วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ข่าวประชาสัมพันธ์จากศูนย์พักพิงชั่วคราวช่วยเหลือผู้ประสบภัย จังหวัดชลบุรี 8 พ.ย.2554

มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ฯ เดินทางมาเยี่ยมศูนย์พักพิงจังหวัดชลบุรี 8 พ.ย.นี้
นายดิสธร  วัชโรทัย  ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ จะเดินทางมาเยี่ยมเยียนและมอบสิ่งของบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัย จำนวน 5,610  ชุด ณ ศูนย์พักพิงชั่วคราวช่วยเหลือผู้ประสบภัย จังหวัดชลบุรี ในวันอังคารที่ 8  พฤศจิกายน 2554 เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป โดยมี  นายวิชิต  ชาติไพสิฐ  ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี สรุปรายละเอียดของศูนย์พักพิงแห่งนี้ ว่ามีผู้พักพิงรวมทั้งสิ้น 5,610 คน โดยเป้าหมายสามารถรับผู้พักพิงได้ 10,000 คน ยานพาหนะ 10,000 คัน มีนายภัครธรณ์  เทียนไชย  รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ทำหน้าที่ผู้อำนวยการศูนย์พักพิงจังหวัดชลบุรี เน้นความสะดวก ปลอดภัยและเป็นระเบียบ โดยใช้การวางระบบบริหารจัดการเน้น อาหารพอเพียง ที่ขับถ่ายเหมาะสม หลักสบาย และสุขภาพสมบูรณ์
จากนั้น นายดิสธร  วัชโรทัยและคณะจะ เดินทางเยี่ยมเยียนและมอบสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบภัยภายในสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี  และเยี่ยมเยียนและมอบของตามตึกต่าง  ๆ ที่ ตึก (A) ,ตึก B , ตึก (C) ,ตึก (D) ,ตึก E , ตึก (F)ตึก (G) ,ตึก H , ตึก (I)  ต่อจากนั้นได้ เดินทางเยี่ยมเยียนผู้ประสบภัย ณ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 3  ,อาคารสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา ,  ค่ายนวมินทราชินี มณฑลทหารบกที่ 14          ,ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 2  ศูนย์ศึกษาพัฒนาชุมชนชลบุรี , มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก (บางพระ)   ,ค่ายลูกเสือโรงเรียนอัสสัมชัญ ศรีราชา  ,สวนเสือศรีราชา และผู้ประสบภัย ณ วัดเขาน้อย เพื่อดูแลและรับทราบข้อมูลของผู้ประสบภัยในการดำเนินการช่วยเหลือในโอกาสต่อไป            
คณะสงฆ์ไทย จำนวน 200 รูป จะมาบิณฑบาตที่จังหวัดชลบุรี วันที่ 9 – 11 พ.ย.นี้เพื่อนำสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบภัย
นายภัครธรณ์  เทียนไชย  รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์พักพิงชลบุรี ระยะที่ 1 เปิดเผยว่า กระทรวงวัฒนธรรมร่วมกับจังหวัดชลบุรี องค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี ตำรวจภูธรภาค 2 หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน การไฟฟ้าภูมิภาคและคณะนักศึกษา วปอ.รุ่นที่ 54 ได้จัดโครงการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย โดยนิมนต์พระสงฆ์ จำนวน 200 รูป ออกบิณฑบาตข้าวสาร อาหารแห้ง ตั้งแต่เวลา 07.00 น. เป็นต้นไป ตามจุดต่าง  ๆ ดังนี้  วันที่ 9 พฤศจิกายน 2554   จะไปบิณฑบาตที่อำเภอเมืองชลบุรี บริเวณหน้าศาลาเฉลิมพระเกียรติ และเดินไปจนถึงวัดอุทยานนที วันที่ 10 พฤศจิกายน 2554 จะไปบิณฑบาตบริเวณเทศบาลเมืองศรีราชา จังหวัดชลบุรี และในวันที่ 11 พฤศจิกายน  2554 จะเริ่มบิณฑบาตที่วัดสว่างฟ้า ผ่านโรงพยาบาลบางละมุง ถึงไฟแดงเลี้ยวขวา ผ่านตลาดโพธิ์ สิ้นสุดที่ร้านสยามแก๊ส โดยสิ่งของที่ประชาชนจะมาร่วมทำบุญตักบาตขอเน้นเป็นข้าวสาร อาหารแห้ง เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยโดยเฉพาะที่ศูนย์พักพิงในเขตจังหวัดชลบุรี  ปัจจุบันมีผู้เข้ามาพักพิงร่วม 8,000 คนแล้วและคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีก เนื่องจากสถานการณ์น้ำท่วมในกรุงเทพมหานครมีปริมาณน้ำสูงขึ้นมาก /
ปศุสัตว์ชลบุรี ออกหน่วยเคลื่อนที่ช่วยเหลือสัตว์ที่ประสบภัยที่ศูนย์พักพิงชลบุรี
       นายนิพนธ์ เข็มกลัด ปศุสัตว์จังหวัดชลบุรี เปิดเผยว่า ตามที่จังหวัดชลบุรี ได้เปิดศูนย์พักพิงชั่วคราวจังหวัดชลบุรี เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย และผู้ประสบภัยได้นำเลี้ยง เช่น สุนัข แมว กระต่าย สัตว์ปีก และสัตว์อื่นๆ โดย นายวิชิต   ชาตไพสิฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี สั่งการให้ปศุสัตว์จังหวัดชลบุรี ดูแลสุขภาพสัตว์เลี้ยง ออกหน่วยเคลื่อนที่เพื่อรักษาสัตว์ และปฏิบัติงานด้านสุขภาพสัตว์เลี้ยงโดยการให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ให้บริหารตรวจสุขภาพและรักษาพยาบาล และได้จัดทำคอกไว้พักสุนัขอีกด้วย
    สำหรับ สัตว์ที่มีอยู่ในขณะนี้ มีสุนัข จำนวน 126 ตัว แมว 79 ตัว กระต่าย 7 ตัว สัตว์ปีก 10 ตัว และหนูแฮมเตอร์ 8 ตัว ได้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า จำนวน 85 ตัว ให้บริการตรวจสุขภาพและรักษาพยาบาล จำนวน 186 ตัว และบริการด้านอื่นๆจำนวน 16 ตัว พร้อมทั้งได้จัดทำคอกไว้พักสุนัขอีกจำนวน 10 คอกเพื่อไว้คอยบริการให้ผู้พักพิงได้นำสัตว์เลี้ยงมาเลี้ยงอีกด้วย     นอกจากนี้ยังได้บริการทำหมันหมาและแมว ซึ่งในแต่ละวันมีประชาชนมารับบริการกันเป็นจำนวนมาก
ศูนย์พักพิง ชลบุรีมีผู้พักพิงเกือบ 8,000 คนและสามารถรับเพิ่มได้อีก
 นายภัครธรณ์  เทียนไชย  รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์พักพิงจังหวัดชลบุรี  ระยะที่ ๑ ได้ประชุมผู้ดูแลตึกและหน่วยงานต่างๆ  ณ ศูนย์พักพิงจังหวัดชลบุรี สถาบันพลศึกษาและโรงเรียนกีฬาจังหวัดชลบุรี เพื่อสรุปยอดจำนวนผู้ประสบอุทกภัยเข้าพักในศูนย์พักพิงจังหวัดชลบุรี และศูนย์พักพิงอื่นๆ โดยศูนย์พักพิงสถาบันพลศึกษาจังหวัดชลบุรี มีผู้พักพิง จำนวน ๓,๔๘๕ คน  สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค ๓ จำนวน ๑๘๕ คน  ศูนย์ศึกษาพัฒนาชุมชนชลบุรี จำนวน ๒๒๖ คน ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค ๒ จำนวน  ๓๐๙ คน  ค่ายนวมินทราชินี จำนวน ๕๘๐ คน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ จำนวน ๖๓๕ คน และศูนย์ผู้พักพิงอื่น    ที่จัดตั้งขึ้นในจังหวัดชลบุรี อีก ๘ แห่ง จำนวน  ๑,๖๒๕ คน รวมมีผู้พักพิงในจังหวัดชลบุรี ทั้งสิ้น ๗,๒๓๕ คน
สำหรับด้าน สาธารณสุข สุขภาพอนามัยผู้พักพิง โรคที่พบมากที่สุดคือ โรคระบบทางเดินหายใจ จำนวน ๑๓๒ ราย โรคติดเชื้อปรสิต จำนวน ๓๕ ราย โรคระบบไหลเวียน จำนวน ๕๑ ราย โรคระบบย่อยอาหาร จำนวน ๙๗ ราย  โรคระบบกล้ามเนื้อ จำนวน ๗๔ ราย  โรคผิวหนัง จำนวน๕๑ ราย รวมยอดผู้รับบริการ ๔๙๔ ราย    การรับสมัครงาน ๑๙๘ ราย  พาเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดแล้ว ๒,๒๔๖ คน ผู้มีจิตศรัทธาสามารถบริจาคเงินหรือสิ่งของเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยได้ที่ ศูนย์พักพิงจังหวัดชลบุรีCall Center ๐-๓๘๐๕-๔๑๘๖ ถึง ๙๖

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สุเวศน์ ภู่ระหงษ์ ศิลปินประชาชน

เรื่องที่น่าสนใจของกลุ่มศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน

ความเห็นต่อ กลุ่มศิลปะ ดนตรี กวีประชาชน