วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

เขื่อนดินสุโขทัยพัง น้ำทะลักท่วม 3 ตำบล

เขื่อนดินสุโขทัยพัง น้ำทะลักท่วม 3 ตำบล
 

สุโขทัยเขื่อนดินพังน้ำทะลักท่วม 3 ตำบลนาข้าวจมน้ำ 7 หมื่นไร่-ชาวบ้านเกือบ 8 หมื่นระทม

สุโขทัย-  เมื่อวันนี้  24 ส.ค. ปริมาณน้ำในแม่น้ำยมที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ประกอบกับกระแสน้ำที่เชี่ยวกราก ได้ไหลเข้ากัดเซาะเขื่อนดินคลองต้นข้อ หมู่ 8 บ้านบางคลอง ต.ปากแคว อ.เมืองสุโขทัย จนทรุดตัวพังลงมา ทำให้น้ำไหลทะลักเข้าท่วมพื้นที่นาข้าว หมู่ 1 , 3 , 6 , 7 , 8 ของ ต.ปากแคว , ต.ตาลเตี้ย และ ต.บ้านสวน อ.เมืองสุโขทัย ได้รับความเสียหายกว่า 10,000 ไร่ .......................................


...........................................................................

ชป.-กรมน้ำ ปั้นโปรเจกต์ลุ่มน้ำยม-น้ำน่าน ชงของบ 55 หลายพันล้าน
 
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 31 สิงหาคม 2554 21:01 น.
 
พิษณุโลก - กรมชลประทาน-กรมทรัพยากรน้ำ ตั้งวงถก เร่งทำแผนเร่งด่วนเสนอของบ 55 หลายพันล้าน ปั้นสารพัดโครงการแก้น้ำท่วมลุ่มน้ำยม-ลุ่มน้ำน่าน พื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง อธิบดีกรมชลฯ เผยทำแก้มลิง-ฝายแล้ว รับน้ำได้แค่ 10% ระบุหากไม่ทำเขื่อนแก่งเสือเต้น ก็ต้องทำเขื่อนน้ำยมบน-ล่างอีก 3 ปีข้างหน้า       
       วันนี้ (31 ส.ค.54)ที่โรงแรมลาพาโลมา อ.เมือง จ.พิษณุโลก นายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน ,นายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ ได้ร่วมกันเป็นประธานสัมมนาแนวทางและโครงการเร่งด่วนการบริหารจัดการน้ำและพัฒนาลุ่มน้ำยม ลุ่มน้ำน่าน ปีงบประมาณ 2555 โดยมีเจ้าหน้าที่ชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ ผู้นำท้องถิ่นจากพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง เข้าร่วมเพื่อพิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาการเกิดอุทกภัยซ้ำซาก และการบริหารจัดการลุ่มน้ำให้มีประสิทธิภาพ
      
       นายชลิต กล่าวว่า เนื่องจากนายกรัฐมนตรี สั่งให้ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ - กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ติดตามและพิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาการเกิดอุทกภัยซ้ำซาก ให้เร่งศึกษาทบทวนโครงการทที่ดำเนินการระยะเร่งด่วน ตนจึงเดินทางมารับฟังความคิดเห็นของส่วนราชการในพื้นที่ เพื่อรับทราบปัญหา นำไปวางแผนบรรเทาปัญหาน้ำท่วมและการขาดแคลนน้ำได้อย่างตรงจุด เพราะแผนงบประมาณจะต้องทำส่งรัฐบาลภาย 16 ก.ย.54 นี้ เพื่อทำให้ทันปีงบ 55 ............................................
 
 
......................................................................


แผนเร่งด่วนจัดการลุ่มน้ำยม-น่าน


 
 

กรมชลประทาน ร่วมกับกรมทรัพยากรน้ำ เสนอแผนบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำยมและน่านโครงการเร่งด่วน 155 โครงการ งบประมาณกว่า 21,900 ล้านบาท เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนจากน้ำที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี

ขณะที่ชาวบ้านมองว่ายังมีโครงการที่ซ้ำซ้อนและอยากให้มีการสร้างเครื่องมือบริหารจัดการน้ำเพิ่มเติมในอีกหลายๆพื้นที่ ...............................

.......................................................................

เครือข่ายศิลปินเพื่อ สวล.ร่วมค้าน “เขื่อนแก่งเสือเต้น”

จวกนักการเมืองโหมข่าวปลุกกระแส

โดย chuwat เมื่อ 1 กันยายน 2011 - 7:46pm
นักการเมืองกระพือโหมข่าวปลุกเร้ากระแสให้สร้างเขื่อน
เครือข่ายศิลปินเพื่อสิ่งแวดล้อมร่วมประกาศจุดยืน คัดค้านโครงการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น และคัดค้านอีก 2 แห่งทั้งยมบน และยมล่าง ชี้นักการเมืองหนุนสร้างเพราะหวังผลาญป่าสักทองผืนสุดท้าย ....................................
 
.............................................................

ผลกระทบหากมีการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม 2011 เวลา 14:15 น. webmaster seub
 
  
แก่งเสือเต้นอีกครั้งหนึ่งของการกลับมาคุ้นหูกับคำว่า  “เขื่อนแก่งเสือเต้น” เขื่อนแก่งเสือเต้นเป็นประเด็นที่พูดคุยกันมาแล้วหลายรัฐบาล ช่วงนี้ภาวะน้ำท่วมดูเหมือนจะเป็นแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้เกิดความคิดในการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นกลับมาอีกครั้งหนึ่ง

คุณสืบ นาคะเสถียรเคยพูดไว้ว่า “เดี๋ยวนี้เขื่อนเริ่มเข้าไปในพื้นที่อนุรักษ์แล้ว เพราะป่าข้างนอกหมดแล้ว หากว่าการสร้างเขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ยังทำได้อีกต่อไป ผมว่าอนุรักษ์ในอนาคตคงไม่มีความหมายอะไร เหลือแต่ชื่อเอาไว้ว่าเคยเป็นป่าอนุรักษ์มาก่อน” และ “ผมคิดว่าการสร้างเขื่อนเป็นกระบวนการทำลายแหล่งพันธุกรรม ตลอดจนแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของสัตว์ป่า ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของผืนป่าทั้งหมดที่มนุษย์มิอาจจะสร้างขึ้นมาใหม่ได้” ...........................................
 
..................................................
 
 
”แผ่นดินไหวกับการสร้างเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ”
ตอนที่ 1
บทความ/เพชรรัตน์ ไชยกาล /ทีมข่าว สวท.ขอนแก่น
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเอื้อเฟื้อข้อมูล
27 มีนาคม 2554 8:07:35

แผ่นดินไหวนับเป็นภัยธรรมชาติอย่างหนึ่ง ที่เคยนำความพินาศต่อชีวิตและทรัพย์สินของมนุษย์มาเป็นจำนวนมาก โดยเป็นปรากฏการณ์ที่อยู่นอกเหนือกฎเกณฑ์การควบคุมของมนุษย์ ซึ่งเป็นเรื่องที่มนุษย์ยังต้องศึกษาและทำความเข้าใจอยู่ตลอดเวลา ปัจจุบันวิชาการทางด้านแผ่นดินไหวยังไม่อาจที่จะกำหนดตำแหน่ง หรือขนาดที่แน่นอนของการเกิดได้ แต่สิ่งมนุษย์ทำได้คือการออกแบบสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่บนพื้นผิวโลกให้สามารถ ต้านแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวเช่น การช่วยเหลืออพยพราษฎรที่ประสบภัย ตลอดจนการออกประกาศเตือนภัยเกี่ยวกับคลื่นซูนามิ เป็นต้น ......................

.............................................................

ฝนตกซ้ำ 'เขื่อนหาดสะพานจันทร์' สุโขทัยจ่อวิกฤติ

ฝนตกซ้ำ 'เขื่อนหาดสะพานจันทร์' สุโขทัยจ่อวิกฤติ
เขื่อนหาดสะพานจันทร์ สุโขทัยจ่อวิกฤติ หากฝนตกต่อเนื่อง เผยระดับน้ำเหนือเขื่อนอยู่ที่ 62.20 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่เขื่อนรับได้ที่ 63 ล้านล้านลูกบาศก์เมตร ขณะที่ จนท.เร่งโกยท่อนไม้ทิ้งหวั่นกระแทกเขื่อนร้าว...
เมื่อวันที่ 2 ก.ค. นายทวนทอง วงศ์ทะกันฐ์ นายช่างชลประทานชำนาญการ ผู้ควบคุมดูแลเขื่อนหาดสะพานจันทร์ หมู่ 9 ต.ในเมือง อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย เปิดเผยว่า ขณะนี้ระดับน้ำบริเวณเหนือเขื่อนหาดสะพานจันทร์ยังอยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง ถึงแม้ระดับน้ำจะเริ่มลดลงบ้างแล้ว... read more .......................

..........................................................

คน “เชียงม่วน” ร่วมต้าน “แก่งเสือเต้น” ชี้ที่ทำกินสูญทันทีหมื่นไร่
 
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 29 สิงหาคม 2554 10:35 น.


       พะเยา - “ชาวทุ่งมอก” ยืนยันไม่เอา “แก่งเสือเต้น” อดีตกำนันห่วงพื้นที่ทำกินกว่า 10,000 ไร่ ริมน้ำยมสูญในพริบตา
      
       นายอิน จันตา อดีตกำนัน ต.มาง อ.เชียงม่วน จ.พะเยา กล่าวว่า ทุกครั้งที่มีเหตุการณ์น้ำยมท่วมบ้านเรือนหรือพื้นที่ทำกินของประชาชนหลายจังหวัด จะมีการกล่าวถึงโครงการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นทุกครั้ง ซึ่งฝ่ายที่สนับสนุนก็จะยกเหตุผลสารพัด มาอ้างถึงความเหมาะสม ที่จะต้องสร้าง เช่น การป้องกันน้ำท่วม ภัยแล้ง .....................
.........................................................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สุเวศน์ ภู่ระหงษ์ ศิลปินประชาชน

เรื่องที่น่าสนใจของกลุ่มศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน

ความเห็นต่อ กลุ่มศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน