วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

เพลงมันอยู่ที่หัวใจ บทเพลงในงานกีฬาคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ ๒๙ เมืองชลเกมส์ 23-27 มกราคม 2554

          23 มกราคม 2554 มีพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาคนพิการแห่งชาติ "เมืองชลเกมส์" ในเวลา 16.30 -18.00 น. ซึ่งในการแข่งขันครั้งนี้ ไก่ แมลงสาบ ได้แต่งเพลง "มันอยู่ที่หัวใจ" มอบให้แก่นักกีฬาคนพิการในครั้งนี้ด้วย  ซึ่งสามารถคลิกฟังและดาวน์โหลดผ่านโทรศัพท์มือถือได้แล้ววันนี้...




         เพลงมันอยู่ที่หัวใจ / วัลลภ  พลเสน


 - มันอยู่ที่หัวใจ   โลกสดใสถ้าได้สู้
  สร้างศรัทธาให้เคียงคู่  เปิดประตูสู่เส้นชัย


- มุ่งก้าวไปให้ถึง  ความลึกซึ้งคือจุดหมาย
   สู่รากฐานกีฬาไทย  ความจริงใจไปในเกมส์


* เมืองชลเกมส์   เกมส์แห่งมิตรภาพ 
   สมานฉันท์ภาพ  ตราบจนชีพวาย


** เมืองชลเกมส์   เกมส์แห่งมิตรภาพ
      สมานฉันท์ภาพ  ทาบทาตึงตาใจ


- เมืองชลเกมส์   เมืองชลเกมส์
   เมืองชลเกมส์   เมืองชลเกมส์


Solo



(ซ้ำทั้งหมด)


)
  • โหลดเพลง : มันอยู่ที่หัวใจ(เมืองชลเกมส์กีฬาคนพิการ)

  • ศิลปิน : วัลลภ พลเสน
  • บริการ :Truetone
  • โดย : Music Online

โหลดเพลง มันอยู่ที่หัวใจ(เมืองชลเกมส์กีฬาคนพิการ) ผ่านมือถือ (IVR)

*488881770721002
  • 1. กด *48888
  • 2. ตามด้วยรหัส 1770721002
  • 3. โทรออก
ตั้งค่า GPRS มือถือของคุณโทร. AIS 1175, DTAC 1678, True Move 1331
*ใช้ได้กับมือถือทุกระบบ ยกเว้น Hutch

โหลดเพลง มันอยู่ที่หัวใจ(เมืองชลเกมส์กีฬาคนพิการ) ผ่านมือถือ (WAP)

m.sanook.com/d/177072
  • 1. เข้า Menu เลือกหมวด Web หรือ Internet ในมือถือของคุณ
  • 2. เข้า Go to address แล้วกดเลือก
  • 3. พิมพ์:m.sanook.com/d/177072
  • 4. กด ดาวน์โหลด
สอบถามโทร. 02-833-3030
เวลา 9.00 - 17.00 น. วันจันทร์ - ศุกร์

โหลดเพลง มันอยู่ที่หัวใจ(เมืองชลเกมส์กีฬาคนพิการ) ผ่าน WEB






+++++
ประวัติความเป็นมาการแข่งขันกีฬาคนพิการแห่งประเทศไทย



            หลังการแข่งขันกีฬาในระดับต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศ จะมีการจัดการแข่งขันกีฬาคนพิการต่อเนื่องกันไป และมีการเผยแพร่ข่าวคราวความสำเร็จของนักกีฬาคนพิการจากชาติต่างๆ รวมทั้งนักกีฬาไทย ให้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายพอสมควร แต่กว่าที่จะมาถึงวันนี้ เส้นทางของการจัดการแข่งขันกีฬาผู้พิการมีหนทางที่ยาวไกลและอุปสรรคมิใช่น้อย



            จุดเริ่มต้นของการจัดการแข่งขันกีฬาคนพิการในประเทศไทยนั้น ได้เริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2518 โดยศาสตราจารย์ นายแพทย์บุญสม มาร์ติน อธิบดีกรมพลศึกษาในสมัยนั้น ได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยฯ ให้จัดการแข่งขันกีฬาคนพิการชนิดต่างๆ โดยจัดการแข่งขัน ณ บริเวณสนามกีฬาแห่งชาติ มีนักกีฬาคนพิการเข้าร่วมการแข่งขัน 191 คน ใน 4 ชนิดกีฬา คือ ว่ายน้ำ กรีฑา เทเบิลเทนนิส และยิงธนู

           แต่แล้วการจัดการแข่งขันก็ไม่สามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง ต้องงดการจัดการแข่งขันในปี พ.ศ. 2519-2521 เนื่องจากไม่มีงบประมาณ และมาเริ่มจัดขึ้นใหม่ ในปี พ.ศ. 2522 โดยจัดการแข่งขัน ณ บริเวณสนามกีฬาแห่งชาติ มีนักกีฬาคนพิการเข้าร่วมการแข่งขัน 277 คน งบประมาณจัดการแข่งขันได้รับการสนับสนุนจากสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยฯ หน่วยงานเอกชน และผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาค กีฬาที่จัดให้มีการแข่งขันมี 5 ชนิด คือ กรีฑา ว่ายน้ำ ยิงธนู เทเบิลเทนนิส และแบดมินตัน

            ต่อมาในปี พ.ศ. 2524 องค์การสหประชาชาติ ได้กำหนดให้เป็นปีคนพิการสากล และมีมติให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลก จัดกิจกรรมและการกีฬาให้กับคนพิการในประเทศของตนเอง ได้เล่นและออกกำลังกาย สำหรับประเทศไทยนั้น ได้เห็นความสำคัญของการแข่งขันกีฬาคนพิการมากขึ้น จึงได้ขยายการแข่งขันออกไปสู่ส่วนภูมิภาค ที่จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดสงขลา และกรุงเทพฯ มีนักกีฬาคนพิการเข้าร่วมจำนวน 933 คน โดยกีฬาที่จัดให้มีการแข่งขันมี 5 ชนิด คือ กรีฑา ว่ายน้ำ เทเบิลเทนนิส แบดมินตัน และเตะบอลเข้าเป้า

              จากนั้น เส้นทางของการจัดการแข่งขันก็ลุ่มๆ ดอนๆ มาโดยตลอด ในบางปี มีผู้เข้าร่วมการแข่งขันนับพันคน แต่บางปี จำนวนผู้เข้าร่วมการแข่งขันอาจลดลงมาเหลือเพียงกว่า 500 คนเท่านั้น รวมทั้งประเภทกีฬาที่จัดให้มีการแข่งขันก็มีการปรับเปลี่ยนเรื่อยมา

              จนกระทั่งการแข่งขันครั้งที่ 17 ปี 2538 จัดการแข่งขัน ณ จังหวัดสุพรรณบุรี ระหว่างวันที่ 21-24 กันยายน 2538 ชนิดกีฬาที่จัดแข่งขัน รวม 11 ชนิด คือ กรีฑา ว่ายน้ำ วอลเลย์บอล ฟุตบอล แบดมินตัน เทเบิลเทนนิส ยิงปืน โกลบอล เซปัคตะกร้อ เปตอง วีลแชร์เทนนิส รวมจำนวนนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ 1,125 คน สำหรับการแข่งขัน ครั้งที่ 17 นี้ กรมพลศึกษา ได้วางเป้าหมายในการส่งเสริมการจัดการแข่งขันกีฬาคนพิการแห่งประเทศไทย โดยกำหนดให้จังหวัดต่างๆ หมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ ตามมติของการกีฬาแห่งประเทศไทยที่ถือเป็นหลักเกณฑ์ว่า ภายหลังจากเสร็จสิ้นการแข่งขันกีฬาแห่งชาติแล้ว ให้จังหวัดที่เป็นเจ้าภาพจัดให้มีการแข่งขันกีฬาคนพิการแห่งประเทศไทย และกีฬาสเปเชี่ยล โอลิมปิกด้วย

               จากมติดังกล่าว ได้มีการนำมาปฏิบัติจริงเป็นครั้งแรกในการแข่งขันกีฬาคนพิการแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 21 เมื่อปี 2542 โดยจังหวัดระยองได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ซึ่งจะต้องรับเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาคนพิการแห่งประเทศไทยในปีนั้นต่อเนื่องไปด้วย ซึ่งในปีนั้น คณะกรรมการอำนวยการจัดการแข่งขัน ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระราชทานไฟพระฤกษ์การแข่งขันกีฬาคนพิการแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 21 และโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมเจ้าหญิงสิริวัณวรี มหิดล เสด็จเป็นประธานเปิดการแข่งขัน ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 19-22 กันยายน 2542 ณ สนามกีฬาจังหวัดระยอง มีการแข่งขันกีฬา รวม 17 ชนิด คือ กรีฑา ฟุตบอล 7 คน วอลเลย์บอลยืน-นั่ง เทเบิลเทนนิส แบดมินตัน บอคเซีย ยกน้ำหนัก โกลบอล ยิงปืน ว่ายน้ำ วีลแชร์เทนนิส วีลแชร์บาสเกตบอล ยูโด ยิงธนู วีลแชร์ฟันดาบ เซปัคตะกร้อ และเปตอง มีนักกีฬาและเจ้าหน้าที่จากสถานศึกษา สมาคม องค์กร และหน่วยงานคนพิการต่างๆ รวม 74 หน่วยงาน นักกีฬาและเจ้าหน้าที่ 2,536 คน

           มาถึงวันนี้ แม้การจัดการแข่งขันกีฬาเพื่อคนพิการในประเทศไทย จะมีพัฒนาการก้าวหน้าทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ มีนักกีฬาคนพิการของไทยที่ไปสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศชาติมาแล้วนับไม่ถ้วน แต่ข่าวคราวของการจัดการแข่งขันกีฬาคนพิการ ยังคงได้รับความสนใจจากประชาชนภายนอกไม่มากนัก ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม แต่สำหรับผู้พิการที่เข้าร่วมการแข่งขัน และครอบครัวของพวกเขา การได้ออกกำลังกาย การได้เข้าร่วมการแข่งขัน และแสดงความสามารถ ไม่ว่าผลสุดท้าย จะได้รับรางวัลหรือไม่ ก็ล้วนเป็นการเพิ่มพูนโอกาส ประสบการณ์ และแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตต่อไป

ที่มา http://www.muangchongame.com/history_paragames.php


  สัญลักษณ์การแ่ข่งขัน กีฬาคนพิการแห่งชาติครั้งที่ 29 
"เมืองชลเกมส"


             เป็นรูปคนพิการนั่งวีลแชร์อยู่บนเรือใบพื้นบ้าน และข้อความการแข่งขันกีฬาคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 29 “เมืองชลเกมส์” สัญลักษณ์การแข่งขันมีความหมายดังนี้ ริ้วสีแดง ขาว น้ำเงิน หมายถึง ชื่อเสียงของประเทศไทยที่ออกไปสู่สายตาคนทั่วโลก ซึ่งจังหวัดชลบุรีถือเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญ และมีชื่อเสียงระดับโลก เรือใบ หมายถึง เจ้าภาพจัดการแข่งขัน คือ จังหวัดชลบุรี โดยนำรูปเรือใบพื้นบ้านมาเป็นองค์ประกอบของสัญลักษณ์ แทนธุรกิจการเกษตร อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยวของจังหวัดชลบุรี ใช้สีส้มซึ่งเป็นสีของแสงพระอาทิตย์ หมายถึง ชื่อเสียงและความเจริญก้าวหน้าของจังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นเพชรน้ำเอกแห่งบูรพาทิศ ตราสัญลักษณ์กีฬาแห่งชาติ หมายถึง กังหันลม ซึ่งเปรียบเหมือนการกีฬาที่เป็นพลังในการพัฒนาศักยภาพของคนพิการ ให้สามารถฟันฝ่าอุปสรรค คลื่นลมต่าง ๆ เพื่อมุ่งไปสู่จุดหมายและความสำเร็จ คนพิการนั่งบนวีลแชร์ หมายถึง คนพิการ และใช้แม่สี คือ สีแดง สีเหลือง สีน้ำเงิน ซึ่งหมายถึงแม่สีที่สามารถผสมผสานกันเอง เพื่อพัฒนาให้เกิดสีใหม่ ๆ เปรียบเหมือนคนพิการทุกคนที่สามารถใช้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่มีอยู่มาใช้ผสมผสานในการพัฒนาศักยภาพของตนเอง และแสดงความสามารถทางด้านการกีฬาได้ไม่แพ้คนปกติ เส้นคลื่นสีฟ้าและสีน้ำเงิน ใช้แทนคลื่นทะเล หมายถึง จังหวัดชลบุรีที่เป็นเมืองอุตสาหกรรมท่องเที่ยว โดยเฉพาะหาดพัทยาและหาดบางแสน รวมทั้งความอุดมสมบูรณ์ด้านธุรกิจการเกษตรและอุตสาหกรรม สีชมพูในคำว่า “เมืองชลเกมส์” หมายถึง ความรัก ความผูกพัน รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ซึ่งคือสปิริตของนักกีฬาคนพิการทุกคน


     ภาพสัญลักษณ์กีฬาคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 29 “เมืองชลเกมส์” มีความหมายโดยสรุปคือ พลังกาย พลังใจ และความมุ่งมั่นของคนพิการทั่วประเทศ เป็นพลังสำคัญให้คนพิการแสดงศักยภาพของตนออกมา ให้โลกได้รับรู้ว่าสามารถ ทำทุกอย่างได้ไม่ด้อยกว่าคนปกติทั่วไป แม้มีอุปสรรคใดก็ตาม ก็ไม่อาจจะขวางกั้นหนทางเพื่อมุ่งไปสู่จุดหมายและความสำเร็จได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สุเวศน์ ภู่ระหงษ์ ศิลปินประชาชน

เรื่องที่น่าสนใจของกลุ่มศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน

ความเห็นต่อ กลุ่มศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน