วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554

คาราวะทองนาค เสวกจินดา

เห็นนักต่อสู้ ถูกเข่นฆ่า  ทำท่า จะหมดแรง
ที่คนดี ถูกกลั่นแกล้ง  ใจแสลง จนป่นปี้

วีระชน คนกล้า   ทองนาค เสวกจินดา ผู้ยอมพลี
เลือดเนื้อ ชีวิตนี้   ด้วยศักดิ์ศรี ของชุมชน

      ขอน้อม คาราวะ   วิญญาณจะ กล้าเกิดผล
      นักสู้ ประชาชน   เขาคือคน ของแผ่นดิน

วีรกรรม ในครั้งนี้   ผองชีวี ได้ดื่มกิน
ดิ่งด่ำ ทั่วผืนถิ่น   ปลุกชีวิน   ผู้เกรียงไกร
ดิ่งด่ำ ทั่วผืนถิ่น   ปลุกชีวิน   กล้าเกรียงไกร
ดิ่งด่ำ ทั่วผืนถิ่น   ปลุกชีวิน   สู้เกรียงไกร


                      คาราวะนักสู้ผู้กล้า
                                                ไก่   แมลงสาบ


วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

ฟังรายการ "ฅ.คอเพลงเพื่อชีวิต"20 กย.2554

            ฟังรายการ "ฅ.คอเพลงเพื่อชีวิต" 20 ก.ย.2554 ทางคลื่นศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน สถานีวิทยุชุมชนบ้านห้วยขวาง FM 98.10 MHz ดำเนินรายการโดย คุณสรัญญา อรรคราช

วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2554

เปิดรายงานกรรมการสิทธิ์ฯ ชะตากรรมชาวบ้านแหง ! ใต้อุ้งมือนักการเมือง

โดย  พวงทิพย์ กลิ่นจันทร์

รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร  แถลงนโยบายของรัฐบาลอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่  23 สิงหาคม 2554 ที่ผ่านมา หนึ่งในนโยบายรัฐบาล “ปู 1”  แถลงคือ การเร่งรัดสำรวจและแสวงหาแหล่งแร่สำคัญเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และพัฒนาอุตสาหกรรมต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มโดยให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชน  ซึ่งถูกบรรจุอยู่ใน นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ในส่วนของภาคอุตสาหกรรม
ในขณะที่หน่วยงานโดยตรงที่รับผิดชอบโดยตรงในการทำเหมืองแร่ อย่างกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.)  ได้เปิดแผนยุทธศาสตร์กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ประจำปีงบประมาณ  2554-2557  พร้อมทั้ง มอบรางวัล “เหมืองแร่สีเขียว” ให้กับผู้ประกอบการที่เข้าข่ายตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงอุตสาหกรรม กว่า 42 เจ้าของธุรกิจแร่
 ทั้งแผนยุทธศาสตร์ และ โครงการเหมืองแร่สีเขียว ทีชูขึ้นเป็น แผนโฆษณาประชาสัมพันธ์ แบบ “ฉบับปิดตาข้างเดียว”    แทบไม่เอ่ยถึง ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชาวบ้านในพื้นที่มีเกือบ 50 พื้นที่ทั่วประเทศ  แต่ตรงกันข้ามกลับถูกยกเป็นประเด็นนำเสนอในแผนพัฒนาดังกล่าว ที่ระบุว่า เป็นปัจจัยที่เป็น”อุปสรรค”  ต่อการดำเนินงาน เพราะมองว่า “บทบาทของเองค์กรพัฒนาเอกชน ในการคัดค้านการพัฒนาอุตสาหกรรมแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐาน ส่งผลกระทบต่อบทบาทของกรมในการบริหารจัดการแร่ภายในประเทศ”
ใน “สายตา” ของรัฐ จึงไม่มีพื้นที่ ไว้สำหรับชาวบ้าน  ไม่ได้ยินเสียงร้องของผลกระทบที่เกิดขึ้นกับคนที่อยู่ในแต่ละพื้นที่ในการทำเหมืองแร่  ตั้งแต่การติดกระดุมเม็ดแรก อย่างการเริ่มต้นขอประทานบัตร  ที่สร้างความขัดแย้งของคนในชุมชน ความเดือดร้อนจากผลกระทบที่อยู่ระหว่างการประกอบกิจการเหมืองแร่ หรือ หลังจากเลิกกิจการแล้วทิ้ง “ซาก” อุตสาหกรรรมอันตราย เอาไว้ให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้ดูต่างหน้า  
ทรัพยากรแร่ ที่ควรจะเป็นของ “ประชาชน”ทุกคน กลับถูกใช้วาทกรรมว่าเป็นของ”รัฐ”  ที่พร้อม จะเสนอให้นักธุรกิจการเมือง และนายทุนข้ามชาติได้ตลอดเวลา 
 เปิดผลสอบ อนุกรรมการสิทธิ์ 
 มีรายงานว่า   คณะอนุกรรมการสิทธิชุมชนและฐานทรัพยากร ได้เสนอผลการตรวจสอบ  การละเมิดสิทธิมนุษยชน กรณีคัดค้าน การเปิดกิจการเหมืองแร่ลิกไนต์ ต.บ้านแหง อ.งาว จ.ลำปาง  ภายหลังจากมีการร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตามคำร้องที่ ๕๓๓/๒๕๕๑ ลงวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๑  ที่ระบุว่ากลุ่มนายทุนได้เข้ามากว้านซื้อที่ดินทำกินของชาวบ้าน บริเวณหมู่ที่ ๑ และหมู่ที่ ๗ ต.บ้านแหง อ.งาว จ.ลำปาง จำนวนกว่า ๑,๐๐๐ ไร่
  โดยกลุ่มนายทุนได้เสนอซื้อในราคาที่ถูกโดยอ้างว่าที่ดินทำกินดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นที่จับจองทำกินไม่มีเอกสารสิทธิใด ๆ หากไม่ขายให้ก็จะถูกข่มขู่ จึงจำใจต้องขายไป ทั้ง ๆ ที่พื้นที่ทำกินดังกล่าวได้ใช้ทำกินมาหลายชั่วอายุคนแล้ว
ทั้งนี้จากการตรวจสอบของอนุกรรมการฯ ดังกล่าว พบว่า    มีการกระทำที่เอื้อประโยชน์ต่อพวกพ้องในกรณีการอนุญาตให้สัมปทานสำรวจและทำเหมืองแร่ถ่านหินบ้านแหงเหนือ ของบริษัท เขียวเหลือง จำกัด โดยมีลำดับเหตุการณ์สำคัญ  ตามข้อมูลในรายงานดังกล่าวดังนี้คือ  
๒ มิถุนายน ๒๕๕๑         กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมต.อนงค์วรรณ เทพสุทิน) ทำหนังสือถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีให้พิจารณายกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาแหล่งถ่านหิน ๔ ฉบับ คือเมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๓๑  วันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๓๓  วันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๓๕  และวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๔๔  โดยยังคงสงวนพื้นที่แหล่งถ่านหินแอ่งเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ และแอ่งสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยพัฒนาเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าต่อไป เพื่อกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะได้ดำเนินการประกาศยกเลิกเขตสำหรับดำเนินการสำรวจ การทดลอง การศึกษาหรือการวิจัยเกี่ยวกับแร่ถ่านหิน (ลิกไนต์)
ตามความในมาตรา ๖ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๑๐ และจะได้นำพื้นที่แหล่งถ่านหินในเขตสำหรับดำเนินการสำรวจ การทดลอง การศึกษาหรือการวิจัยเกี่ยวกับแร่ ๘ พื้นที่ คือ แหล่งถ่านหินแอ่งเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี  แอ่งสินปุน จังหวัดนครศรีธรรมราช  แอ่งเชียงม่วน จังหวัดพะเยา  แอ่งงาว แอ่งวังเหนือ แอ่งแจ้ห่ม-เมืองปาน แอ่งแม่ทะ และแอ่งเสริมงาม จังหวัดลำปาง ไปเปิดประมูลให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนสำรวจและทำเหมืองแร่ถ่านหินมาใช้ประโยชน์เป็นพลังงานทดแทนเพื่อช่วยแก้ปัญหาวิกฤติพลังงานของประเทศ ต่อไป
๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๑       บริษัท เขียวเหลือง จำกัด  ได้ทำการจดทะเบียน ประเภทบริษัทจำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน ๓๐ ล้านบาท วัตถุประสงค์ตามที่ได้จดทะเบียนไว้คือประกอบกิจการป่าไม้ การทำไม้ ปลูกสวนป่า   ซึ่งประธานบริษัท คือ นายเรืองศักดิ์ งามสมภาค อดีตอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม และเป็นผู้เคยถูกเสนอชื่อให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขแทนนายมานิต นพอมรบดี ที่ลาออกจากตำแหน่งไปเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2553 ที่ผ่านมา
 ปัจจุบัน “นายเรืองศักดิ์”  เป็นรองเลขาธิการพรรคภูมิใจไทยคนที่หนึ่ง ซึ่งเป็นคนใกล้ชิดกับอดีตนักการเมืองที่เป็นสามีของนางอนงค์วรรณ เทพสุทิน รมต.ทส. ที่ออกประกาศกระทรวงฯ  “ปลดล็อค”  มาตรา ๖ ทวิ ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.๒๕๑๐ เพื่อนำแหล่งแร่ถ่านหิน ๘ พื้นที่ ไปเปิดประมูลให้เอกชน
๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๑       คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาแหล่งถ่านหินรวม ๔ มติ คือมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๓๑ (เรื่องมติคณะกรรมการนโยบายพลังงาน แห่งชาติ ครั้งที่ ๓/๒๕๓๑ ครั้งที่ ๑๑) วันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๓๓ (เรื่อง ผลการสำรวจถ่านหินแอ่งงาว แจ้ห่ม-เมืองปาน เชียงม่วนและเสริมงาม) วันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๓๕ (เรื่อง การพัฒนาถ่านหินแอ่งเวียงแหง) และวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๔๔ [เรื่อง มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ครั้งที่ ๔/๒๕๔๔ (ครั้งที่ ๘๕)] โดยยังคงสงวนพื้นที่แหล่งแร่ถ่านหินแอ่งเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ และแอ่งสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยพัฒนาเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าต่อไป เพื่อกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะได้ดำเนินการประกาศยกเลิกเขตสำหรับดำเนินการสำรวจ การทดลอง การศึกษาหรือการวิจัยเกี่ยวกับแร่ถ่านหิน (ลิกไนต์)
ตามความในมาตรา ๖ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๑๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติมต่อไป และจะได้นำพื้นที่แหล่งถ่านหินในเขตสำหรับดำเนินการสำรวจ การทดลอง การศึกษาหรือการวิจัยเกี่ยวกับแร่ ๘ พื้นที่ คือ แหล่งถ่านหินแอ่งเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี  แอ่งสินปุน จังหวัดนครศรีธรรมราช  แอ่งเชียงม่วน จังหวัดพะเยา  แอ่งงาว แอ่งวังเหนือ แอ่งแจ้ห่ม-เมืองปาน แอ่งแม่ทะ และแอ่งเสริมงาม จังหวัดลำปาง ไปเปิดประมูลให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนสำรวจและทำเหมืองแร่ถ่านหินมาใช้ประโยชน์เป็นพลังงานทดแทนเพื่อช่วยแก้ปัญหาวิกฤติพลังงานของประเทศ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอต่อไป
๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๑       กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมต.อนงค์วรรณ เทพสุทิน) ออกประกาศกระทรวงทรัพยา กรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ยกเลิกเขตสำหรับดำเนินการสำรวจ การทดลอง การศึกษา หรือการวิจัยเกี่ยวกับแร่ ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับลงวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๑  เนื่องด้วยบัดนี้ทางราชการได้ดำเนินการสำรวจแร่ในพื้นที่ดังกล่าวบางส่วนเสร็จสิ้นแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่ดังกล่าวเพื่อการสำรวจ การทดลอง การศึกษา หรือการวิจัยเกี่ยวกับแร่อีกต่อไป จึงประกาศให้ยกเลิกเขตสำหรับดำเนินการสำรวจ การทดลอง การศึกษา หรือการวิจัยเกี่ยวกับแร่ในท้องที่ต่าง ๆ ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับลงวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๑ ดังต่อไปนี้
๑) เขตท้องที่อำเภอทุ่งช้าง อำเภอเชียงกลาง อำเภอปัว อำเภอท่าวังผา และอำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน เนื้อที่ ๖๗๓ ตารางกิโลเมตร
๒) เขตท้องที่อำเภอเชียงคำ และอำเภอปง จังหวัดพะเยา เนื้อที่ ๕๒๙ ตารางกิโลเมตร
๓) เขตท้องที่อำเภอปง และอำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา และอำเภอสอง จังหวัดแพร่ เนื้อที่ ๑๘๒ ตารางกิโลเมตร
๔) เขตท้องที่อำเภองาว เนื้อที่ ๑๙๕ ตารางกิโลเมตร
๕) เขตท้องที่อำเภอวังเหนือ และอำเภอแจ้ห่ม เนื้อที่ ๓๓๒ ตารางกิโลเมตร
๖) เขตท้องที่กิ่งอำเภอเมืองปาน อำเภอแจ้ห่ม และอำเภอเมืองลำปาง เนื้อที่ ๕๐๐ ตารางกิโลเมตร
๗) เขตท้องที่อำเภอเมืองลำปาง อำเภอแม่ทะ และอำเภอเกาะคา เนื้อที่ ๗๘๓ ตารางกิโลเมตร
๘) เขตท้องที่อำเภอห้างฉัตร อำเภอเกาะคา และอำเภอเสริมงาม เนื้อที่ ๒๐๕ ตารางกิโลเมตร   
๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๑     หนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ ๐๕๐๕/๙๒๘๗ ลงวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๑  แจ้งว่าคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๑  ตามที่ รมต.ทส. เสนอ
ทั้งนี้ในรายงานดังกล่าว ได้ตั้งข้อสังเกตที่สำคัญว่า  ณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๑ แต่หนังสือจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีด่วนที่สุด ที่ ๐๕๐๕/๙๒๘๗ แจ้งมายังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๑ จึงมีข้อสงสัยว่า รมต.ทส. ได้ทำการประกาศกระทรวงฯ เรื่องยกเลิกเขตสำหรับดำเนินการสำรวจ การทดลอง การศึกษา หรือการวิจัยเกี่ยวกับแร่ ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๑ ก่อนที่หนังสือจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะมาถึง รมต.ทส. ได้อย่างไร
คณะอนุกรรมการสิทธิชุมชนฯ มีความเห็นว่าการเร่งรีบออกประกาศกระทรวงฯ ดังกล่าว ของ รมต. ทส. ก่อนหนังสือจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะมาถึงเป็นการกระทำที่เอื้อประโยชน์ให้กับพวกพ้อง .

วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

รายงานสถานการณ์ ชาวลำปางฮือต้าน! หมกเม็ดประทานบัตรเหมืองถ่านหินลิกไนต์ หวั่นซ้ำรอยแม่เมาะ

ศาลากลางจังหวัดลำปาง/ 20 กันยายน 2554 (รายงานเวลา 15.00 น.)



วันนี้(20 กันยายน 2554) เวลาประมาณ 10 .00 น. ประชาชนจากพื้นที่ขอประทานบัตรเหมืองแร่ถ่านหินลิกไนต์ ของบริษัทเขียวเหลือง จำกัด จาก ต.บ้านแหง อ.งาว จ.ลำปาง และชาวบ้านจาก ต.แจ้คอน อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง กว่า 700 คนในนามกลุ่มรักษ์บ้านแหงและเครือข่าย เดินทางด้วยรถยนต์เป็นขบวนยาวไปตามถนนสู่ตัวเมืองลำปางเพื่อเดินทางเข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เพื่อเรียกร้องเปิดเผยข้อเท็จจริงกรณีโครงการเหมืองแร่ถ่านหินลิกไนต์ในจังหวัดลำปาง

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่าในเวลาต่อมาประมาณ 12.00 น.ได้มีชาวบ้านจากพื้นที่โครงการเหมืองแร่เหล็ก ต.แม่ถอด อ.เถิน จ.ลำปาง และพื้นที่โครงการสำรวจแร่เหล็กและทองคำ อ.วังชิน จ.แพร่ ซึ่งเป็นเขตรอยต่อกับแหล่งแร่เหล็ก อ.เถิน จ.ลำปาง เดินทางมาสมทบอีกประมาณ 700 คน ทำให้หน้าศาลากลางจังหวัดลำปางมีประชาชนจากพื้นที่เหมืองแร่มารวมตัวกันอยู่อย่างแน่นขนัด และเรียกร้องให้ผู้ว่าราชการจังหวัดลงมาพบเพื่อเจรจาแต่ไม่มีใครลงมาพบทำให้ชาวบ้านพากันฮือขึ้นไปบนศาลากลางจนเต็มเพื่อดักคอยพบผู้ว่าฯ ที่หน้าห้องทำงานจนกระทั้งเวลาประมาณ 12.00 น. นายสุวรรณ กล่าวสุนทร รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปางมาพบเจรจากับกลุ่มผู้ชุมนุมโดยได้ยื่นข้อเสนอให้ยกเลิกกระบวนการประทานบัตรโครงการเหมืองแร่ในจังหวัดลำปางที่ดำเนินการอยู่ การชุมนุมยืดเยื้อมาจนกระทั้งเวลา 15.00 น.การเจรจายังไม่เป็นผล และกลุ่มผู้ชุมนุมยังยึดศาลากลางต่อรองขอเจรจากับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป

นางแววรินทร์ บัวเงิน สมาชิกกลุ่มรักษ์บ้านแหง เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่าสืบเนื่องจากในช่วงกว่าหนึ่งปีที่ผ่านมาที่ชาวบ้านในพื้นที่โครงการเหมืองแร่ถ่านหินลิกไนต์ในเขต ต.บ้านแหง อ.งาว และ ต.แจ้คอน อ.แจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นเขตรอยต่อกับพื้นที่เหมืองถ่านหินลิกไนต์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยคือเหมืองแม่เมาะ เมื่อได้ทราบจากประกาศของอุตสาหกรรมจังหวัดลำปาง ที่ปิดประกาศว่า บริษัท เขียวเหลือง จำกัด ได้ยื่นขอประทานบัตรทำเหมืองแร่ตั้งแต่ปี 2553 รวมพื้นที่ประมาณ 1,300 ซึ่งทับซ้อนกับที่ทำกินของชาวบ้านหลายราย และยังเป็นพื้นที่ต้นน้ำทางทิศเหนือของชุมชน ทั้งนี้บริษัทอ้างว่าได้ทำประทำประชาคมหมู่บ้านและชาวบ้านเห็นด้วยกับการพัฒนานาเหมืองแร่ลิกไนต์ดังกล่าว ทำให้ชาวบ้านเริ่มแตกตื่น อีกทั้งบริษัทประชาสัมพันธ์ว่ากำลังจะได้ประทานบัตรแล้ว ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วประชาชนในทั้งสองตำบลนั้นไม่รับทราบข้อมูลใด ๆ เลย จึงได้เริ่มรวมตัวกันและเข้ายื่นหนังสือยังหน่วยงานต่างๆ เพื่อขอทราบข้อเท็จจริงทั้งระดับตำบล อำเภอ และจังหวัดหลายครั้ง แต่ไม่มีหน่วยงานใดออกมาชี้แจ้ข้อมูลแต่อย่างใด ทั้งนี้เมื่อตรวจสอบสำเนาการประชาคมฉบับดังกล่าวพบว่าเป็นการทำประชาคมเท็จมีการปลอมแปลงลายมือชื่อของชาวบ้านหลายคน อีกทั้งระบุว่าในรายงานการไต่สวนเขตประทานบัตรที่เป็นเท็จว่าพื้นที่ทำเหมืองไม่มีทางน้ำสาธารณะไหลผ่าน อีกทั้งระบุว่าเป็นพื้นที่ที่สามารถปิดกั้นย้ายทางสาธารณะประโยชน์ออกจากพื้นที่เหมืองแร่ได้ทั้งที่เส้นทางดังกล่าวเป็นเส้นทางสัญจรของชาวบ้านหลายตำบล ดังนั้นกลางปีที่ผ่านมาชาวบ้านจึงมีการเรียกร้องให้เริ่มต้นกระบวนการทำประคมใหม่ อีกทั้งเริ่มต้นกระบวนการรังหวัดปักหมุด และการไต่สวนคำขอประทานบัตรใหม่ อีกทั้งให้มีการลงโทษทางวินัยข้าราชการที่ทำกระบวนการประทานบัตรเหมืองแร่อันฉ้อฉลนี้

นอกจากนี้นางแววริน ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าในการเคลื่อนไหวของชาวบ้านในปีที่ผ่านมาทั้งในระดับอำเภอ และจังหวัดได้มีการทำบันทึกข้อตกลงอย่างเป็นทางการระหว่างจังหวัดกับชาวบ้านว่าจะยุติกระบวนการประทานบัตรอันเป็นเท็จที่ผ่านมาไว้ก่อน แต่เวลาผ่านไปแรมปียังไม่มีการดำเนินการใด ๆ อีกทั้งเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2554 ที่ผ่านมาพนักงานของบริษัทเขียวเหลือง จำกัด ได้เข้ามาในพื้นที่เพื่อดำเนินการรังวัดปักหมุดเขตเหมืองแร่เพิ่มเติม ชาวบ้านจึงรู้สึกเป็นกังวลจึงได้เชิญตัวพนักงานบริษัทดังกล่าวไปที่ทำการผู้ใหญ่บ้านและขอให้ชี้แจงเหตุผลและขอดูหนังสือแจ้งนำการรังวัดดังกล่าวอย่างเป็นทางการกับชาวบ้าน แต่ปรากฏว่าไม่มีหนังสือใด ๆ ชาวบ้านจึงต่อรองให้ผู้จัดการบริษัทฯ และฝ่ายเจ้าหน้าที่อุตสาหกรรมจังหวัดลงมาชี้แจงว่าการรังวัดโดยเอกชนทำได้หรือไม่ แต่ไม่มีใครลงมาชี้แจงข้อมูลอะไรแม้การเจรจาจะยืดยื้อหลายชั่วโมงจนดึกแต่ไม่ใครมาชี้แจงเหตุผลใด ๆ ต่อมาในวันที่ 18กันยายน 2554ที่ผ่านมาชาวบ้านจำนวนหนึ่งได้รับหมายศาลเพื่อเรียกให้ไปไต่สวนมูลฟ้อง เพราะบริษัทได้ฟ้องร้องดำเนินคดีกับแกนนำชาวบ้านข้อหากักขังหน่วงเหนี่ยว และทำร้ายร่างกาย และฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านว่าละเลยการปฏิบัติหน้าที่ ทำให้เมื่อวานนี้ (วันที่ 19 กันยายน 2554) ชาวบ้านกว่า 400 คนเดินทางไปชุมนุมและยื่นหนังสือต่อนายอำเภองาวให้มาชี้แจงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น แต่ไม่เป็นผลชาวบ้านคอยอยู่ตลอดทั้งวันก็ไม่มีใครมาเจรจาจนที่สุดชาวบ้านก็แยกย้ายกันกลับบ้านและนัดรวมตัวกันอีกครั้งในวันนี้ ทั้งนี้ได้ประสานเชิญชวนชาวบ้านจากพื้นที่โครงการเหมืองแร่เหล็ก ของบริษัทยุพินวัฒนาธุรกิจ จำกัด ต.แม่ถอด อ.เถิน จ.ลำปาง และพื้นที่แหล่งแร่ทำคำ อ.วังชิ้น จ.แพร่ ซึ่งกำลังประสบปัญหาสับสนเรื่องกระบวนการขอประทานบัตรเหมืองแร่ที่เป็นเท็จเช่นกัน
"เราต้องการเจรจาให้ทางจังหวัดลำปาง และ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ชี้แจงรายละเอียดทั้งหมดเกี่ยวกับกระบวนการขอประทานบัตรเหมืองแร่หมกเม็ดในเขตจังหวัดลำปาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีเรื่องเหมืองแร่ถ่านหินลิกไนต์ เพราะคนลำปางมีประสบการณ์อันเลวร้าย มีผู้ป่วยจำนวนมากจากโรคระบบทางเดินหายใจ และมีหลายหมู่บ้านต้องย้ายหมู่บ้านเพราะได้รับผลกระทบจากเหมืองแร่ถ่านหินลิกไนต์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยที่เหมืองแม่เมาะ พวกเราไม่อยากมีชะตากรรมอย่างคนรอบเหมืองแม่เมาะ" นางแววรินทร์กล่าว

ด้านนางกุลรัศมิ์ บุญมา สมาชิกกลุ่มคนรักแม่ถอด กล่าวว่า ปัญหาเรื่องเหมืองแร่ในจังหวัดลำปางไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่พื้นที่ทำเหมืองแร่ซึ่งมีตัวแทนชาวบ้านมารวมตัวกันในวันนี้เป็นพื้นที่ใหม่ ที่ยังไม่ทำเหมืองแร่แต่บริษัทเอกชนกำลังยื่นขอประทานบัตร เช่น ที่ ต.แม่ถอด อ.เถิน นั้นเป็นพื้นที่ที่บริษัทยุพินวัฒนาธุรกิจ จำกัด ยื่นขอประทานบัตรทำเหมืองแร่เหล็กในพื้นที่ต้นน้ำแม่ถอด ใกล้กับอุทยานแห่งชาติแม่จางและเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีถ้ำหินปูนที่สวยงามหลายแห่ง การทำเหมืองเหล็กในพื้นที่ดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชาวบ้านในพื้นที่ที่ทำนาข้าวอยู่ริมน้ำแม่ถอดอย่างแน่นอน แต่กระบวนการขอประทานบัตรกลับเป็นกระบวนการที่หมกเม็ด และเป็นเท็จ เช่น มีการทำประชาคมเท็จปลอมรายชื่อชาวบ้าน ขาดการมีส่วนร่วมชาวบ้านแม่ถอดจึงมีกระบวนการติดตามข้อมูลและรับรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ในจังหวัดลำปางจึงได้เดินทางมาร่วมชุมนุมในวันนี้เพื่อเรียกร้องให้ยกเลิกกระบวนการที่หลอกลวงในการขอประทานบัตรเหมืองแร่ที่ผ่าน ตัวแทนกลุ่มคนรักแม่ถอดกล่าว
ทั้งนี้แหล่งข่าวจากศาลากลางจังหวัดลำปางเปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า บริษัทเขียวเหลือง จำกัด ที่ยื่นขอประทานบัตรเหมืองแร่ถ่านหินลิกไนต์ ที่ อ.งาว นั้นเป็นบริษัทของนักการเมืองระดับชาติพรรคหนึ่ง ส่วนบริษัทยุพินวัฒนาธุรกิจ จำกัด ที่ขอประทานบัตรเหมืองแร่เหล็ก ที่ ต.แม่ถอด ก็เป็นของนักการเมืองพรรคใหญ่ในขณะนี้ ทำให้มักจะมีกระบวนการเร่งรัดขอประทานบัตรในทั้งสองกรณีจนเป็นเหตุทำให้ประชาชนในพื้นที่เห็นว่าเป็นกระบวนการที่ให้ข้อมูลที่เป็นเท็จจนเกิดความสับสนและเป็นเหตุให้มีการเคลื่อนไหวในวันนี้ แหล่งข่าวกล่าว

ศูนย์สื่อชุมชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 042-224382

ตู้ ปณ. 14 อ.เมือง จ.อุดรธานี 41000

เครือข่าย “ไม่เอานิวเคลียร์” เปิดเวทีให้ข้อมูลคนอุดรฯ ชี้แผนพัฒนาพลังงานไม่เป็นธรรม

อุดรธานี : วันนี้ (7 ก.ย.) เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุมคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี ศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติภาพภาคอีสาน และศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมืองสถาบันพระปกเกล้า จ.อุดรธานี ร่วมกับองค์กรเครือข่าย ได้แก่ Mekong School Alummi เครือข่ายพลังงานเพื่อนิเวศแม่น้ำโขง(Mee Net) , เครือข่ายพลังงานทางเลือกเพื่ออนาคต , เครือข่ายคนไทยไม่เอาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และเครือข่ายทรัพยากรธรรมและสิ่งแวดล้อมอีสาน จัดเวทีเสวนา “สถานการณ์ปัญหาพลังงานนิวเคลียร์และทางออกสู่การพัฒนาพลังงานทางเลือกในสังคมไทย” โดยได้รับความสนใจจากนักศึกษา กลุ่มชาวบ้าน และผู้สนใจทั่วไป จำนวนกว่า 100 คน ร่วมรับฟังและแลกเปลี่ยนข้อมูล

โดยนายสันติ โชคชัยชำนาญกิจ กลุ่มศึกษาพลังงานทางเลือกเพื่ออนาคต ได้อภิปรายให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันสังคมไทยมีความไม่เป็นธรรมเกิดขึ้นในแผนพัฒนาด้านพลังงาน (PDP) มีโครงสร้างที่ขัดแย้งกันเองอยู่ ด้านหนึ่งเกิดแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี โดยมีเป้าหมายเพื่อลดการใช้ไฟฟ้าในประเทศ แต่อีกด้านหนึ่งภาครัฐโดยเฉพาะ กฟผ. ยังแสดงท่าทีในการเป็นผู้ค้าไฟฟ้าขาย เช่น แผนในการซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน สร้างภาระในการแบกรับต้นทุนที่ไม่จำเป็นของประชาชน

“พลังงานไฟฟ้าที่ใช้กัน ไม่ได้ตกอยู่ที่ประชาชนคนส่วนใหญ่ของประเทศ แต่กลับอยู่ที่ ภาคอุตสาหกรรม ถึงร้อยละ 47.33 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือ ภาคธุรกิจ ร้อยละ 25.69 เปอร์เซ็นต์ ส่วนภาคที่อยู่อาศัยครัวเรือน ใช้ไฟทั้งประเทศเพียงร้อยละ 21.17 เปอร์เซ็นต์” นายสันติกล่าว

นายสันติ ยังกล่าวอีกว่า จากข้อเท็จจริงไฟฟ้าที่ซื้อเข้ามารองรับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในประเทศทั้งสิ้น จึงเกิดคำถามสำคัญขึ้นว่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่กำลังที่จะเกิดขึ้นในประเทศ ผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อคนส่วนใหญ่ของประเทศ หรือเพื่อรองรับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่กำลังจะเกิดขึ้น ที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าในการผลิตค่อนข้างสูง

“โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเหมืองแร่โปแตสที่กำลังจะเกิดขึ้น ในพื้นที่ จ.อุดรธานีเอง และมีแนวโน้มว่าเหมืองแร่โปแตสที่จะเกิดขึ้นแห่งนี้ จะเป็นแหล่งกักเก็บกากนิวเคลียร์ที่จะเกิดขึ้นจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ด้วยเช่นกัน” นายสันติกล่าว

นายสันติ ยังได้นำเสนอผลกระทบจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ว่า การรั่วไหลของสารกัมมันตรังสี ของโรงไฟฟ้าฟุคุชิมะ ประเทศญี่ปุ่น และการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีจากกากนิวเคลียร์ที่เก็บไว้ ใต้เหมืองแร่โปแตสอัซเซ ประเทศเยอรมันนี ซึ่งทั้งสองกรณีส่งผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมและชุมชน ที่อยู่โดยรอบรัศมีแพร่กระจายอย่างกว้างขวาง

“ปัญหาจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เกิดขึ้นกับทั้งสองประเทศ ซึ่งถือว่าประเทศที่เจริญแล้ว มีมาตรการเตรียมรับมือกับปัญหาอย่างเป็นระบบ ผู้คนมีระเบียบวินัย และกฎหมายที่มีธรรมาภิบาล แต่ก็พบว่าไม่สามารถจัดการกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ และยังมีการปกปิดข้อมูล ข่าวสาร แล้วถ้าประเทศไทยจะเป็นอย่างไร” นายสันติกล่าว

ด้านนายบุญเลี้ยง โยทะกา ชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากแนวสายส่งไฟฟ้าแรงสูงน้ำพอง2-อุดรธานี3 ได้เข้าร่วมเวทีในวันนี้ เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า โดยแท้จริงแล้วชาวบ้านเองไม่ได้ต้องการโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ ไม่ว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เขื่อน เหมืองแร่ หรือแม้แต่แนวสายส่งไฟฟ้าแรงสูง ซึ่งทั้งหมดต่างเอื้อประโยชน์ให้กับภาคอุตสาหกรรม แต่ส่งผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม

“รัฐควรส่งเสริมพลังงานทางเลือก เช่น พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานชีวมวล ที่มีความยั่งยืน สะอาดปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ซึ่งปัจจุบันในหลายประเทศก็มีการสนับสนุนอย่างจริงจัง และเห็นผลแล้ว” นายบุญเลี้ยงกล่าว

/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/

นายณัฐวุฒิ กรมภักดี ศูนย์สื่อชุมชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ศสธ.)

ตู้ปณ.14 อ.เมือง จ.อุดรธานี 41000

เบอร์โทรศัพท์ 081-0472466 E-mail : boy_alone17@hotmail.com

วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

น้ำ อัญชลี อิสมันยี กับการร้องเพลงประกอบภาพยนตร์ แม่นาค 3D

         เมื่อน้ำ คีตาญชลี หรือ อัญชลี อิสมันยี ได้รับโอกาสดีๆ กับการได้ร้องเพลงประกอบภาพยนตร์ เรื่อง "แม่นาค 3D" ซึ่งมีกำหนดเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ในวันที่ 6 ตุลาคม 2554 นี้


       ก่อนที่จะึถึงวันฉาย ในช่วงเวลานี้ จะเริ่มมีการประชาสัมพันธ์ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกตามสื่อต่างๆมากขึ้น แน่นอนว่า เพลง "เอ่อ เออ เฮ่อ เอ่ย (คอย)" เพลงประกอบภาพยนตร์ แม่นาค 3D จะถูกเผยแพร่ในช่วงเวลาี้นี้ด้วย และนี่คือ มิวสิควิดีโอ เพลงประกอบภาพยนตร์ แม่นาค 3D ที่ำนำมาฝากกัน ซึ่งใน MV นี้ จะได้เห็นน้ำ คีตาญชลี ร้องเพลงนี้ด้วย

      


MV แม่นาค 3D (Official)
     เอ่อ เออ เฮ่อ เอ่ย (คอย) เพลงประกอบภาพยนตร์ แม่นาค 3D คำร้อง-ดนตรี มารุต นพรัตน์ ขับร้อง อัญชลี อิสมันยี บรรเลง สีหยด WAIT theme song from the movie Mae Nak ...

เดินเท้า ปักธงเขียว เส้นทางภาคใต้ เดิน ไปกับศิลปินพิทักษ์ถิ่นอาหารโลก ชุมพร สู่สตูล

      กลุ่มศิลปินใต้แสงหวัน....เปิดรับสมัคร คนหนุ่มสาวลูกหลานชาวใต้ ร่วมเดินเท้าปักธงเขียว เกี่ยวก้อยกันบรรเลง เพลงพิทักษ์ปักษ์ใต้
เริ่มเดิน กลางเดือนกุมภา ปีหน้าครับ (พ.ศ.2555)
เดินวันละ 30 โล ประมาณ 30 วัน

ภิญโญ ด้ามขวาน แสง ธรรมดา
ตุด นาคอน ไข่ มาลีฮวนน่า จ๊อบ ทูดู
 ราษฎร พิมพ์นิยม ลาคู จุก ซูซู ใต้สวรรค์




จากชุมพร...ปะทิว ละแม
สู่สุราษฎร์...ท่าชนะ ไชยา เมือง กาญจนดิษฐ์ ดอนสัก
สู่นครศรี...ขนอม สิชล ท่าศาลา เมือง ปากพนัง หัวไทร
สู่สงขลา...ระโนด สทิงพระ สิงหนคร หาดใหญ่ คูหา
ปลายทางสตูล...ปากบารา ประมาณ 700 กิโลเมตร


วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

ขอเชิญร่วมเวทีเสวนา กรณีการเลิกจ้างผู้นำ สร.รฟท.

คณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย
มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท

ขอเชิญเข้าร่วมการเสวนา เรื่อง
สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองของสหภาพแรงงาน
กรณี การเลิกจ้างผู้นำสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย


วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน 2554 เวลา 09.30-12.40 น.
ณ ห้อง 709 สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

09.00-09.30        ลงทะเบียน
09.30-09.40        กล่าวต้อนรับและชี้แจงวัตถุประสงค์ โดยคณะผู้จัดงาน
09.40-10.15        เสรีภาพในการสมาคม การเจรจาต่อรองร่วม และการนัดหยุดงาน หลักการสากลและบทเรียนจากต่างประเทศ* คุณ ทิม เดอ เมเยอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรฐานแรงงาน จากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ
10.30-12.00        การเสวนา เรื่อง มุมมองต่อการใช้สิทธิเสรีภาพของสหภาพแรงงานรถไฟความชอบธรรมในบริบทสังคมไทย?                  ประเด็น ข้อมูลกรณีศึกษาโดยสรุป
                                   ภาพรวมกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
                       วิเคราะห์ความชอบธรรม
                      ข้อเสนอแนะต่อการจัดการกับกรณีศึกษาและการแก้ไขปัญหาในระยะยาว
            ผู้ร่วมเสวนา
                       .. นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
                       คุณบัณฑิตย์ ธนชัยเศรษฐวุฒิ มูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน
                       รศ. มาลี พฤกษ์พงศาวลี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
                       ศาสตราภิชาน แล ดิลกวิทยรัตน์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
                       คุณสมชาย หอมลออ กรรมการปฏิรูปกฎหมาย
                       รศ.ดร.สุธี ประศาสน์เศรษฐ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
            ดำเนินรายการโดย คุณศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา นักวิชาการแรงงาน
12.00-12.30        อภิปรายทั่วไป
12.30-12.40        สรุปและปิดการประชุม / ร่วมรับประทานอาหาร
* มีล่ามแปล

SSN ธุรกิจเครือข่าย บนคลื่น3.9G ของ TOT



SSN =  Samart Smart Network
เป็นบริษัทพันธมิตรของ บจม.สามารถ คอเปอร์เรชั่น 
ทำการตลาดเเบบ Network Marketing
 
เครือข่ายคลื่นมือถือนี้่ เปิดตัวต้นเดือน สิงหาคม 2554 นี้
ใช้ระบบ 3.9G ซึ่ง เป็นการก้าวกระโดดในช่วงที่คนไทยเสียโอกาศ การใช้เทคโนโลยี่ 3Gในหลายปีที่ผ่านมา

ข่าวดีคือประเทศไทยมีเทคโนโลยี่นี้ใช้พร้อมกับประเทศญี่ปุ่น และ ไต้หวัน
ระบบ3.9G มีจุดเเข็งมากมาย

นิยามของ 3.9Gมีดังนี้
3G หรือ 3.9G?
3.9G เป็นชื่อเล่นที่มักใช้เรียกเทคโนโลยี LTE (ITU นิยามเพียง 1G, 2G, 3G เท่านั้น ส่วน 4G นิยามแล้วแต่ยังไม่มีเทคโนโลยีที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ)
แต่ที่ พ.อ. นที อ้าง 3.9G น่าจะหมายถึงเทคโนโลยี HSPA+ มากกว่า แต่ต้องดูที่ใบอนุญาตว่าสาระระบุอย่างไร ในเบื้องต้นระบุว่า

1. เป็นเทคโนโลยี IMT หรือ 3G and beyond (ผู้ให้บริการสามารถเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมได้)
2. ต้องความเร็ว downlink ขั้นต่ำที่ 512 kbps (HSDPA ขึ้นไป)
3. ใช้ความถี่ย่าน 2.1GHz (ยังไม่มีอุปกรณ์ LTE ที่ย่านนี้)
4. พ.อ. นที ระบุว่าความเร็วสูงสุดถึง 42Mbps (ตรงกับสเปคของ HSPA+)


หรือถ้าสรุปง่าย ๆ คือ

เราสามารถเรียกมันว่า 3.9 generation -  Long-Term Evolution

โดยเป็นเทคโนโลยี ยุคที่ 3.9 ของโทรศัพท์ มันจะรวมเอา 3 จี เข้ากับ จีพีอาร์เอส ทำให้มีความเร็วมาก

ขึ้นและรองรับการใช้งานทีมากกว่าเดิม มีแบนวิดกว้างขึ้น ส่งข้อมูล ได้ทีละมากขึ้น

มัน ใกล้เคียงกับ 4 จีมาก
ลองดูระบบ เกี่ยวกับ G ทั้งหลายนะครับ

2G = GSM
2.5G = GPRS
2.75G = EDGE
Then moving onto 3G systems:
3G = WCDMA, R99
3.5G = HSDPA
3.75G = HSUPA
3.8G = HSPA+ (HSPA Enhancements)
3.85G = 'HSPA+' + MIMO
3.9G = LTE
4G = NOT WiMAX


ถ้า ดูจริง ๆ 3.9 จี ก็ไวกว่า 3 จี อย่างน้อยประมาณ 20 เท่า ครับ ซึ่งสาเหตุที่ไม่กระโดดไป 4G
นั้นเป็นเพราะ 3.9G นั้นอัพเกรดได้ง่ายกว่าและมีความพร้อมในเชิงพาณิชย์มากกว่าครับ


1.ระบบ 3.9G เเรงและเร็วกว่า 3G  มาก เปรียบเทียบ 

ระบบ 3G ดาวน์โหลดที่ 7.2 Mb/s (โหลดภาพยนต์เสร็จใน 60 นาที )   
ความเเรงคลื่น
   850  MHz  เสียงเเบบโมโน  

ระบบ 3.9G ดาวน์โหลดที่ 42 Mb/s   (โหลดภาพยนต์ เสร็จใน 10 นาที ) 
ความแแรงคลื่น 
2100 MHz  เสียงแบบสเตอริโอ 


กรุณาสังเกตุมุมบนซ้ายมือของ ไอแพดทั้ง 2 เครื่องสำหรับผู้ให้บริการ
หมายเหตุ (ไอแพดทั้ง 2 เครื่องเสปค เดียวกัน , test พร้อมกันและวางเครื่องข้างกัน ตามภาพ แต่เป็นคนละ sim )



2. SSN ความคุัมค่าเหมาะสำหรับผู้บริโภคเเท้จริง คือ    

          
Package1. ค่าใช้จ่ายรายเดือน 499 บาท     100PV      
         
          โทรในเครือข่ายฟรี 24 ช่ัวโมง

          โทรต่างเครือข่าย 499 นาที  ส่วนเกินนาทีละ 50สต.      

         โทรเห็นหน้ากันได้ฟรี 300 นาที  ส่วนเกินนาทีละ1บาท          

         และ เล่นเน็ทได้ฟรี 499 MB  ส่านเกินนาทีละ 50 สต.

Package2. ค่าใช้จ่ายรายเดือน 999 บาท     200PV      
         
          โทรในเครือข่ายฟรี 24 ช่ัวโมง
          โทรต่างเครือข่าย 999 นาที  ส่วนเกินนาทีละ 50สต.      
         โทรเห็นหน้ากันได้ฟรี 300 นาที  ส่วนเกินนาทีละ1บาท          
         และ เล่นเน็ทได้ฟรี 999 MB  ส่านเกินนาทีละ 50 สต.

Package3. ค่าใช้จ่ายรายเดือน 1499 บาท     300PV      
         
          โทรในเครือข่ายฟรี 24 ช่ัวโมง
          โทรต่างเครือข่าย 1499 นาที  ส่วนเกินนาทีละ 50สต.      
         โทรเห็นหน้ากันได้ฟรี 300 นาที  ส่วนเกินนาทีละ1บาท          
         และ เล่นเน็ทได้ฟรี 1499 MB  ส่านเกินนาทีละ 50 สต.

Package4. เน้นการใช้ Internet อย่างเดียว  (รอข้อมูล)    
         
          

 3.สามารถใช้เครื่องเดิมที่เป็น 3G ได้ รวมถึงเครื่องSmart Phone  ( ยกเว้นเครื่องCDMA )


ขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
กลุ่มศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน  081-405 7233


""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""




โครงการ 1 ชุมชน/ตำบล
1 ศูนย์ขยายงาน
 
ซิม 3.9G (TOT) กับ SSN
โดยจะร่วมสร้างผังองค์กร
รองรับรายได้ 6 หลัก ภายใน 3 เดือน
(รายได้สูงสุด เดือนละ 4 ล้านบาท) 
 
SSN - Smart Social Network
 
เป็นบริษัทพันธมิตรของ บริษัท สามารถ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
ทำการตลาดแบบ Network Marketing เครือข่ายคลื่นมือถือในระบบ 3.9G ของ TOT
ซึ่งเป็นการก้าวกระโดดของเทคโนโลยีในช่วงที่คนไทยเสียโอกาสในการใช้ 3G ในหลายปีที่ผ่านมา


ประเทศไทย เป็นประเทศท้ายๆ ของเอเชียที่จะได้ใช้ระบบ 3G แต่ตอนนี้ประเทศไทย เป็นประเทศที่ 4 ในอาเซียน และประเทศที่ 24 ของโลกที่จะได้ใช้ระบบ 3.9G

TOT ได้รับสิทธิในคลื่นความถี่โทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G เป็นรายแรกและรายเดียวที่เป็น 3G ของแท้ 
โดยใช้คลื่นความถี่ที่เป็นมาตรฐานสากล 2100 MHz. ของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ITU
(International Telecommunication Union) โดยทีโอทีเลือกใช้เทคโนโลยี HSPA+(High Speed Packet Access Plus) 
หรือระบบ 3.9G  ด้วยความเร็วสูงสุด 42 Mbps.

บริษัทสามารถ สมาร์ท เน็ทเวิร์คส์ จำกัด คือ "หนึ่งเดียว" ที่ได้รับความไว้วางใจจาก ไอโมบายพลัส 
โดย SAMART ให้ SSN เป็นผู้ทำการตลาด ในรูปแบบธุรกิจเครือข่ายที่สามารถเปลี่ยนรายจ่ายค่าโทรศัพท์ ของสมาชิก ให้กลับมาเป็นรายรับดยแผนธุรกิจที่ทำง่าย ส่งเสริมให้ทุกท่านสามารถประสบความสำเร็จและสร้างรายได้อย่างงดงาม.
 


  • แผนผัง
  1. 1
  2. 2
  3. 3

โปรโมชั่นสุดคุ้ม !!

Package 1 
ค่าบริการรายเดือน 499 บาท
  • โทรในเครือข่ายฟรี 24 ชั่วโมง
  • โทรต่างเครือข่าย 499 นาที (ส่วนเกิน นาทีละ 50 สต.)
  • โทรเห็นหน้ากันได้ฟรี 300 นาที (ส่วนเกิน นาทีละ 1 บาท)
  • เล่นเน็ตได้ฟรี 499 mb (ส่วนเกิน นาทีละ 20 สต.)

Package 2
ค่าบริการรายเดือน 999 บาท 
  • โทรในเครือข่ายฟรี 24 ชั่วโมง
  • โทรต่างเครือข่าย 999 นาที (ส่วนเกิน นาทีละ 50 สต.)
  • โทรเห็นหน้ากันได้ฟรี 300 นาที (ส่วนเกิน นาทีละ 1 บาท)
  • เล่นเน็ตได้ฟรี 999 mb (ส่วนเกิน นาทีละ 20 สต.)

Package 3
ค่าบริการรายเดือน 1,499 บาท 
  • โทรในเครือข่ายฟรี 24 ชั่วโมง
  • โทรต่างเครือข่าย 1,499 นาที (ส่วนเกิน นาทีละ 50 สต.)
  • โทรเห็นหน้ากันได้ฟรี 300 นาที (ส่วนเกิน นาทีละ 1 บาท)
  • เล่นเน็ตได้ฟรี 1,499 mb (ส่วนเกิน นาทีละ 20 สต.)

*ค่าโทรคิดเป็นวินาทีตามใช้งานจริง ไม่ปัดเศษเป็นนาที

สามารถย้ายค่ายมา โดยใช้เบอร์เดิมได้ ไม่จำเป็นต้องเปิดเบอร์ใหม่
ไม่ต้องคอยเติมเงิน เพราะเป็นระบบ post-paid
 


ข้อความ 3

แนวทางการตั้งศูนย์ประสานงาน SSN ทั่วประเทศ

1. สมัครขอจองเป็นศูนย์ประสานงาน ตำบล /อำเภอ /หรือจังหวัด 

2. มีสถานที่เหมาะสม สะดวกสำหรับบริการสมาชิกได้ทุกสายงาน

3. มีเงินลงทุนครั้งแรกชุดสมัคร 50/100/หรือ 200  ชุด 

4. การเปิดเลขหมายครั้งแรกเป็นระบบบัตรเติมเงิน และจัดทำเอกสารให้ถูกต้องเรียบร้อยขอเปิดเป็นรายเดือนในเดือนถัดไป เสร็จไม่เกิน 3 เดือน

5. ต้อง Activate Sim  ภายใน 2 เดือน (เปิดเลขหมายใช้งาน)

6. ต้องมีการดำเนินงานด้านธุรการ พร้อมอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และพนักงานที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ ใช้อินเทอร์เน็ตได้ 

7. สามารถปฏิบัติตามนโยบาย กฏระเบียบต่างๆของบริษัท SSN ทุกประการ

8. มีศักยภาพ มีทัศนคติที่ถูกต้อง ความคิดดี มีเหตุผล ต้องเรียนรู้ เข้าใจ ธุรกิจเครือข่าย การสร้างเครือข่ายเป็นอย่างดี 

9.สมาชิกมีสิทธิขอเปิดจองได้ 1 แห่งเท่านั้น 

10.สิทธิจองพื้นที่ต้องมีที่อยู่ตามทะเบียบบ้าน หรือ มีสถานที่ทำงานที่พื้นที่ขอจองและมีหนังสือรับรองจากหน่วยงาน

11.ต้องเข้ารับการอบรมการบริหารศูนย์ประสานงานที่บริษัทเมื่อได้รับการแต่งตั้งเป็นศูนย์ประสานงานถาวร                                       



ติดต่อร้าน SSN
ขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
กลุ่มศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน  081-405 7233

สุเวศน์ ภู่ระหงษ์ ศิลปินประชาชน

เรื่องที่น่าสนใจของกลุ่มศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน

ความเห็นต่อ กลุ่มศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน