วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

ใช้ชีวิตแบบวันต่อวัน (ไม่ใช่อยู่ไปวันๆนะ)

          เรื่องนี้คัดลอกมาจากงานของคนอื่น เขาบอกว่าได้ฟังจากทีวีรายการหนึ่ง แล้วเกิดความพลุ่งพล่านอยากแบ่งปันให้คนอื่นได้รู้บ้าง ก็เลยเป็นที่มาของบทคัดลอกนี้




          ผู้เขียนบอกว่า เขาได้ดูทีวีรายการหนึ่ง พูดถึงเรื่อง “ทำอย่างไรถึงจะใช้ศักยภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ” ตอนที่เขาเข้าไปดู รายการได้เริ่มไประยะหนึ่งแล้ว ศาสตราจารย์ผู้ดำเนินรายการได้ถามผู้ชมในห้องส่ง 3 คำถาม ซึ่งเป็นคำถามที่ดีมาก คำถามที่ 1 ถามว่า “ท่านอยากมีอายุยืนยาวถึงกี่ปี” แล้วให้ทุกคนจดคำตอบไว้


คำถามที่ 2 ถามว่า “ตอนนี้ท่านอายุกี่ปี” แล้วให้จดคำตอบไว้เช่นกัน
หลังจากนั้น ให้เอาคำตอบของข้อที่ 1 ลบด้วยคำตอบของข้อที่ 2
ผลลัพธ์คือจำนวนปีที่คุณยังมีชีวิตเหลืออยู่
นี่แม้เป็นโจทย์ด้านคณิตศาสตร์ธรรมดาๆ แต่ที่อยากกล่าวถึง คือวิธีการถามของ ศ. ผู้นี้


ศ.ผู้นั้นได้ถามต่อว่า “ใครที่ยังเหลืออายุอีก 60 ปีให้ยกมือขึ้น” ปรากฏว่ามีคนยกมือไม่น้อยเหมือนกัน
“ที่ยังเหลือ 50 ปียกมือขึ้น” ... ข้าพเจ้าเริ่มใจตุ้มๆต่อมๆ เพราะถ้านับตามนี้ ข้าพเจ้ายังเหลืออีก 35 ปี เทียบกับผู้ชมที่อยู่ ณ ที่นั้น ดูเหมือนจะเป็นคนที่ไม่สู้ชีวิตเอาเสียเลย


ศ. ถามต่อไปเรื่อยๆ จนถึง “ที่ยังมีชีวิตเหลืออีก 10 ปี มีมั้ย” ปรากฏว่ามีอยู่เพียงคนเดียว ศ. คนนั้นกลับกล่าวอวยพรคนๆนั้นด้วยใบหน้ายิ้มแย้มว่า “คุณคือผู้ชนะในคืนนี้” ... หัวใจสำคัญของเรื่องนี้ อยู่ที่ว่า คุณเลือกที่จะมีชีวิตอยู่อย่างไร




หากคุณเลือกที่จะอยู่ถึง 100 ปี คุณต้องทำอย่างไรบ้าง
คุณควรตื่นแต่เช้ามาออกกำลังกายได้แล้วรึยัง
คุณควรให้ความสนใจกับการดูแลสุขภาพ
ของตัวเองมากขึ้นหรือยัง





หากคุณยังมีอายุเหลืออยู่อีกเพียง 10 ปี คุณจะเลือกยู่แบบไหน
คุณจะยังยึดติดกับเรื่องรอบตัวทุกเรื่องไปหรือไม่
คุณจะยังขี้หงุดหงิด อารมณ์เสียง่ายเหมือนเดิมหรือไม่
หากรู้วันตายของคุณล่วงหน้า คุณจะเปลี่ยนทัศนคติของคุณหรือไม่
ใครๆก็ไม่อยากแก่ แต่เวลามักไม่คอยท่า ยังคงเดินหายไปอย่างใจดำที่สุด





ศ. พูดต่อไปอีกว่า คนทั่วไปมีชีวิต 3 ช่วงระยะด้วยกัน

ช่วงแรก คือช่วงการเรียนรู้
ช่วงที่ 2 คือช่วงทำงาน
และช่วงที่ 3 คือการหาความสุขหลังเกษียณ




เมื่อถามผู้ฟังในห้องส่งว่า อยากจะเกษียณเร็วๆไหม
ทุกคนต่างตอบว่า อยากเกษียณไวไว

ศ.จึงถามต่ออีกว่า เกษียณแล้ว ท่านจะทำอะไร





มีคนตอบว่า จะไปเที่ยวรอบโลก มีคนบอกว่าจะทำงานตอบแทนสังคม
ศ.สรุปว่า มีหลายคนที่ขยันหาเงิน นึกว่าพอเก็บเงินได้สักก้อน
จะได้เกษียณไปใช้เงิน
ท้ายสุด เมื่อมีการตรวจพบว่าร่างกายเป็นโรคที่รักษาไม่หาย จำต้องจากไปอย่างไม่ค่อยเต็มใจเท่าใดนัก





มีบางคนที่หลังจากเกษียณแล้ว ได้เดินทางท่องเที่ยวไปเรื่อยๆ จนวันหนึ่ง กลับรู้สึกว่าชีวิตขาดเป้าหมาย
เหมือนกับว่าเอาแต่เที่ยวไปวันๆ รู้สึกเหมือนขาดบางสิ่งที่เป็นสาระ

ถ้าอย่างนั้น เราควรสู้หน้ากับชีวิตอย่างไรดี





ศ.ท่านนี้ได้เสนอแนวคิด “ใช้ชีวิตแบบวันต่อวัน”





แนวคิดนี้ คือ ต้องเรียนรู้ทุกวัน เพื่อรักษาพลังที่จะเรียนรู้
ต้องทำงานทุกวัน เพื่อรักษาเป้าหมายของการมีชีวิต
ต้องหาความสุขทุกวัน ไม่ใช่รอจนเกษียณแล้วค่อยหาความสุข

พอข้าพเจ้าได้ฟังถึงตอนนี้ รู้สึกว่ามีเหตุผลดี

หากเมื่อใดที่คนๆหนึ่งไม่คิดที่เรียนรู้สิ่งใหม่ๆอีกแล้ว นั่นหมายถึงการเริ่มต้นของความชราภาพทางสภาพจิต

เมื่อทำงานจนเกิดความชำนาญ ไม่มีเป้าหมายท้าทายใหม่ๆ การทำงานก็จะเริ่มย่อหย่อน





จงเรียนรู้สิ่งใหม่ๆอยู่เรื่อยๆ ตั้งวัตถุประสงค์เล็กๆให้บ่อยๆ หรือสมมุติให้งานใดงานหนึ่งเป็นหลักชัย กระตุ้นให้ตัวเองทำจนสำเร็จ

และเริ่มหาความสุขให้ตัวเองตั้งแต่วันนั้น ทำสิ่งที่ตัวเองรู้สึกมีความสุขที่สุด ตักตวงความสุขให้ตัวเองทุกวัน หากต้องจากไปในวันรุ่งขึ้น ก็จะไม่มีคำว่าเสียใจ





ศ.ได้ยกตัวอย่างให้ฟังตัวอย่างหนึ่งว่า

คุณพ่อของ ศ. เอง เป็นครูใหญ่โรงแรมประถมที่เกษียณแล้ว หลังจากเกษียณ วันๆไม่มีอะไรทำ รู้สึกชีวิตน่าเบื่อหน่าย เหมือนกำลังรอความตาย

วันหนึ่ง ท่านได้ขอให้คุณพ่อกับคุณแม่มาฟังท่านบรรยาย

หลังจากฟังบรรยายจบ คำพูดที่คุณพ่อได้พูดในเวลาต่อมา ทำให้ ศ.และคุณแม่ถึงกับน้ำตาซึม







คำแรกที่คุณพ่อพูด คือ “ฉันจะอยู่จนถึงอายุ 100 ปี” แล้วหันไปถามคุณแม่ว่า “เธอตื่นนอนกี่โมงนะ”

ทั้งนี้ เพราะคุณแม่เป็นคนที่ตื่นตั้งแต่ ตี 5 ครึ่งแล้วไปออกกำลังกายทุกวัน แต่คุณพ่อเป็นคนที่นอนจนตื่นเองตามธรรมชาติ (พูดง่ายๆ นอนตื่นสาย) ดังนั้น ถึงจะอยู่ด้วยกันมานานหลายปี แต่คุณพ่อไม่เคยทราบเลยว่าคุณแม่ตื่นนอนตั้งแต่กี่โมง





คำพูดคำที่สาม คือถามคุณแม่ว่า “แล้วเรายังเหลือเงินอยู่อีกเท่าไหร่”

นั่นเป็นเพราะว่า คุณพ่อไม่เคยดูแลเงินเลย เงินเดือนทั้งหมดปล่อยให้คุณแม่เป็นคนจัดการแต่เพียงผู้เดียว







คุณพ่อตัดสินใจที่จะรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่ออยู่ต่อให้ได้อีก 30 ปี และจะหาความสุขใส่ตัวให้มากที่สุด

คุณแม่รู้สึกมีความสุขมากที่คุณพ่อเริ่มทำตัวมีชีวิตชีวา บอกว่าสู้พร่ำบ่นมาตั้งเป็น 10 ปี ยังสู้มาฟังการบรรยายของลูกครั้งเดียวไม่ได้







ดังนั้น เพื่อนๆที่รักทั้งหลาย เริ่มปฏิบัติการตั้งแต่วันนี้เลย

ในทุกๆวัน ต้องหาความสุขเล็กๆน้อยๆให้กับตัวเองบ้าง ทำให้ชีวิตนี้มีความสุข

อย่างเช่นข้าพเจ้า ซึ่งเดิมมีเพื่อนมาชวนไปปีนภูกระดึงปลายปีนี้ และเดิมข้าพเจ้าไม่คิดจะไป











ช่วงนี้ ข้าพเจ้าเริ่มวางแผนฟิตร่างกายด้วยการว่ายน้ำ เดินวิ่ง เพื่อเพาะความแข็งแรงให้กับร่างกาย

ข้าพเจ้าถือเอาเรื่องนี้เป็นเป้าหมายอย่างหนึ่งในชีวิต

บังคับให้ข้าพเจ้าต้องฟิตร่างกายให้พร้อมที่สุดเสมอ





ขอบอกตามความสัตย์จริง ตอนนี้ข้าพเจ้ารู้สึกขอบคุณเพื่อนคนที่มาชวนข้าพเจ้าไปเที่ยวภูกระดึงเหลือเกิน

เพราะมันทำให้ชีวิตประจำวันของข้าพเจ้าเกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้ข้าพเจ้าตัดสินใจที่จะออกกำลังกาย

และงานที่ท้าทายครั้งนี้ ทำให้ชีวิตที่เคยจืดชืดของข้าพเจ้า เกิดความคาดหวังครั้งใหม่ขึ้นมาอีกครั้ง ขอบคุณมากเจ้าเพื่อนยาก

ขอให้ท่านจงประสบแต่ความแข็งแรงและสมหวังเทอญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สุเวศน์ ภู่ระหงษ์ ศิลปินประชาชน

เรื่องที่น่าสนใจของกลุ่มศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน

ความเห็นต่อ กลุ่มศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน