ประวัติ นพ.สงวน และที่มาของมูลนิธิมิตรภาพบำบัด
- นายแพทย์สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ จบการศึกษาแพทยศาสตร์บัณฑิต คณะ
เคยได้รับรางวัล
- แพทย์ดีเด่นในชนบท คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ.2527
- รางวัลแพทย์ผู้ทำประโยชน์ต่อสั
งคม “ทุนสมเด็จพระวันรัต” ประจำปี 2544 จากแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย
นายแพทย์สงวน เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปอด เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2551 ได้มีโอกาสทำงานเป็นแพทย์ใช้ทุนในพื้นที่ทุรกันดารครั้งแรกที่ รพ.ราศีไศล จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดที่ยากจนที่สุดในประเทศไทยในขณะนั้น ทำให้ได้สัมผัสกับชีวิตชาวบ้านในชนบท ที่ต้องอยู่กับความยากจน และขาดโอกาสในหลายด้าน โดยเฉพาะด้านสุขภาพ จึงเกิดแรงบันดาลใจว่าจะพยายามทำทุกสิ่งทุกอย่าง เพื่อให้คนที่ขาดโอกาสมีโอกาสเข้าถึงบริการด้านสุขภาพทัดเทียมผู้อื่น ซึ่งจะเห็นได้จากการทำงานตลอดชีวิตของคุณหมอสงวน ไม่ว่าจะเป็นการทำงานเรื่องของการปฏิรูประบบบริการสาธารณสุข ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสหภาพยุโรป หรือการทำงานในตำแหน่งต่างๆทางราชการ ท่านจะยึดมั่นในอุดมการณ์ที่ได้ตั้งใจไว้มาโดยตลอด คือ มีเป้าหมายอยู่ที่ประชาชนต้องได้รับประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้ยังได้ร่วมกับทุกภาคส่วนในการผลักดัน พรบ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นผลให้เกิดสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และท่านได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติคนแรก ทำให้ท่านได้มีโอกาสทำในสิ่งที่วาดฝันไว้ว่า ต้องการเห็นคนไทยทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันด้านการรักษาพยาบาล แม้ในขณะที่ท่านป่วยด้วยโรคมะเร็งปอด ต้องต่อสู้กับความเจ็บป่วย ท่านก็ยังไม่หยุดนิ่ง ยังคงผลักดันให้ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังได้รับการรักษาบริการทดแทน จากการที่ท่านเป็นผู้ป่วยเอง และได้อยู่ในแวดวงของผู้ป่วยทำให้รับรู้ถึงความรู้สึก ของทั้งผู้ป่วย ครอบครัว ญาติ และบุคคลรอบข้างว่ามีความวิตกกังวลต้องการกำลังใจ จึงได้มีแนวคิดการทำงานในเรื่องของมิตรภาพบำบัด เพื่อนช่วยเพื่อน และได้ปรารภในวาระสุดท้ายของชีวิต ว่าต้องการให้เกิดกองทุน หรือมูลนิธิมิตรภาพบำบัดขึ้นเพื่อช่วยเหลือ เยียวยาผู้ป่วยทั้งด้านสังคมและจิตใจ จึงเป็นที่มาของการตั้งมูลนิธิมิตรภาพบำบัด (กองทุนนายแทพย์สงวน นิตยารัมภ์พงศ์) และได้จดทะเบียนมูลนิธิเมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๑ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. ส่งเสริมและดำเนินการกิจกรรมมิตรภาพบำบัดเพื่อนช่วยเพื่อน ให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิต เอื้ออาทรต่อกันในครอบครัวและสังคม
2. ส่งเสริม และเชิดชูเครือข่าย องค์กร อาสาสมัคร ที่ทำงานมิตรภาพบำบัด เพื่อนช่วยเพื่อน
3. สนับสนุนกิจกรรมเพื่อสาธารณะ และรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกั 4. ส่งเสริมและฝึกอบรมให้เกิดผู้มีความรู้ความชำนาญ ในการบริหารจัดการเพื่อสร้าง ทีมงานมิตรภาพบำบัด ที่อยู่บนฐานของความรู้ทั้งในและต่างประเทศ
5. สนับสนุนทุน/รางวัล แก่ผู้ดำเนินงานด้านมิตรภาพบำบัดดีเด่น หรือบุคคล ผู้มีจิตอาสาดีเด่น
6. ดำเนินการเพื่อสาธารณประโยชน์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น