ข่าวประชาสัมพันธ์ ผ่าน http://www.thailandchonburi.com/
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดชลบุรี โทรศัพท์/โทรสาร ๐-๓๘๒๗-๙๔๔๘
................................................................................
จังหวัดชลบุรี เปิดพักพิงชั่วคราวฯ เข้าสู่วันที่ ๑๓ ให้การช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัยอย่างเต็มที่
จังหวัดชลบุรี เปิดศูนย์พักพิงชั่วคราวสำหรับประชาชนผู้ประสบภัย จังหวัดชลบุรี เข้าสู่วันที่ ๑๓ แล้ว มีผู้เข้าพัก ๕,๕๑๓ คน พร้อมการดูแลด้านต่าง ๆ อย่างเต็มที่
วันนี้ ( ๖ พฤศจิกายน ๕๔ ) เมื่อเวลา ๐๙.๐๐ น. นายภัครธรณ์ เทียนไชย รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์พักพิงจังหวัดชลบุรี ระยะที่ ๑ เป็นประธานการประชุมของศูนย์พักพิงชั่วคราวฯ วันที่ ๑๓ ณ ห้องประชุม กองอำนวยการชั้น ๑ ซึ่งในขณะนี้จังหวัดชลบุรีมีจำนวนผู้พักพิงในศูนย์พักพิงจังหวัดชลบุรี ระยะที่ ๑ และศูนย์พักพิงอื่น ๆ ที่จัดตั้งขึ้นในจังหวัดชลบุรี จำนวนทั้งสิ้น ๖,๕๕๑ คน เป็นชาย ๓,๐๐๕ คน หญิง ๓,๕๔๖ คน เป็นเด็ก ๑,๔๓๔ คน แยกเป็นผู้ประสบภัยเข้ามาในศูนย์พักพิงจังหวัดชลบุรี ระยะที่ ๑ จำนวน ๕,๕๑๓ คน เป็นชาย ๒,๕๔๙ คน หญิง ๒,๙๖๔ คน เป็นเด็ก ๑,๐๖๔ คน ศูนย์แห่งนี้ ได้ให้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข ได้แก่ การรักษาพยาบาล ๔,๐๗๗ ราย ส่งต่อ ๑๙๓ ราย รับไว้ในโรงพยาบาลชลบุรี ๒๘ ราย ผู้ป่วยฉุกเฉิน ๑ ราย โรคที่พบมากที่สุดมีดังนี้ โรคระบบทางเดินหายใจ ๑๓๗ ราย โรคติดเชื้อปรสิต ๒๘ราย รองลงมาโรคระบบไหลเวียน ๗๗ ราย โรคระบบย่อยอาหาร ๔๙ ราย โรคระบบกล้ามเนื้อ ๖๑ ราย โรคผิวหนัง ๕๓ ราย การเยียวยาให้การช่วยเหลือและฟื้นฟูสุขภาพจิต ประเมินด้านสุขภาพจิต ๑,๙๔๘ ราย โรคซึมเศร้า ๓๔ ราย รักษาจิตเวช ๙๑ ราย เสี่ยงฆ่าตัวตาย ๓ ราย ส่งต่อ ๘ ราย ด้านการสาธารณสุขโดยการ สำรวจสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่พักอาศัย ๒๖ จุด ปรับปรุงน้ำดื่ม/น้ำใช้ ๑๔๘ ครั้ง ตรวจคุณภาพน้ำ/สิ่งส่งตรวจ ๒๓๑ ครั้ง ปรับปรุงสุขาภิบาลในตึกต่าง ๆ โดยการเก็บตัวอย่างอาหารและน้ำ ๒๓๑ ครั้ง ขึ้นทะเบียนหาบเร่แผงลอย ๔ ราย และ สอบสวนโรค ๘๘ ราย
ภายในศูนย์พักพิงชั่วคราวฯ ให้บริการด้านแรงงาน ได้แก่ รับสมัครงาน ๑๘๖ คน บรรจุได้ทันที ๓๖ คน ให้คำปรึกษาด้านแรงงาน ๖๗ คน ด้านการท่องเที่ยวได้จัดท่องเที่ยวทุกวัน วันละ 2 รอบ ๆ ละ 120 คน รอบเช้าไปที่สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล รอบบ่ายไปเที่ยว ไหว้พระห้าเสือเมืองชลบุรี/ศาลเจ้านาจา ส่วนด้านการขนส่ง มีรถบัสให้การสนับสนุนศูนย์พักพิงชั่วคราวฯ วันละ ๓ คัน ส่วนงานอาสาสมัครมีดังนี้ วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก (E-TECH)เป็นเจ้าหน้าที่ Call Center ตลอด ๒๔ ชั่วโมง เจ้าหน้าที่งานระบบไฟฟ้า เป็นนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยศรีปทุม โรงเรียนกีฬาจังหวัดชลบุรี ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค ๒ และจากภาคเอกชน เฉลี่ยอาสาสมัครวันละ ๗๐๐ คน นอกจากนี้ด้านสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ มอบรถเข็น ๘ คัน ไม้เท้าขาว-คนตาบอด ๑ อัน และให้คำปรึกษา ๓๒ คน และตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี ส่งเจ้าหน้าที่ รักษาความปลอดภัย งานจราจร งานมวลชนสัมพันธ์ (กองร้อยน้ำหวาน) งานติดตั้งกล้องวงจรปิด ๓๐ ตัว ด้านสุขภาพสัตว์เลี้ยง ๒๒๖ ตัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงฯได้ตั้งเต้นท์ ให้บริการตัดผม เสริมสวย นวดฝ่าเท้า และมีธนาคารออมสินเคลื่อนที่ ธนาคารกรุงไทยจำกัด ติดตั้งตู้ ATM
จึงขอเชิญชวนชาวจังหวัดชลบุรี และจังหวัดใกล้เคียง สามารถบริจาคสิ่งของ เงิน อาหาร หรือสอบถามข้อมูลต่าง ๆ ได้ที่Call Center ๐-๓๘๐๕-๔๑๘๖ ถึง ๙๖ ( จำนวน ๑๑ คู่สาย ) และบริจาคเงินได้ที่ธนาคารกรุงไทย จำกัด สาขาศาลากลางจังหวัดชลบุรี ประเภทออมทรัพย์ ชื่อบัญชี ”เงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยจังหวัดชลบุรี” หมายเลขบัญชี ๙๘๐-๖-๕๙๒๙๔-๘ / กัญญรัตน์ เกียรติสุภา...ตรวจ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๔
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น