วันพุธที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

กำหนดการจัดงาน ๑๐๐ ปี ศาสตราจารย์นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว 31 พฤษภาคม 2554




กำหนดการ

ภาคเช้า     พิธีการทางศาสนา
สถานที่     ห้อง 111 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
10.00 น.   คณะกรรมการจัดงาน 100 ปี ศ.นพ.เสม  พริ้งพวงแก้ว และแขกผู้มีเกียรติพร้อมกันที่ห้อง 111 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
10.30 น.   พระภิกษุ 9 รูป เริ่มพิธีทางศาสนา เจริญพระพุทธมนต์
11.00 น.   ถวายภัตตาหารเพล
12.00 น.   รับประทานอาหารกลางวัน ณ ห้อง 108 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์

ภาคบ่าย
    งาน "100 ปี ศ.นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว"
สถานที่     หอประชุมใหญ่  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
11.30-13.00 น. ชมนิทรรศการ  บริเวณรอบหอประชุมใหญ่

ช่วงที่1

12.00-13.00 น.     ลงทะเบียน
13.00-13.30 น.     การแสดงดนตรีพื้นบ้านและละครหุ่นมือ โดยเด็กนักเรียนในโครงการพ่อแม่อุปถัมภ์ของมูลนิธิหมอเสม พริ้งพวงแก้ว
13.30-13.40 น.     การแสดงวีดีทัศน์ประวัติ ศาสตราจารย์นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว
13.40-14.00 น.      การอ่านบทกวี โดย
                           - เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์     ศิลปินแห่งชาติ  สาขาวรรณศิลป์  พ.ศ. 2536
                           - อังคาร กัลยาณพงศ์        ศิลปินแห่งชาติ  สาขาวรรณศิลป์  พ.ศ. 2532
14.00-15.00 น.       การแสดงปาฐกถาพิเศษ โดย
                           - ฯพณฯ อดีตนายกรัฐมนตรี อานันท์ ปันยารชุน ในหัวเรื่อง
                              "งานด้านบริหารจัดการและนิติบัญญัติ ของ ศ.นพ. เสม พริ้งพวงแก้ว"
                           - ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี ประธานมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ ในหัวข้อเรื่อง

                              "งานด้านสาธารณสุขและสังคม ของ ศ.นพ. เสม พริ้งพวงแก้ว"
15.00-15.20 น.      การแสดงดนตรีของวงคีตาญชลี และ ไก่ แมลงสาบ
ผู้ดำเนินรายการเวที      นายแทนคุณ จิตต์อิสระ

ช่วงที่ 2

15.20-16.30 น.     การเสวนาเรื่อง "๑๐๐ ปีชีวิตของพ่อเสม ให้อะไรกับสังคมไทยบ้าง" โดย
                           - นายพิภพ ธงไชย                         กรรมการและเลขานุการมูลนิธิเด็ก
                           - นพ.ดร. โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์     ผู้อำนวยการหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สุขภาพไทย
                           - น.ส. รสนา โตสิตระกูล                 สมาชิกวุฒิสภา
                           - นพ. ศุภชัย ครบตระกูลชัย             ประธานเครือข่ายแพทย์รุ่นใหม่
                           ผู้ดำเนินการเสวนา       นายประสาน อิงคนันท์
16.30-16.50 น.     บทเพลง/ดนตรี จาก หงา คาราวาน (สุรชัย จันทิมาธร) ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ พ.ศ. 2553
16.50-17.00 น.     กล่าวปิดงาน โดย อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์
ผู้ดำเนินรายการเวที      นางสาวณาตยา เเวววีรคุปต์




ครงการจัดงาน
๑๐๐ ปี ศาสตราจารย์นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว
วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม 2554
ณ หอประชุมใหญ่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท กรุงเทพฯ 10330

1. หลักการและเหตุผล
จากเกียรติประวัติชีวิตและผลงานของ ศ.นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว ที่ปรากฏผ่านเรื่องราวที่ผลิตเป็นหนังสือและสื่อต่าง ๆ สู่สาธารณะจำนวนมาก โดยเฉพาะเอกสารบันทึกลายมือที่ท่านรวบรวมไว้ และการเล่าประสบการณ์ทำงานสุขภาพในแต่ละช่วงของชีวิตของท่านอย่างเข้มข้น สื่อถึงพลังทางความคิดและอุดมคติอย่างแรงกล้า ที่ยังจารึกในความทรงจำของบุคคลที่เคยทำงานใกล้ชิดกับท่าน ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่คนทำงานในแวดวงสุขภาพเท่านั้น แต่ยังมีผู้รู้เห็นเกี่ยวข้องร่วมคิดร่วมปฏิบัติงานทางสังคมด้านต่าง ๆ กับท่าน อาทิ การศึกษา การเมือง การทำงานสนับสนุนคนด้อยโอกาส เป็นต้น และกล่าวได้ด้วยเช่นกันว่าท่านเป็นแพทย์ผู้มีความรอบรู้ด้านประวัติศาสตร์ สังคมและการเมืองด้วย ประวัติชีวิตและการทำงานของท่านจึงมีความสำคัญที่จะต้องเผยแพร่สู่คนรุ่นใหม่
จากคุณูปการของ ศ.นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว ในการเป็นแพทย์ เป็นผู้นำและเป็นพลเมืองผู้มีบทบาทและปฏิบัติหน้าที่อย่างทุ่มเท อุทิศตน รวมถึงการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างจนได้รับความเคารพศรัทธาต่อสิ่งที่ท่านคิด ปฏิบัติและแสดงออก นับแต่การตั้งโรงพยาบาลเอกเทศรักษาคนป่วยอหิวาตกโรคที่อัมพวา สมุทรสงคราม การก่อตั้งโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ปี 2480 ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหญิง ปัจจุบันคือ โรงพยาบาลราชวิถี จนมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ท่านได้ริเริ่มและสร้างการเปลี่ยนแปลงในระบบสุขภาพหลายประการ จนทุกวันนี้ท่านยังอยู่ในความทรงจำของบุคลากรสาธารณสุข แพทย์ พยาบาลและเจ้าหน้าที่ทุกคนที่มีโอกาสได้รู้จักและทำงานร่วมกับท่าน รวมถึงกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ที่ทำงานให้กับสังคมซึ่งเคยเกี่ยวข้องหรือได้รับการสนับสนุนส่งเสริมจากท่านในทางใดทางหนึ่ง จุดสำคัญคือท่านยังอยู่ในใจของทุกคน ซึ่งมองเห็นรับรู้ถึงจิตใจอันมีเมตตากรุณา ซื่อสัตย์ และเป็นธรรมกับทุกคน จนทุกคนเรียกท่านว่า “คุณพ่อเสม พริ้งพวงแก้ว”
เมื่อใกล้ถึงวาระอายุครบ ๑๐๐ ปีของท่าน มีบุคคล/องค์กรต่าง ๆจากภาครัฐ เอกชน องค์กรพัฒนาเอกชนและภาคประชาชน ต่างมีการเตรียมการจัดงานให้ท่านในฐานะปูชนียบุคคลที่สังคมไทยต้องจดจำ เรียนรู้และสืบทอดแนวคิดและแนวปฏิบัติจากสิ่งที่ท่านนำทำไว้ให้ประจักษ์เป็นแบบอย่าง ซึ่งคนในสังคมรับรู้ได้ถึงจิตใจอันกว้างใหญ่นี้ การเกิดขึ้นของ “เสมสิกขาลัย” และงานปาฐกถาเสม พริ้งพวงแก้ว ที่จัดขึ้นทุกปี ตั้งแต่ปี พ..๒๕๓๘ โดยอาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ถือเป็นรูปธรรมการสืบสานแนวคิดของคุณพ่อเสม นอกจากนั้นยังมีบุคคลสำคัญที่ได้คิดเตรียมการงานนี้อีก อาทิ ศ.นพ.ประเวศ วะสี นพ.วิชัย โชควิวัฒน อาจารย์จิราพร เครือโสภณ และผศ.ภญ.สำลี ใจดี และยังมีกลุ่มบุคคลต่าง ๆ อีกหลายองค์กรที่กำลังเตรียมงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คุณชัชวาลย์ พริ้งพวงแก้ว กรรมการและประธานบริหารมูลนิธิหมอเสม พริ้งพวงแก้ว ในฐานะบุตรชายกับบุตรสาวคนอื่น ๆ ในครอบครัวพริ้งพวงแก้ว จนมาถึงทีมงานหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สุขภาพไทย (หพสท.) จึงได้มีการปรึกษาหารือเพื่อเชื่อมโยงบุคคลและองค์กรต่าง ๆ ให้มาพูดคุยแลกเปลี่ยนสร้างความร่วมมือกันในการสืบสานแนวคิดและแนวทางของคุณพ่อเสมกันต่อไป

2. วัตถุประสงค์
เพื่อประกาศเกียรติคุณ และสืบสานแนวความคิด วิถีชีวิตและการทำงานของ ศ.นพ. เสม พริ้งพวงแก้ว ที่มีต่อสังคมไทย สู่คนรุ่นปัจจุบันและอนาคต

3. วัน เวลา และ สถานที่จัดงาน
วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม 2554 เวลา 10.00 – 17.00 .
ณ หอประชุมใหญ่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท กรุงเทพฯ 10330

4. กลุ่มเป้าหมาย 1,000 คน
ลูกศิษย์ กัลยาณมิตร อดีตคนไข้ของ ศ.นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว เครือข่ายผู้ป่วย เครือข่ายผู้บริโภค นิสิตนักศึกษา/นักเรียน/ประชาชนที่สนใจ




ประกาศโครงการจัดงาน ๑๐๐ ปี ศาสตราจารย์นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว ที่ ๑/๒๕๕๔
เรื่อง ประกาศแต่งตั้งคณะที่ปรึกษา คณะกรรมการดำเนินงานและคณะทำงานจัดงาน
๑๐๐ ปี ศาสตราจารย์นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว
.............................................................

ในวาระครบรอบ ๑๐๐ ปี ชาตกาล ศาสตราจารย์ นพ. เสม พริ้งพวงแก้ว องค์กรต่าง ๆ ที่เห็นคุณค่าของแนวความคิดและวิถีชีวิตของท่าน ซึ่งถือได้ว่าเป็นนายแพทย์ธรรมดาคนหนึ่ง หากมีคุณูปการมากมายต่อวงการสาธารณสุขและสังคมไทย จึงร่วมกันจัดงานเชิดชูเกียรติเพื่อเป็นการเผยแพร่อุดมคติ อุดมการณ์ ในชีวิตของท่านให้เกิดเป็นแรงบันดาลในการสร้างสรรค์สังคมไทยที่ดีงามให้กับคนรุ่นต่อไป  
เพื่อให้การเตรียมจัดงาน ๑๐๐ ปี ศาสตราจารย์นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว ร่วมกันขององค์กรต่าง ๆ สำเร็จตามเป้าหมาย ซึ่งมีการดำเนินงานร่วมกันในด้านต่าง ๆ คือ การประสานงาน บริหารจัดการ จัดกิจกรรมต่าง ๆ และแสวงหาความร่วมมือกับกลุ่มบุคคลและองค์กรต่าง ๆ ให้บรรลุวัตถุประสงค์โครงการจัดงานที่กำหนดไว้ โดยยึดหลักการ “งานที่มีความเรียบง่าย ประหยัดและมีพลัง” จึงมีประกาศแต่งตั้งคณะที่ปรึกษา คณะกรรมการดำเนินงาน และคณะทำงาน ซึ่งมีองค์กรและบุคคลจากองค์กรต่าง ๆ ที่มีจิตใจอาสามาร่วมกันดำเนินงานด้านต่าง ๆ ดังรายนามต่อไปนี้

๑. คณะที่ปรึกษา
1. ศ.นพ. ประเวศ วะสี ประธานมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ
2. ศ.นพ. ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3. นพ. มงคล ณ สงขลา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
4. นพ. ไพจิตร วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
5. นพ. วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
๒. คณะกรรมการดำเนินงาน
1. นพ. วิชัย โชควิวัฒน ประธานกรรมการ
2. ผศ.ภญ. สำลี ใจดี รองประธานกรรมการ
3. ผศ.ภญ.ดร. นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี กรรมการ
4. รศ.ภญ.ดร. จิราพร ลิ้มปานานนท์ กรรมการ
5. นายชัชวาลย์ พริ้งพวงแก้ว กรรมการ
6. ดร. กวิน พริ้งพวงแก้ว กรรมการ





/๗. น.ส.รสนา ......

7. น.ส. รสนา โตสิตระกูล กรรมการ
8. นายสันติสุข โสภณสิริ กรรมการ
9. รศ.ดร. อนงค์นาฏ เถกิงวิทย์ กรรมการ
10. พญ. วารุณี จินารัตน์ กรรมการ
11. รศ.ดร. โคทม อารียา กรรมการ
12. นพ. อำพล จินดาวัฒนะ กรรมการ
13. นพ. โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ กรรมการ
14. นพ. ภูษิต ประคองสาย กรรมการ
15. รศ.ภก.ดร. วิทยา กุลสมบูรณ์ กรรมการ
16. ประธานมูลนิธิแพทย์ชนบท กรรมการ
17. นางจิราพร เครือโสภณ กรรมการ
18. ดร. ชุติมา ปัญญาพินิจนุกูร กรรมการ
19. ผศ.ภญ.ดร. วรรณา ศรีวิริยานุภาพ กรรมการ
20. พญ. เรณู ศรีสมิต กรรมการ
21. นพ. สุรเกียรติ อาชานานุภาพ กรรมการ
22. นพ. สุทัศน์ ศรีวิไล กรรมการ
23. นพ. สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ กรรมการ
24. พญ. สุพัตรา ศรีวณิชชากร กรรมการ
25. ดร. ละเอียด แจ่มจันทร์ กรรมการ
26. นพ. สุภกร บัวสาย กรรมการ
27. นพ. ประพจน์ เภตรากาศ กรรมการ
28. นพ. พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข กรรมการ
29. นางอัจฉรา สุนทรวาทิน กรรมการและเลขานุการ
30. น.ส. ปารณัฐ สุขสุทธิ์ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
๓. คณะทำงานฝ่ายต่าง ๆ ประกอบด้วย
๓.๑ คณะทำงานฝ่ายอำนวยการ
บทบาทภารกิจสำคัญคือ มองภาพรวม กำหนดทิศทางสู่วัตถุประสงค์และเป้าหมาย ตัดสินใจเชิงการบริหารจัดการตามหลักการที่วางไว้ และเอื้ออำนวยให้การดำเนินงานด้านต่างๆ ก้าวข้ามอุปสรรคไปได้ มีบุคคลต่าง ๆ คือ






/๑. นพ.วิชัย ......

1. นพ. วิชัย โชควิวัฒน
ประธานกรรมการบริหารหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สุขภาพไทย

และประธานมูลนิธิแพทย์ชนบท
2. ผศ. สำลี ใจดี
ประธานมูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา (มสพ.)
และประธานมูลนิธิพัฒนาการแพทย์แผนไทย
3. ผศ.ภญ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ และกรรมการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก
4. รศ.ดร.โคทม อารียา
ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล
และประธานกรรมการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก
5. นายชัชวาลย์ พริ้งพวงแก้ว
ประธานบริหารมูลนิธิหมอเสม พริ้งพวงแก้ว
๓.๒ คณะทำงานฝ่ายพิธีสงฆ์
เตรียมการและจัดพิธีการสงฆ์ในช่วงเช้า ณ ห้อง ๑๑๑ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ ในช่วงเช้าและจัดถวายภัตตาหารเพลพระสงฆ์ ๙ รูป
1. นพ.มงคล ณ สงขลา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
2. ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3. รศ.ดร.อนงค์นาฏ เถกิงวิทย์ ผู้ช่วยอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
4. นายสันติสุข โสภณสิริ มูลนิธิสุขภาพไทย
5. นายชัชวาลย์ พริ้งพวงแก้ว ประธานบริหารมูลนิธิหมอเสม พริ้งพวงแก้ว
6. ดร.กวิน พริ้งพวงแก้ว กรรมการมูลนิธิหมอเสม พริ้งพวงแก้ว
๓.๓ คณะทำงานฝ่ายสถานที่
มีบทบาทด้านการดูแลจัดการสถานที่และอาหารกับน้ำดื่มที่หอประชุมใหญ่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการเตรียมสถานที่สำหรับพิธีกรรมทางสงฆ์ในช่วงเช้า สถานที่จัดนิทรรศการรอบหอประชุมใหญ่ สถานที่ภายในหอประชุมสำหรับการจัดเวทีแสดงปาฐกถา ฉายสารคดีการแสดงศิลปวัฒนธรรม การเสวนา ดนตรีและการอ่านบทกวี ตามกำหนดการมีบุคคลต่างๆ ดังนี้
1. ผศ.ภญ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. น.ส.ณีน้อย ปิติเจริญ
ผู้จัดการมูลนิธิหมอชาวบ้าน
3. น.ส.กนิษา จิราทิพย์
ผู้ประสานงานมูลนิธิหมอชาวบ้าน
4. นายวีรพงศ์ เกรียงสินยศ
มูลนิธิสุขภาพไทย
5. น.ส.รัชนี จันทร์เกษ
มูลนิธิพัฒนาการแพทย์แผนไทย
6. น.ส.สายใจ วอนขอพร
ผู้ช่วยเลขาธิการมูลนิธิแพทย์ชนบท
7. นายวัฒนา นราพล
ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อเด็กพิการ
8. นางอัจฉรา สุนทรวาทิน
มูลนิธิหมอเสม พริ้งพวงแก้ว
9. น.ส.ภาวิณี สวัสดิมานนท์
สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ


/๓.๔ คณะทำงาน ......

๓.๔ คณะทำงานฝ่ายต้อนรับและลงทะเบียน
มีบทบาทภารกิจด้านพิธีกรรมสงฆ์ พิธีการช่วงปาฐกถา ต้อนรับแขกผู้มีเกียรติ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้สูงวัย แขกรับเชิญกลุ่มต่าง ๆ และผู้มาร่วมงานทุกกลุ่ม รวมถึงงานลงทะเบียนหน้างานด้วย มีบุคคลต่างๆ คือ
1. รศ.ดร.อนงค์นาฏ เถกิงวิทย์
ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. รศ.ภญ.ดร.พิณทิพย์ พงษ์เพ็ชร
คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3. ผศ.ภญ.ดร.วรรณา ศรีวิริยานุภาพ
มูลนิธิเภสัชชนบท
4. ผศ.พงษ์ศักดิ์ กันล้วน
มูลนิธิเภสัชศาสตร์เพื่อสังคม
5. พ.ญ.วารุณี จินดารัตน์
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี
6. ดร. ละเอียด แจ่มจันทร์
คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเซนต์หลุยส์
7. พ.ต.อ.หญิง ยุพิน เนียมแสน
ประธานชมรมพยาบาล ๔ เหล่า
8. นางฉวีวรรณ ทิมา
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์
9. นางจิราพร เครือโสภณ
สมาคมศิษย์ วพบ.กรุงเทพ
10. น.พ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา
ผู้แทนชมรมแพทย์ชนบท
11. นางรำไพ แก้ววิเชียร
เครือข่ายร่วมพัฒนาศักยภาพผู้นำการสร้างสุขภาวะแนวใหม่ (คศน.)
12. ดร.กรกนก ลัธธนันท์
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ
13. ดร.กวิน พริ้งพวงแก้ว
กรรมการมูลนิธิหมอเสม พริ้งพวงแก้ว
๓.๕ คณะทำงานฝ่ายวิชาการ
มีบทบาทภารกิจด้านการรวบรวม ค้นคว้า เรียบเรียงและผลิตเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับประวัติชีวิตและงานของ ศ.นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว สำหรับการ brief ให้นักข่าว การทำเนื้อหาประชาสัมพันธ์ลงสื่อชนิดต่างๆ จัดทำสารคดี ชุดนิทรรศการและเอกสารแจกในวันงานและหลังงาน รวมทั้งมีภารกิจการจดบันทึก รวบรวมและสรุปเนื้อหาในวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ด้วย บุคคลที่มีหน้าที่รับผิดชอบคือ
1. น.พ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์
ผู้อำนวยการสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ
และหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สุขภาพไทย
2. น.ส.ปารณัฐ สุขสุทธิ์
หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สุขภาพไทย
3. นายสันติพงษ์ ช้างเผือก
คณะกรรมการบริหารหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สุขภาพไทย
4. นายนภนาท อนุพงศ์พัฒน์
นักประวัติศาสตร์ หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สุขภาพไทย
5. นายธวัช มณีผ่อง
คณะกรรมการบริหารหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สุขภาพไทย
6. น.พ.ภูษิต ประคองสาย
ผู้อำนวยการสำนักนโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ
7. นางอาทิตยา เทียมไพรวัลย์
สำนักนโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ




/๓.๖ คณะทำงาน ......

๓.๖ คณะทำงานฝ่ายประชาสัมพันธ์
มีบทบาทด้านการวางแผนและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารและกิจกรรมการจัดงาน ๑๐๐ ปี ศ.นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว ก่อนวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔ วันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔ รวมถึงหลังวันงานด้วย โดยมีบุคคลและหน่วยงานที่มีทีมงานด้านสื่อประชาสัมพันธ์เข้ามาร่วมกันรับผิดชอบคือ
1. น.พ.อุกฤษฏ์ มิลินทางกูร
รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
2. น.ส.ปารณัฐ สุขสุทธิ์
หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์สุขภาพไทย
สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
3. นางชื่นสุข ฤกษ์งาม
สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
4. ผศ.พงษ์ศักดิ์ กันล้วน
มูลนิธิเภสัชศาสตร์เพื่อสังคม
5. น.ส.เบญจมาศ สุรมิตร
ผู้อำนวยการกองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
6. หัวหน้าฝ่ายสื่อสารองค์กร
ฝ่ายสื่อสารองค์กรแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
7. ผู้อำนวยการสถานี
สถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
8. น.ส.กรรณิการ์ กิจติเวชกุล
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
9. น.ส.ณาตยา แวววีรคุปต์
THAI PBS
10. น.ส.สรัญญา อรรคราช
กลุ่มศิลปะ ดนตรี กวี ประชาชน
11. นายวิเชียร คุตตวัส
กลุ่มเพื่อนมหิดล
12. นายเชษฐา มั่นคง
แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน (สสย.)

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔

(ลงชื่อ) ................................................
(ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี)

1 ความคิดเห็น:

  1. กำหนดการปรับนิดหน่อย เนื่องด้วยคุณแทนคุณ ติดภารกิจเร่งด่วน จึงมาร่วมงานไม่ได้ค่ะ

    ตอบลบ

สุเวศน์ ภู่ระหงษ์ ศิลปินประชาชน

เรื่องที่น่าสนใจของกลุ่มศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน

ความเห็นต่อ กลุ่มศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน