วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2554

6 Video การแสดงของวงโปงลางกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ ชนะเลิศวงดนตรีพื้นบ้านโปงลาง รางวัลถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เมื่อ 7 มี.ค.2554

          วงดนตรีพื้นบ้านโปงลาง จากโรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ เป็นวงชนะเลิศ คว้าถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี




            ในวันที่ 7 มีนาคม 2554 ที่วงชนะเลิศได้ขึ้นเวทีทำการแสดงโชว์นั้น มีเวลาให้ทำการแสดง 30 นาทีโดยประมาณ จึงขอนำการแสดงของวงโปงลางกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ เมื่อค่ำคืนวันที่ 6 มีนาคม 2554 ซึ่งเป็นการแสดงแบบเต็มๆ โดยเป็นวิดีโอชุดการแสดงที่พึ่งนำมาเผยแพร่ในเวบแห่งนี้ หลังจากที่ได้นำการแสดงในช่วงเปิดวง มานำเสนอไปแล้วเมื่อสัปดาห์ก่อน





            เริ่มด้วยการแสดงชุด วิถีภูไทโฮมใจชาวน้ำดำ , ลายแมงภูตอมดอกและลายนกไซบินข้ามทุ่ง ที่มีจังหวะคึกคักสนุกสนาน





            กว่าจะเห็นชุดการแสดงที่หลากหลาย ทีมนักดนตรีและนักแสดงต่างมาเตรียมการแสดง เตรียมความพร้อมตั้งแต่ช่วงเวลา 13.00น. ขนอุปกรณ์ประกอบการแสดงชุดต่างๆที่มีหลายชิ้น ทยอยเข้ามาในบริเวณงาน เมื่อมีการเตรียมตัวเป็นอย่างดี และรักษาคุณภาพของการแสดงผลงาน ทุกคนต่างร่วมแรงร่วมใจเป็นหนึ่งเดียว ทำให้วงโปงลางกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์คว้ารางวัลชนะเลิศ ประเภทถ้วย ก ซึ่งได้ครองถ้วยรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และยังสามารถรักษาแชมป์ไว้ได้อีกด้วย




           มาถึงชุดการแสดงประกอบเพลง "ประวัติเมืองกาฬสินธุ์" กันบ้าง
          " ข้ามโขง มาสู่ สู่อีสาน เจ้าสิริบุญสาร รัฐประหารเวียงจันทน์..."

          เนื้อหาของบทเพลงนี้ บอกเล่าประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาได้เป็นอย่างดี ลองฟังกันดู











             มาถึงการแสดงชุดสำคัญในช่วงท้ายกับการนำปราสาทข้าว จากประเพณีบุญคูณลานที่ยิ่งใหญ่ของชาวบ้านต้อนของ จ.กาฬสินธุ์ ซึ่งมีชื่อเสียงระดับประเทศ นำมาแสดงบนเวทีกลาง การทำปราสาทข้าวเพื่อใช้ประกอบการแสดง บอกถึงความมุ่งมั่น ทุ่มเท พิพีพิถันของวงโปงลางกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ได้เป็นอย่างดี




              การแสดงชุดสุดท้าย เต้ยลา นักแสดงออกมาร่ายรำเต็มเวที ดูแล้วยิ่งใหญ่ ตระการตา สร้างความประทับใจส่งท้ายการแสดงชุดนี้ และทำให้วงโปงลางกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ชนะเลิศถ้วยประเภท ก ประจำปี 2554

             ข้อมูลประเภทถ้วย ก  (ถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี)
             ระดับไม่เกินมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า ต้องส่งเข้าประกวดในนามของโรงเรียนหรือสถานศึกษาเท่านั้น (เปิดรับต่างจังหวัด)

              ลายบังคับประเภท ก ได้แก่ เดี๋ยวโปงลางลายกาเต้นก้อน ต่อด้วยลายโปงลาง, ลายแมงภู่ตอมดอก, ลายลมพัดพร้าว, ลายสุดสะแนน, ลายนกไซบินข้ามทุ่ง..ทุกลายที่บรรเลงต้องมีการแสดงตามความเหมาะสมและถูกต้อง  มีเพลงลูกทุ่งอีสานหรือเพลงลูกทุ่งหมอลำหรือลูกทุ่งดั้งเดิม และต้องมีการแสดงประกอบไม่ต่ำกว่า 2 เพลง  ใช้ผู้แสดงจำนวน 60-80 คน  และเวลาที่ใช้ในการแสดง 80-90 นาที



           

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สุเวศน์ ภู่ระหงษ์ ศิลปินประชาชน

เรื่องที่น่าสนใจของกลุ่มศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน

ความเห็นต่อ กลุ่มศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน