วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เรื่องค่าตัวของดารา-ศิลปินกับน้ำใจคนไทย ในคอนเสิร์ตแสงดาวแห่งศรัทธา แด่ หมอสงวน นิตยารัมภ์พงศ์ 25 ก.ย.2553


            ในการจัดคอนเสิร์ตครั้งหนึ่ง มีค่าใช้จ่ายมากมาย คิดแค่เฉพาะค่าตัวของศิลปิน ดารานักร้องแต่ละคน ยิ่งมีชื่อเสียงมากเท่าไหร่ ค่าตัวก็สูงขึ้นเท่านั้น ยิ่งเป็นงานที่มีดารานักร้อง ศิลปินหลายคนมารวมกัน ก็ยิ่งต้องจ่ายค่าตัวเป็นจำนวนเงินที่เพิ่มมากขึ้น


            ในคอนเสิร์ตแสงดาวแห่งศรัทธาที่จะจัดขึ้นในวันที่ 25 กันยายน 2553 นี้ที่หอประชุมใหญ่ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เป็นคอนเสิร์ตการกุศลที่จะมีศิลปินนักร้องหลายคนขึ้นเวที อาทิ จอย ศิริลักษณ์,  พี่หงา คาราวาน, พี่ปู พงษ์สิทธิ์, พี่โจ นูโว ฯลฯ


            หากคิดเฉพาะค่าตัวดารานักแสดงที่มีชื่อเสียงอย่าง จอย ศิริลักษณ์ ค่าตัวหลักแสนบาท และศิลปินคนอื่นๆอีกล่ะ แต่เนื่องจากคอนเสิร์ตนี้เป็นคอนเสิร์ตการกุศล ผู้จัดงานและองค์กรที่ร่วมสนับสนุน เป็นองค์กรที่ทำงานเพื่อสาธารณะประโยชน์ต่อสังคม        ไม่มีเงินทุนมากมายเหมือนบริษัทธุรกิจค่ายเพลงที่สามารถทุ่ม งบประมาณจัดคอนเสิร์ตได้อย่างยิ่งใหญ่อลังการได้เต็มที่


            หลังจากการประชุมเตรียมงาน ทำความเข้าใจกันในรายละเอียดต่างๆ ก้ได้เห็นน้ำใจของดารา ศิลปินที่จะร่วมงานในครั้งนี้ ทุกคนจะได้รับค่าตอบแทนเท่ากัน (จำนวนหลักหมื่นบาทตามที่ตกลงกันในที่ประชุม ซึ่งจะเป็นอัตราค่าตอบแทนที่ใช้เฉพาะในคอนเสิร์ตครั้งนี้เท่านั้น ) ซึ่งศิลปินทุกคนเต็มใจร่วมงานในคอนเสิร์ตครั้งนี้ เพื่อคนดีของสังคม "คุณหมอสงวน นิตยารัมภ์พงศ์"





            สำหรับเพลงที่จะนำมาขับร้องในคอนเสิร์ต มีบทเพลงที่ถูกทำดนตรีใหม่ เพื่อคอนเสิร์ตในครั้งนี้ โดยเฉพาะ ได้นักประพันธ์ดนตรีชั้นครู อย่าง อ.ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี ซึ่งค่าใช้จ่ายในการทำเพลงหนึ่งๆ หลักหมื่นบาท ทางผู้จัดงานต้องเจรจาขอความอนุเคราะห์ และ อ.ธนิสร์ ได้แสดงน้ำใจ คิดค่าใช้จ่ายในการทำเพลงครั้งนี้ในราคาพิเศษ


            ศิลปินเพื่อชีวิตบางท่าน ประสบปัญหาทางการเงิน การขึ้นเวทีร้องเพลง ก็สมควรที่จะได้ค่าตอบแทนเต็มจำนวนที่ควรจะได้รับ แต่สำหรับในคอนเสิร์ตครั้งนี้ ศิลปินท่านนั้นบอกว่า "ก็แล้วแต่ทางผู้จัดละกัน" ไม่ได้ติดใจเรื่องค่าตัว เท่าไหร่ก็ได้ แต่จะร้อง-เล่นดนตรีให้อย่างเต็มที่


            นี่คือน้ำใจของคนไทย จากศิลปิน ดาราที่จะร่วมในงานคอนเสิร์ตแสงดาวแห่งศรัทธา คอนเสิร์ตการกุศลที่ทุกคนมาร่วมงานกันด้วยหัวใจและใจ.....





            นายแพทย์สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2495 เป็นลูกคนสุดท้องจากพี่น้องทั้งหมด 6 คนในครอบครัวชาวจีนในกรุงเทพมหานคร ศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จากนั้นศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาที่คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล


            ระหว่างที่เรียนมหาวิทยาลัย นพ.สงวนเป็นนักกิจกรรม ได้ออกค่ายในช่วงก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลา พ.ศ. 2516 ซึ่งทำให้ได้พบประสบการณ์ที่ไม่เคยประสบมาก่อน นอกจากกิจกรรมออกค่ายแล้ว จากนิสัยรักการอ่าน ยังเป็นบรรณาธิการหนังสือ "มหิดลสาร" ของมหาวิทยาลัยอีกด้วย หนังสือที่เขาชอบอ่านคือ วารสารสังคมปริทัศน์ เศรษฐศาสตร์ชาวบ้าน และ หนังสือพิมพ์มหาราช


            หลังจากเรียนจบในปี พ.ศ. 2520 ซึ่งเป็นช่วงเวลาหลังเหตุการณ์ 6 ตุลา พ.ศ. 2519 บรรยากาศความตื่นตัวของนักศึกษามีอยู่ทั่วไป นักศึกษาด้านการแพทย์จบใหม่ล้วนมีความสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม และอยากไปทำงานชนบท นพ.สงวนก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น จึงเข้าทำงานที่โรงพยาบาลวชิระ กรุงเทพมหานคร อยู่ 1 ปี ก่อนจะออกไปเป็นแพทย์ชนบท ที่ อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ อยู่ 5 ปี


            ก่อนเสียชีวิต นพ.สงวน ป่วยด้วยโรคมะเร็งปอด และมีอาการทรุดหนักด้วยอาการน้ำท่วมปอดและไตไม่ทำงานหนึ่งสัปดาห์ก่อนเสีย ชีวิต ก่อนจะเสียชีวิตเมื่อเวลาประมาณ 16.15 น. ของวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2551 ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี ด้วยอายุ 56 ปี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สุเวศน์ ภู่ระหงษ์ ศิลปินประชาชน

เรื่องที่น่าสนใจของกลุ่มศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน

ความเห็นต่อ กลุ่มศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน