วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เตรียมตั้งกองทุนศิลปินเพื่อชีวิต ร่าง..ระเบียบข้อบังคับกองทุน"ศิลปินเพื่อชีวิต ก.ศ.ช."

ท่านใดต้องการนำเสนอหรือแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม  พวกเรายินดีอย่างสูง

                                                                                        ด้วยเคารพ


                                                                                        ไก่   แมลงสาบ

+++++++++++++++++++++


photophotophotophotophotophoto






    ระเบียบข้อบังคับ
                                กองทุน  ศิลปินเพื่อชีวิต
                                             ---------------------------------------------
                                           
ข้อ 1.  กองทุนนี้ชื่อว่า  “     กองทุนศิลปินเพื่อชีวิต    “
           เรียกย่อว่า     “    ก.ศ.ช.   “
ข้อ 2.  เครื่องหมายของกองทุน   

 

ข้อ 3.  สำนักงานกองทุนตั้งอยู่ที่   บ้านเลขที่    ซอย                   ถนน                     แขวง
เขต                            กรุงเทพมหานคร     โทร.

ข้อ 4.  วัตถุประสงค์ของกองทุน  มีดังนี้

    1. เพื่อส่งเสริม  อนุรักษ์  รักษาวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามของชาติ 
    2. เพื่อส่งเสริมสร้างสรร  ศิลปและดนตรีเพื่อชีวิต  หรือแนวสร้างสรรสังคม
    3. เพื่อให้ความอนุเคราะห์  ช่วยเหลือแก่ศิลปินประเภทต่าง ๆ เช่น  นักร้อง นักดนตรี  นักเขียน  และนักจิตรกร     ตลอดจนผู้ซึ่งเคยทำคุณประโยชน์แก่สังคมบ้านเมือง  และต่อมาตกทุกข์ได้ยาก เจ็บป่วย หรือเสียชีวิต
    4. เพื่อให้ความอนุเคราะห์  ช่วยเหลือ  และบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชน กรณีเกิดเหตุภัยพิบัติต่าง ๆ  เช่น  น้ำท่วม  , เพลิงไหม้   เป็นต้น
ข้อ 5.  กองทุนอาจได้มาซึ่งทรัพย์สิน โดยวิธีดังนี้
    1. เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้มีจิตศรัทธาบริจาคให้
    2. เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้ยกให้โดยพินัยกรรมหรือนิติกรรมอื่น ๆ  โดยมิได้มีเงื่อนไขผูกพัน
            ให้กองทุนต้องรับผิดชอบในหนี้สินหรือภารติดพันอื่นใด
    1. ดอกผลซึ่งเกิดจากทรัพย์ของกองทุ
    2. รายได้อันเกิดจากการจัดกิจกรรม เพื่อหาทุนของกองทุน
ข้อ 6.  กองทุนดำเนินการโดยคณะกรรมการกองทุน   มีจำนวนไม่น้อยกว่า  7  คน   แต่ไม่เกิน  15 คน  มีตำแหน่งต่าง ๆ ดังนี้
    1. ประธานกรรมการ
    2. รองประธานกรรมการ
    3. เลขานุการ
    4. เหรัญญิก
    5. ปฏิคม
    6. กิจกรรม
    7. สวัสดิการ
    8. อื่น ๆ  (ถ้าจำเป็น)
ข้อ  7.  กรรมการกองทุนอยู่ในตำแหน่งคราวละ  2  ปี

ข้อ  8.  การเลือกตั้งคณะกรรมการกองทุน  ให้เลือกตั้งทุกตำแหน่ง  โดยให้ถือเสียงข้างมากของที่ประชุมสมาชิกกองทุน  เป็นมติ


ข้อ  9.  กรรมการกองทุนที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระ  อาจได้รับเลือกเข้ามาเป็นกรรมการกองทุนอีกก็ได้


ข้อ  10.  กรรมการของกองทุนต้องมีคุณสมบัติดังนี้

    1. มีอายุไม่ต่ำกว่า  20  ปี  บริบูรณ์
    2. ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย  หรือไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
    3. ไม่เป็นผู้ต้องคำพิพากษาให้จำคุก  เว้นแต่จะได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ  หรือคดีการเมือง
    4. ต้องเป็นสมาชิกของกองทุน
ข้อ 11.  กรรมการของกองทุน พ้นจากตำแหน่ง  ดังนี้
    1. ครบกำหนดตามวาระ
    2. ตายหรือลาออก
    3. ขาดคุณสมบัติตามข้อ  10.
    4. เป็นผู้มีความประพฤติและปฏิบัติตนเป็นที่เสื่อมเสียในทางศีลธรรม   และกรรมการกองทุนมีมติให้ออกโดยมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า สามในสี่ของคณะกรรมการกองทุน
ข้อ  12.  คณะกรรมการกองทุน มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินงานของกองทุน ตามวัตถุประสงค์และภายใต้ระเบียบข้อบังคับนี้  ให้มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
    1. ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของระเบียบข้อบังคับนี้  และตามมติที่ประชุมของคณะกรรมการกองทุน  หรือมติที่ประชุมสมาชิกกองทุน
    2. จัดการดูแล และควบคุมการเงินและทรัพย์สินต่าง ๆ ของกองทุน
    1. รายงานกิจการหรือการดำเนินงาน  รายงานการเงิน  และทำบัญชีรายรับ รายจ่ายต่อสมาชิก  หรือที่ประชุมของสมาชิก
    2. เชิญและแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้ที่มีความเหมาะสม เพื่อเป็นที่ปรึกษากองทุนได้ตามจำนวนที่เห็นสมควร
    3. แจ้งและรายงานข่าวสารต่าง ๆ  แก่สมาชิกของกองทุน
    4. ออกระเบียบข้อกำหนดต่าง ๆ เช่น   การสมัครเข้าเป็นสมาชิก  เป็นต้น

ข้อ 13.   ประธานคณะกรรมการกองทุนมีอำนาจหน้าที่  ดังนี้

    1. เป็นประธานของการประชุมคณะกรรมการกองทุน  หรือเป็นประธานที่ประชุมกองทุนหรือสมาชิก
    2. เรียกประชุมคณะกรรมการกองทุน หรือเรียกประชุมกองทุนหรือสมาชิ
    3. เป็นผู้แทนของกองทุนในการติดต่อกับบุคคลภายนอก  หรือลงลายมือชื่อในหนังสือหรือเอกสารต่าง ๆ อันเป็นหลักฐานของกองทุน
    4. ปฏิบัติการอื่น ๆ  ตามข้อบังคับ  และตามมติของคณะกรรมการหรือมติที่ประชุมกองทุนหรือสมาชิก
ข้อ  14.  ให้รองประธานกรรมการกองทุน  ทำหน้าที่แทนประธานกรรมการกองทุน  เมื่อประธานไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้  หรือในกรณีที่ประธานมอบหมายให้ทำการแทน

ข้อ 15.  หากประธานและรองประธานกรรมการกองทุน ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ในการประชุมคราวหนึ่งคราวใดได้  ให้ที่ประชุมเลือกตั้งกรรมการกองทุนคนใดคนหนึ่ง เป็นประธานสำหรับการประชุมคราวนั้น


ข้อ 16.   เลขานุการกองทุนมีหน้าที่ควบคุมกิจการ และดำเนินงานประจำของกองทุน     ติดต่อประสานงานทั่วไป รักษาระเบียบข้อบังคับของกองทุน   นัดประชุมกรรมการตามคำสั่งของประธานกรรมการกองทุน และทำรายงานการประชุม  ตลอดจนรายงานกิจการของกองทุน


ข้อ 17.  เหรัญญิกมีหน้าที่ควบคุมการเงิน  ทรัพย์สินของกองทุน   ตลอดจนจัดทำบัญชีให้ถูกต้องตามหลักทางบัญชี  และให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกองทุนกำหนดขึ้น (ถ้ามี)   ตลอดจนเก็บรักษาเอกสารหลักฐานสำคัญทางการเงิน


ข้อ 18.  ปฏิคมมีหน้าที่ติดต่อประสานงาน  ให้การต้อนรับ  แจ้งรับแจ้ง  และรับทราบข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ จากสมาชิก


ข้อ 19.   สวัสดิการมีหน้าที่ดูแลรักษาวัสดุอุปกรณ์ เครื่องใช้ ต่าง ๆ  อันเป็นทรัพย์สินของกองทุน   และอำนวยความสะดวกต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการกองทุน   หรือของสมาชิกของกองทุน  เมื่อมีการประชุมหรือมีกิจกรรมต่าง ๆ 


ข้อ 20.  สมาชิกกองทุน ต้องมีคุณสมบัติดังนี้

    1. ต้องเป็นบุคคลที่มีอายุตั้งแต่  20  ปี  ขึ้นไป
    2. ไม่เป็นบุคคลที่มีความประพฤติเสื่อมเสียทางศีลธรรม
    3. เป็นผู้ที่มีจิตใจเสียสละ และต้องการช่วยเหลือสังคมบ้านเมือง
    4. มีความเต็มใจที่จะชำระค่าสมาชิก จำนวน   100.-บาท (หนึ่งร้อยบาท) ต่อปี
ข้อ  21.  การประชุม   แบ่งออกเป็นดังนี้
    1. การประชุมคณะกรรมการกองทุน
    2. การประชุมสมาชิกกองทุน
ข้อ  22.  คณะกรรมการกองทุนจะต้องจัดให้มีการประชุมสามัญประจำปี  ทุกปีๆละหนึ่งครั้ง ภายในเดือนพฤศจิกายน  ของทุกปี    ทั้งนี้  เพื่อรับรองผลการดำเนินงานและรายรับรายจ่ายที่ได้ใช้ไปในแต่ละปี  ว่าถูกต้อง   และจัดเตรียมแจ้งหรือรายงานให้แก่สมาชิกทราบต่อไป
             การประชุมทุกครั้ง ต้องมีกรรมการกองทุนเข้าประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมดจึงถือเป็นองค์ประชุม

ข้อ 23.    คณะกรรมการกองทุนต้องจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการกองทุน เป็นประจำเดือน  อย่างน้อยหนึ่งเดือนต่อครั้ง

              ในการประชุมทุกครั้งจะต้องมีหนังสือกำหนดวาระการประชุมแจ้งให้แก่กรรมการกองทุนแต่ละคนได้ทราบล่วงหน้าก่อนเข้าประชุมไม่น้อยกว่า  3  วัน
              อย่างไรก็ตาม   กรณีประธานกรรมการกองทุนเห็นความจำเป็น   หรือเมื่อมีกรรมการกองทุนอย่างน้อย   2  คน  แสดงความประสงค์ไปยังประธานกรรมการกองทุนหรือผู้ทำการแทน  ขอให้มีการประชุม    ก็ให้เรียกประชุมวิสามัญได้

ข้อ  24.  มติของที่ประชุมคณะกรรมการกองทุน   ให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นมติของที่ประชุม


ข้อ  25.   การประชุมสมาชิกกองทุนทุกครั้ง  ต้องมีสมาชิกกองทุนเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่า หนึ่งในสามของสมาชิกกองทุนทั้งหมด  จึงถือเป็นองค์ประชุม    


ข้อ  26.  คณะกรรมการกองทุนต้องจัดให้มีการประชุมสามัญสมาชิกกองทุนประจำปี  ทุกปีๆละหนึ่งครั้ง  ภายในเดือนธันวาคม  ของทุกปี    ทั้งนี้ เพื่อรับทราบรายงานผลการดำเนินงาน  และการชี้แจงเกี่ยวกับรายการใช้จ่ายเงิน รายรับรายจ่าย จากคณะกรรมการกองทุน และมีมติรับรองความถูกต้องต่อไป  และ/หรือเลือกตั้งกรรมการ


ข้อ  27.   กรณีประธานคณะกรรมการกองทุนเห็นความจำเป็น  หรือสมาชิกไม่น้อยกว่า สิบคนเข้าชื่อร่วมกันทำหนังสือแสดงให้เห็นความจำเป็นและความประสงค์ให้จัดประชุมสมาชิกกองทุนขึ้น ตามวาระที่ได้กำหนด ต่อประธานคณะกรรมการกองทุน   หรือผู้ทำการแทน   ก็ให้ประธานคณะกรรมการกองทุนเรียกประชุมได้  การประชุมเช่นนี้  เรียกว่า  การประชุมวิสามัญสมาชิกกองทุน


ข้อ  28.    มติของที่ประชุมสมาชิกกองทุน ทุกครั้ง     ให้ถือเอาเสียงข้างมากของผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมดเป็นมติที่ประชุม


ข้อ  29.   เงินสดของกองทุน ต้องนำเข้าฝากไว้กับธนาคารพาณิชย์       แล้วแต่คณะกรรมการกองทุนจะเห็นสมควร

                อำนาจการสั่งจ่ายหรือถอนเงิน   จะต้องมีการลงลายมือชื่อร่วมกันของประธานคณะกรรมการกองทุน   ,  เลขานุการ  และเหรัญญิก  รวม  3  คน ทุกครั้ง   จึงจะดำเนินการได้

ข้อ  30.   ที่ปรึกษากองทุนที่ได้รับเชิญหรือแต่งตั้งขึ้น  ตามข้อ 12.4  เมื่อได้เข้าประชุมตามหนังสือเชิญประชุม  ให้มีหน้าที่ให้คำปรึกษา   หรือข้อเสนอแนะ  แก่คณะกรรมการกองทุน ในที่ประชุมได้   แต่มิได้มีสิทธิลงคะแนนเสียงหรือมติใด ๆในที่ประชุม


ข้อ  31.  ระเบียบข้อบังคับนี้  กำหนดรอบระยะเวลาทางบัญชี  เริ่มตั้งแต่  วันที่  1  มกราคม  ถึง วันที่  31  ธันวาคม   ของทุกปี


ข้อ  32.   การแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบข้อบังคับนี้  จะกระทำได้โดยเฉพาะในที่ประชุมสมาชิกกองทุนเท่านั้น    และในที่ประชุม  พึงต้องมีสมาชิกเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมด  และมติในการให้แก้ไขเพิ่มเติมระเบียบข้อบังคับ  ต้องประกอบด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของสมาชิกที่เข้าร่วมประชุม


ข้อ  33.  การสิ้นสุดของกองทุน  หรือเลิกกองทุน  ให้เป็นไปตามมติของที่ประชุมสมาชิกกองทุน  ที่มีสมาชิกเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่า  สามในสี่ของสมาชิกทั้งหมด    และมติดังกล่าวต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของสมาชิกที่เข้าร่วมประชุมทั้งหมด


ข้อ   34.   กองทุนนี้  ได้เริ่มจัดตั้งขึ้น เมื่อวันที่    14   ตุลาคม  2545  โดยมีคณะกรรมการกองทุนผู้เริ่มก่อการ   และได้ทำหน้าที่รักษาการชั่วคราว  และจะมีการเลือกตั้งคณะกรรมการกองทุน คณะแรกเพื่อเข้าดำเนินงานตามระเบียบข้อบังคับนี้   ภายในเดือน…………….25...   ดังนี้

    1.   ประธานคณะกรรมการ  
    2.   รองประธานกรรมการ                                                                                                      
    3. เลขานุการ
    4. เหรัญญิก
    5. ปฏิคม
    6. สวัสดิการ
    7. กิจกรรม
                   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สุเวศน์ ภู่ระหงษ์ ศิลปินประชาชน

เรื่องที่น่าสนใจของกลุ่มศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน

ความเห็นต่อ กลุ่มศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน