การพูดคุยผ่านสื่อ ทำให้ผู้ฟังได้สัมผัสถึงความคิด มุมมอง ประสบการณ์ของผู้พูดได้เป็นอย่างดี ยิ่งเป็นสื่อที่อิสระ ไม่มีกรอบมาควบคุม ปิดกั้น ทำให้สื่อสารได้อย่างเต็มที่ นี่คือ การจัดรายการคลื่นวิทยุชุมชน FM 98.15 MHz สถานีวิทยุชุมชนบ้านห้วยขวาง จ.ชลบุรี เมื่อช่วงเช้าวันที่ 17 สิงหาคม 2553 กับ 2 ศิลปินคู่หูคู่ซี้ดนตรีที่อิสระ ไก่ แมลงสาบ และสุเวศน์ ภู่ระหงษ์ ผู้ที่ยึดถือหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและวิถีชีวิตแบบไทยแท้ มานั่งพูดคุยหลายเรื่องราวอย่างเต็มอิ่ม แบบไม่มีโฆษณามาคั่นระหว่างการพูดคุย
นี่คือ บันทึก สาระ ความรู้ ภูมิปัญญาจากชุมชนท้องถิ่น ที่ชาวบ้านห้วยขวางและพื้นที่ใกล้เคียงได้รับฟังเนื้อหาที่มีคุณค่าแบบนี้เป็นประจำ
วิดีโอช่วงแรก เริ่มจากการรายงานเรื่องที่ไปขับกล่อม ขับไล่โรงงานถลุงเหล็ก ที่ อบต.หนองชิ่ม จันทบุรี ทำงานศิลปะศิลปินให้ลุกขึ้นสู้ และการได้เขียนบทเพลงประวัติศาสตร์ บอกเล่าถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้น เรื่องของมลภาวะ สิ่งแวดล้อม ขอหยิบบางช่วงของคำพูดจากวิดีโอนี้มา
สุเวศน์ " ผมจะพูดเสมอว่า แม้คนที่เป็นข้าราชการนี่ เวลาเข้าทำงาน 8 โมงถึง 8 โมงครึ่ง ถ้าท่านเข้าช้าไปวันละ 10 นาที โกงวันละ 10 นาที มันเป็นกรรมนะ"
* * *
ไก่ " เรื่องของการป้องกันแก้ไขนี่ ประชาชนเป็นส่วนสำคัญในการที่จะดูแลบ้านตัวเอง..."
สุเวศน์ "..เจ้าของพื้นที่ ..เอาง่ายๆ คนเรามันมีอยู่ 2 ประเภท พวกที่ 1 เป็นคนที่มีปัญญา เค้าจะแปลงสินทรัพย์ให้เป็นบุญ แต่อีกกลุ่มหนึ่ง เค้าจะพยายามแสวงหาทรัพย์สินโดยสร้างกรรม....."
ไก่ "... แปลงวันถุดิบ พื้นที่ไร่นาให้เป็นทุน..."
สุเวศน์ "..และก็ไม่คำนึงว่า ใครจะเดือดร้อน ที่บ้านผม พยายามจะหลีกเลี่ยงที่จะกระทบกับสัตว์ ประเภทมด และอื่นๆ เราก็ดูพื้นที่ข้างๆ เค้าฉีดยากันหมด ใส่ยากันเข้มข้นมาก ยาฆ่าแมลง ย่าฆ่าหญ้า และสารพัดยา พวกนี้จะแย่ อันตรายทั้งหมด แล้วผมมีเนื้อที่เหลืออยู่ซัก 5 เศษๆ พยายามหาที่ให้มดอยู่ เพราะเค้ามีสิทธิ์อยู่บนโลกผืนนี้นะ..."
* * *
ไก่ " ผมจำได้ว่า สมัยพ่อแม่ ทำนา 10-20 ไร่ จะให้ 1-2 ไร่ ให้วัว ควายย่ำ ได้กินข้าว หญ้า เพราะถือว่า เค้าได้ทำร่วมกับพวกเรา ทั้งคราดทั้งไถ ทั้งลากเกวียนเพื่อเอาข้าวมาไว้ในยุ้งฉาง ส่วนต่างๆเหล่านี้สภาวะสมดุล เป็นเรื่องสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องมด ที่จะสร้างรังให้เค้าอยู่ ความสมดุลเหล่านี้อย่าไปทำลายเค้านะครับ เป็นวัฏจักร.."
นอกจากนั้น มีคำเตือนเรื่องการตัดกิเลส, ข้อคิดเรื่องของนิวเคลียร์ ก่อนที่จะเกิดการสร้างโรงงาน
- ในวิดีโอช่วงนี้ พูดถึงเรื่องการเดินทางไปแสดงดนตรีที่พิษณุโลก ตารางคิวงานที่ผ่านมา
- ร้องเพลงสุขภาวะดีวิถีคนจันท์ (บางส่วน) ที่แต่งในงานที่พึ่งผ่านมา
- ประสบการณ์ที่ลืมไม่ลง ในการไปเล่นดนตรีที่เมืองโบราณ สมุทรปราการ
- ประสบการณ์การตั้งวงดนตรีลูกทุ่งของลุงสุเวศน์
- การทำวงแบบจรยุทธ์ กำลังเสริมเพื่อต่อต้านคัดค้าน พวกนายทุนที่จะเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ โดยสร้างโรงงานต่างๆ
- งานที่ปกป้อง เพื่อแผ่นดินให้สภาวะของโลกสดใสต่อไปป
- เสนอแนวคิด ไปถึงการทำการศึกษาวิจัยการตั้งโรงงาน ถ้าแบ่งงบส่วนหนึ่งมาให้ภาคประชาชนได้ศึกษามั่งจะมีประโยชน์อย่างไร
- พูดถึงกระทรวงวัฒนธรรม งบประมาณกับการทำโครงการเพื่อสร้างผลงาน มีข้อดีข้อเสียอะไรบ้าง
- จิตสำนึกในการทำงานมีมาก แต่กำลังเงินที่จะส่งต่อให้เกิดงานเพลง ที่สมบูรณ์มีไม่พอ
- สถานีวิทยุชุมชน กับการเป็นเครื่องมือของบริษัทธุรกิจบางประเภท
- สะท้อนปัญหากาาค้าขายสารเคมีกับผลกระทบในชุมชน
- พูดถึงเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ ที่มีสื่อนิดเดียว แต่บริษัทเอกชนมีคลื่นความถี่วิทยุ ครอบคลุมไปทั่ว กว้างไกลกว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร
- พูดถึงเศรษฐกิจพอเพียง วิถีชาวบ้านของไทย
- เศรษฐกิจดี แต่ทำลายวิถีชุมชน อย่างไรบ้าง
- ขายวัวส่งควายเรียน
- การศึกษาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ข้อคิดที่น่ารับฟังของผู้เป็นลูก ที่ควรปฏิบัติต่อพ่อแม่
- ข้อคิดคำสอนที่ในหลวงสอน คิดแบบวิถีชุมชน
- ข้อคิดเรื่องการพึ่งตัวเอง
- ใบมะยม มะขาม ต้นส้ม ใบชะมวง ใบตำลึง ใบมะระ ที่บ้านลุงสุเวศน์ เอามาตำน้ำพริกกินได้หมด
- แนวคิด...มะนาวแพง กินมะขามสิ ไก่ไข่ แพง ก็กินอย่างอื่นสิ การรู้จักเลี่ยง และวิธีคิดที่น่าสนใจ
- วิถีคนโบราณ กินอาหารตามฤดูกาล เช่นหน้าหนาวเป็นไข้หัวลมกินแกงส้มสัตวา, ดอกแคร์ก็กินได้ เค้าต้องการให้เรากินของที่มีในขณะนั้น
- เรื่องราวสะกิดใจคน ความเมตตา กรุณา ปราณี กรณีรถเกิดอุบัติเหตุ รถขวางถนนอยู่ รถติดอยู่... สังคมขาดการเยียวยา ต้องอบรมบ่มนิสัย จับฟังสื่อที่มีเนื้อหาสาระดีๆ
- ฝากให้คนในครอบครัวฟังธรรมะ อธิบายให้บุตรหลานฟังด้วย เพื่อความสุขในครอบครัว
- บทกวีสำหรับ คนทำงานที่คดในข้อ งอในกระดูก ซึ่งลุงสุเวศน์เขียนไว้เมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา
ทิ้งท้ายด้วยการไปเยี่ยมคุณแม่ของ คุณไก่ แมลงสาบ จากบริเวณสวนในบ้านพัก ซึ่งมีคุณสุเวศน์ ภู่ระหงษ์, คุณสำรวม บางบัวทอง, คุณไก่ แมลงสาบ ร่วมวงสนทนากันอยู่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น