายปี นอกจากนี้ เขายังเคยเป็นเลขาธิการเครือข่ายเดือนตุลา อันเป็นองค์กรเครือข่ายของเพื่อนพ้องคนเดือนตุลา
จึงไม่แปลกอะไร เลย ที่เราจะเคยเห็นภาพเขาอยู่ท่ามกลางการการเคลื่อนไหวของชาวสลัมในนามของเครือ ข่ายสลัม 4 ภาคและสมัชชาคนจน การเคลื่อนไหวเพื่อคัดค้านการไล่รื้อชุมชนแออัด รวมไปถึงการเคลื่อนไหวผลักดันในระดับโครงสร้างอย่างการผลักดัน พ.ร.บ.ชุมชนแออัด ภาคประชาชน หรือแม้แต่การเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างกรณีพฤษภาทมิฬปี 2535 และการผนึกกำลังไล่ทักษิณปี 2549 ซึ่งเขารับหน้าที่โฆษกของเวทีของเหตุการณ์ทั้งสอง "การ สูญเสียสุวิทย์หมายถึงสูญเสียแนวทางพรรคการเมืองแบบอุดมคติ แบบสังคมนิยมไปด้วย เพราะการที่จะตั้งพรรคการเมืองขึ้นได้ต้องยอมรับว่าต้องมีคนที่เชื่อใน เรื่องนี้พอสมควร และคนที่จะนำให้คนอื่นมีความเชื่อเรื่องนี้อยู่ในใจและแสดงตัวตนออกมาในที่สาธารณะ ต้องมีคนแบบสุวิทย์เป็นคนนำ" (พิภพ ธงไชย)
การ ก่อเกิดของพรรคใหม่ ในเบื้องต้น สุวิทย์และมิตรสหาย ได้ประมวลภาพร่างของ 'พรรคการเมืองภาคประชาชน' ไว้ดังนี้ อุดมการณ์และทิศทางของพรรค : พรรคมีเป้าหมายที่จะดำเนินกิจกรรมไปสู่การสร้างสรรค์สังคมแห่งเสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ
ลักษณะของพรรค พรรคมีลักษณะสำคัญ 4 ประการ คือ
พรรค ประชาชาติ กล่าวคือ พรรคจะยึดมั่นในผลประโยชน์ของกรรมกร ชาวนา และคนจนเมือง ควบคู่ไปกับการประสานความร่วมมือกับนักวิชาการ ปัญญาชน สื่อมวลชน นักธุรกิจระดับเล็ก ระดับกลาง และระดับชาติ ไม่ใช่กลุ่มทุนผูกขาดข้ามชาติ
พรรคมวลชน กล่าวคือ พรรคจะมุ่งเน้นการจัดระบบบริหารองค์กรแบบความสัมพันธ์เชิงแนวราบ ควบคู่ไปกับการสร้างเอกภาพในแนวดิ่ง
พรรคเคลื่อนไหว กล่าวคือ พรรคจะมุ่งเน้นการสร้างพรรคเพื่อเป็นศูนย์กลางการประสานกลุ่มพลังทางสังคม เสนอทางออก และแนวนโยบายต่อสังคม
พรรคคุณธรรม กล่าวคือ พรรคจะยึดมั่นในจริยธรรมอย่างเคร่งครัดในการดำเนินกิจกรรมทางการเมือง
นอก จากนี้ พรรคยังมีนโยบายเฉพาะหน้า 10 ข้อ ที่วางกรอบใหญ่ๆ เอาไว้ อาทิ คัดค้านระบบทุนนิยมเสรี ที่สร้างความทุกข์ยากให้กับคนยากจน เกิดความเหลื่อมล้ำอย่างรุนแรงของกลุ่มคนในสังคม ส่งเสริมระบบเศรษฐกิจพึ่งพิงตนเอง เชื่อมประสานกับระบบการค้าระหว่างประเทศที่เป็นธรรม หรือนโยบายภาคชนบทที่ต้องการปฏิรูประบบสหกรณ์ มุ่งเน้นส่งเสริมเกษตรอินทรีย์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น