เครือข่ายทรัพยากรธรรมชาติและสิ ่งแวดล้อมภาคอีสานจับมือกรมส่ งเสริมสิ่งแวดล้อมภาคอีสาน จัดเสวนาสถานการณ์สิ่งแวดล้อมอี สาน 54 ถอดบทเรียนนโยบายการจัดการทรั พยากรชาติ เตรียมความพร้อมก่อนเสนอทางเลื อกการพัฒนาต้อนรับรัฐบาลยิ่งลั กษณ์
การเมือง/สิ่งแวดล้อม 2 ก.ค. 54
เครือข่ายทรัพฯอีสานเปิดวงถก เสนอทางออกการพัฒนา รับรัฐบาลใหม่
เครือข่ายทรัพยากรธรรมชาติและสิ ่งแวดล้อมภาคอีสานจับมือกรมส่ งเสริมสิ่งแวดล้อมภาคอีสาน จัดเสวนาสถานการณ์สิ่งแวดล้อมอี สาน 54 ถอดบทเรียนนโยบายการจัดการทรั พยากรชาติ เตรียมความพร้อมก่อนเสนอทางเลื อกการพัฒนาต้อนรับรัฐบาลยิ่งลั กษณ์
เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2554 เวลา 8.00 น. ณ ศูนย์ประชุมแก่งเลิงจาน จังหวัดมหาสารคาม เครือข่ายทรัพยากรธรรมชาติและสิ ่งแวดล้อมภาคอีสาน ร่วมกับกรมส่งเสริมสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ งแวดล้อม ได้จัดเวทีเสวนาแลกเปลี่ ยนถอดบทเรียนการจัดการทรั พยากรภาคอีสาน และทิศทางการจัดการทรั พยากรของภูมิ ภาคโดยภาคประชาชนในอนาคต
บรรยากาศในห้องประชุมเนืองแน่ นไปด้วยตัวแทนจากเครือข่ายองค์ กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม อาทิ โครงการทามมูล กลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา สมาคมเพื่อนภู มูลนิธิเพื่อการบริหารจัดการน้ ำแบบบูรณาการ ตัวแทนชาวบ้านผู้ได้รั บผลกระทบจากโครงการพัฒนาทั่ วภาคอีสาน อาทิ กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุ ดรธานี กลุ่มผู้ได้รั บผลกระทบจากแนวสายส่งไฟฟ้าอุ ดรธานี เครือข่ายองค์กรชุมชนฟื้นฟูป่ าภูกระแต กลุ่มชาวบ้านผู้ได้รั บผลกระทบจากโครงการสร้างเขื่ อนปากชม กลุ่มชาวบ้านลุ่มน้ำเสียวและลุ่ มน้ำชี กลุ่มชาวบ้านพื้นที่ชุ่มน้ำแก่ งละว้าและกลุ่มผู้ได้รั บผลกระทบจากเขื่อนหัวนา-ราษีไศล จำนวนกว่า 100 คน
ทั้งนี้ ภายในเวทีได้มีการถอดบทเรี ยนนโยบายการจัดการทรั พยากรธรรมชาติในภาคอีสานของรั ฐบาล นับแต่แผนพัฒนาฯฉบับที่ 1 จนถึงในช่วงแผน 10 ครอบคลุมทั้งในมิติ ดิน น้ำ ป่า และแร่ธาตุ เพื่อสรุปบทเรียนปัญหาร่วมกันทั ้งในเชิงพื้นที่และภาพรวมของภู มิภาค ซึ่งข้อสรุปในวงแลกเปลี่ยนต่ างเห็นพ้องร่วมกันว่า รากเหง้าของปัญหาในการจัดการทรั พยากร ที่สร้างผลกระทบให้กับชุมชนท้ องถิ่นอีสานในแต่ละภูมินิเวศนั้ น ล้วนเป็นผลมาจากการรวมศูนย์ อำนาจการจัดการทรัพยากรเข้าสู่ ส่วนกลาง การมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจอุ ตสาหกรรมและความเจริญเติ บโตของตัวเลขเศรษฐกิจเป็นหลั กใหญ่ ซึ่งได้นำมาสู่การลิดรอนสิทธิชุ มชนในการจัดการทรัพยากร การใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือกดขี ่ข่มเหงชาวบ้านสารพัดรู ปแบบโดยไม่เคารพศักดิ์ศรี และความเป็นมนุษย์ของคนอีสาน ฉะนั้นทางออกของปัญหาที่มีร่ วมกันก็คือการปรับดุ ลอำนาจในการจัดการทรัพยากรกับรั ฐเสียใหม่ เพื่อให้ชุมชนในแต่ละภูมินิ เวศสามารถจัดการทรัพยากรด้ วยตนเองได้อย่ างเหมาะสมและสอดคล้องกับนิเวศวั ฒนธรรมเฉพาะถิ่นนั้นๆ
ด้านนายบุญเลิศ เหล็กเขียว แกนนำกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้ อมอุดรธานี กล่าวว่า
ผมอยากฝากให้รัฐบาลที่จะเข้ ามาบริหารใหม่ ฟังเสียงประชาชนบ้าง ฟังว่าพวกเขาจะเอาหรือไม่เอา ถ้าประชาชนเจ้าของพื้นที่เขาไม่ เอาก็ควรฟัง เพราะนั่นเป็นบ้านเกิดเมื องนอนของเขา ไม่ใช่รัฐบาลมัวเห็นแต่ ผลประโยชน์ หน่วยงานรัฐก็ไม่ควรที่จะมาบี บคั้นประชาชนให้ยอมรับตาม เช่น เวลาประชาชนเขาไปเรียกร้องสิทธิ ก็กลับมาหาว่าเขาคัดค้านโครงการ หรือคัดการปฏิบัติงานของรัฐแล้ วเอาเจ้าหน้าที่ตำรวจมาจับเขา ทั้งๆที่ประชาชนมีสิทธิตามรั ฐธรรมนูญ มีสิทธิโต้แย้ง มีสิทธิคัดค้าน มีสิทธิประท้วง มีสิทธิเรียกร้อง ผมว่ามันไม่เป็นธรรมสำหรั บประชาชนอย่างพวกเรา ก็ขอฝากรัฐบาลให้ใจกว้างขึ้นหน่ อย ยอมรับความคิดที่แตกต่ างของชาวบ้านบ้าง
ด้านนายมนัส ถำวาปี คณะกรรมการชาวบ้านผู้ได้รั บผลกระทบจากแนวสายส่งไฟฟ้าแรงสู ง กล่าวว่า
ที่ผ่านมารัฐบาลยังไม่ได้ให้ ความสำคัญกับเรื่องผลกระทบด้ านสิ่งแวดล้อมมากนัก เพราะแผนการพัฒนาของรัฐยังมุ่ งเก็งกำไร เอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ ประกอบการ เอื้อนายทุน หรือรัฐวิสาหกิจเป็นหลัก เช่น กรณีโครงข่ายไฟฟ้าแรงสูง 500 Kv ที่ผมได้รับผลกระทบอยู่ขณะนี้ ดังนั้น ผมจึงอยากเสนอให้รัฐบาลใหม่หั นมาสนับสนุนการใช้ทรั พยากรทางเลือกที่เรามีอยู่ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเราสามารถใช้ได้ตลอดชั่วลู กชั่วหลาน แม้ในระยะแรกอาจมีค่าใช้จ่ ายในการติดตั้งสูง แต่ต่อๆไปเราเพียงแต่มีภาระค่ าบำรุงรักษาเท่านั้น อีกทั้งยังไม่ได้สร้ างผลกระทบเหมือนโครงการพั ฒนาขนาดใหญ่อย่างที่รัฐได้ดำเนิ นการอยู่ในขณะนี้
ด้านนายสนั่น ชูสกุล ผู้อำนวยการโครงการทามมูล ได้ให้ความเห็นปิดท้ายว่า
จริงๆแล้วเราก็มองว่ านโยบายของรัฐบาลใหม่คงไม่ได้ต่ างกับนโยบายทักษิณในอดีต ที่เน้นเรื่องการจัดการ เรื่องทุน เรื่องฐานทรัพยากรที่มองว่าเป็ นทุน ก็คิดว่าช่วงต่อจากนี้คงเกิ ดความเครียดเพิ่มขึ้นกว่าเดิ มพอสมควร แต่ก็อาจจะเป็นการกระตุ้นให้ชุ มชนเกิดความตระหนัก เกิดความตื่นตัวที่จะลุกขึ้ นมาปกป้องทรัพยากรกันมาขึ้น
/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/- /-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/- /-/-/-/-/-
นายฐากูร สรวงศ์สิริ ศูนย์สื่อชุมชนเพื่อสังคมที่เป็ นธรรม (ศสธ.)
ตู้ปณ. 14 อ.เมือง จ.อุดรธานี 41000
โทร.087-0276344 อีเมล์ Dhonburi@hotmail.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น