"น้ำตาที่เคยหยุดไหล น้ำใจไหลกว่าสายธาร
น้ำหลากท่วมท้นทรมาน เหมือนพาลผลาญชีวิตคน.."
จากข่าวคราวน้ำท่วมในพื้นที่ต่างๆ ท่วมมากมายหลายจังหวัดอย่างที่หลายคนไม่เคยพบมาก่อน กลายเป็นแรงบันดาลใจให้ไก่ แมลงสาบ และสุเวศน์ ภู่ระหงษ์ เริ่มต้นเขียนบทเพลงนี้ขึ้นในช่วงค่ำวันที่ 23 ตุลาคม 2553 ที่สวนสามพราน จ.นครปฐม ในสถานการณ์ที่น้ำกำลังจะเอ่อท่วมที่พักในวันนั้น ในช่วงที่มีการประชุมวิชาการซึ่งผู้ที่คอยประสานงานต้องขอตัวกลับบ้าน เพราะน้ำไหลมาท่วมบ้านพักแถวนนทบุรีแล้ว
จากเหตุการณ์ต่างๆจึงเป็นแรงผลักดันให้เขียนบทเพลงนี้ ตั้งแต่ช่วงที่นั่งทานอาหารเย็น จนกลับมาที่ห้องพักในโรงแรม ไก่ แมลงสาบ และสุเวศน์ ภู่ระหงษ์จึงร่วมกันเขียนเพลงนี้ขึ้นมา ทีแรกตั้งชื่อว่า "น้ำใจไทย" ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเพลง เป็น "น้ำท่วมไทยน้ำใจท่วมท้น" ตามเนื้อหาใจความของบทเพลง
ถึงแม้จะเหน็ดเหนื่อยอ่อนเพลียมาทั้งวัน แต่ทั้ง 2 ศิลปินก็ช่วยกันแต่งเพลงนี้จนเสร็จ บันทึกคำพูดและร้องเพลงไว้ในวิดีโอช่วงแรก
เนื่องจากพึ่งแต่งเสร็จใหม่ๆ คลิปวิดีโอแรก เหมือนเป็นการซักซ้อม แต่ในคลิปวิดีโอที่ 2 นี้ เป็นการขับร้องแบบเต็มเพลง "น้ำท่วมไทยน้ำใจท่วมท้น"
"..น้ำใจไหลสู้สายธาร ผนึกผสานให้ผู้ทุกข์ทน
สายใจไหลมาทุกแห่งหน คือน้ำใจคนมากล้นสู้ภัย.."
ภาพการเยียวยาให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากพื้นที่ ตำบลลำมูล อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา ถูกนำมาจัดทำเป็นมิวสิควิดีโอประกอบบทเพลง "น้ำท่วมไทยน้ำใจท่วมท้น" ภาพจากคุณจันทร์เพ็ญ เชื่อมกลาง สำนักงานสาธารณสุขอำเภอโนนสูง จ.นครราชสีมา
+++++++++++++++ รวมข่าวสารน้ำใจไทย +++++++
ขอเชิญร่วมบริจาคเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
by The Thai Red Cross Society on Tuesday, October 19, 2010 at 2:47am
วิกฤติภัยน้ำท่วมในพื้นที่หลายจังหวัด ทำให้มีประชาชนประสบปัญหาไร้ที่อยู่อาศัย และ ขาดแคลนเครื่องอุปโภคบริโภค สภากาชาดไทยได้เข้าช่วยเหลือด้วยการมอบชุดธารน้ำใจตามจังหวัดต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบ
ล่าสุด เมื่อวันที่ 19 ต.ค. 2553 สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์สภากาชาดไทย ได้ออกหน่วยครัวเคลื่อนที่ ประกอบอาหารพร้อมรับประทาน ที่บริเวณหอประชุมเปรม ติณสูลานนท์ ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา เพื่อประกอบอาหารพร้อมรับประทานแจกจ่ายแก่ราษฎรที่ประสบความเดือดร้อนประมาณ 2,500 กล่องต่อวัน อีกด้วย
สภากาชาดไทย ขอเป็นสื่อกลางในการเชิญชวนประชาชนทั่วไปที่มีจิตกุศล โอนเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ผ่านบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสภากาชาดไทย ชื่อบัญชี “สภากาชาดไทยช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย” เลขที่บัญชี 045 304190 6 ประเภทออมทรัพย์ จากนั้น แฟกซ์ใบนำฝาก พร้อมเขียนชื่อและที่อยู่ให้ชัดเจน มาที่สำนักงานการคลัง สภากาชาดไทย ถึงหัวหน้าฝ่ายการเงิน หมายเลข 0-2250-0120 เช็คแฟ็กซ์โทร.02 256 4068-9 เพื่อส่งต่อความช่วยเหลือไปถึงพี่น้องชาวไทยที่กำลังประสบภัยน้ำท่วมในขณะนี้ สอบถามเพิ่มเติมโทร. 1664 หรือ 02 256 4035-6
หากผู้บริจาคประสงค์ที่จะบริจาคเครื่องอุปโภค บริโภค สามารถบริจาคได้ที่ อาคารสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย 1871 ถนนอังรีดูนังต์ ปทุมวัน กรุงเทพ 10330 สอบถามเพิ่มเติมโทร. 0-2251-7853 ต่อ 1603,1102 และต้องการอาสาสมัครแพ็คชุดธารน้ำใจ หรือช่วยขนข้าวสารอาหารแห้งขึ้นรถบรรทุก ติดต่อได้ที่ โทร. 0-251-7853 ต่อ 1603 เพื่อลงทะเบียนชื่อ และเบอร์โทรศัพท์ไว้เพื่อติดต่อ
++++
ทีม SCG Paper ร่วมแรงร่วมสร้างนวัตกรรมเพื่อช่วยเหลือเพื่อนผู้ประสบภัยผลิต "สุขากระดาษ" ท่านใดสนใจร่วมบริจาค ติดต่อมูลนิธิซิเมนต์ไทย (SCG Foundation) 025865506 สนใจร่วมสมทบทุน โอนเงินเข้าบัญชี ชื่อบัญชี "มูลนิธิซิเมนต์ไทย" ธนาคารกสิกรไทย สาขาบางซื่อ บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 020-2-35130-1
++++
รายละเอียด โครงการอาหารเพื่อผู้ประสบภัยหลังน้ำท่วม-The Post Flood Cares : Food for Life.
ปณิธาน: โครงการนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นกำลังใจเบื้องต้นให้กับพี่น้องชาวไทยที่ประสบภัย หลังจากน้ำเริ่มลดที่จะต่อสู้ดำรงชีวิตต่อไป
ทั้งนี้โครงการนี้จะเปลี่ยนสถานที่ไปเรื่อยๆ ตามสถานที่ที่มีผู้ประสบภัยและน้ำเริ่มลดลงแล้ว โครงการจะดำเนินต่อไปเรื่อยๆ ตามความสามารถของทีมงานเจ้าหน้าที่และกำลังใจจากกลุ่มสมาชิกและบุคคลทั่วไป
อีกทั้งยังเป็นการให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่อีกด้วย
อนึ่งการเข้าพื้นที่ครั้งนี้เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลด้านสาธารณสุขและความเป็นอยู่ทางอ้อม ทั้งนี้หากมีเงินบริจาคเหลือพอ ทีมงานจะประสานงานกับสาธาณสุขอำเภอต่างๆ้เพื่อส่งมอบเงินบริจาคอำเภอละเท่าๆกันเพื่อเป็นการตั้งต้นการจัดซื้อยาและเครื่องมือแพทยืที่เสียหายจากน้ำท่วม รักษาผู้ประสบภัยต่อไป
สถานที่ ศูนย์อำนวยการช่วยเหลือผู้ประสบภัยฉุกเฉิน มทบ ที่๒ (พิมาย) หรือสถานที่ที่ได้รับการร้องขอ ใน อ.พิมาย
วันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม 2553
สิ่งที่ต้องการ
ปัจจัยสมทบทุน ,ข้าวสาร ,เนื้อเค็ม,หมูแดดเดียว .เนื้อแดดเดียว,น้ำพริกแห้งต่างๆ ผลไม้ที่เก็บได้นานเช่น ส้ม,ฝรั่ง,กล้วย
เราจะตั้งโรงทาน ณ สถานที่ดังกล่าวเพื่อจัดเตรียมอาหารแพคถุงถุงลงเรือโดยมีหน่วยทหารสนับสนุนเรื่องขนส่งเข้าไปยังหมู่บ้านที่ถูดตัดขาดกัน
อาหารที่เราจะทำได้แก่ ข้าวเหนียว หมูแดดเดียว เนื้อเค็ม น้ำพริก จำนวน500ชุด( หรือตามกำลังที่เราทำได้)
ขนมจีนแกงไก่สำหรับเลี้ยงทหารที่ทำงานและสต๊าฟที่ช่วยลงพื้นที่ 1หม้อใหญ่
ต้องการรับสมัคร พ่อครัวแม่ครัว รับลูกมือทั้งหลาย มาช่วยกันทำ
อุปกรณ์ต่างๆขอยืมวัดหรือขอวัดใดวัดนึงเป็นที่จัดเตรียมอาหารในวันเสาร์ที่30เช่น แช่ข้าวเหนียวเตรียมหุง
รถขนส่งขอสนับสนุนจากกองพันทหารขนส่ง( ขสทบ)
**ในกรณที่ต้องเช่ารถตู้ อาจะต้องแชร์ค่าเดินทางกันเองนะครับ เพราะเราไม่แน่ใจว่าเราจะมีงบไปถึงตรงนั้นมั้ย
ใครรุ้จักโรงงานน้ำพริกที่เก็ยได้นานๆแจ้งด้วยก้อดี
รายการ ที่ยัง ขาด มีดังนี้ ค่ะ (อัพเดท 28/10/53)
ข้าวเหนียว 10 กระสอบ .... ตอนนี้ ได้ มาแล้ว 4 กระสอบ
ข้าว สาร 2 กระสอบ .... ได้ แล้ว 2 กระสอบ
น้ำมัน พืช 6 ปิ๊บ
ไข่ 10 ถาด ....... ได้แล้ว
ไข่เค็ม
เนื้อหมู 50 กิโลกรัม ..... ได้แล้ว
กระเทียมบด ... 3 กิโลกรัม
ผงรสดี ... 3 กิโลกรัม .......
เอ็นข้อไก่ 10 กิโลกรัม ..... ได้แล้ว
เนื้อไก่ 20 กิโลกรัม ..... ได้แล้ว
เลือดไก่ 5 กิโลกรัม ..... ได้แล้ว
เครื่องในไก่ 5 กิโลกรัม ..... ได้แล้ว
มะเยือเปราะ 5 กิโลกรัม
กระทิ 10 กิโลกรัม
พริกแกง เขีียวหวาน 3 กิโลกรัม
ใบโหระพา 10 กำใหญ่
เกลือ 1 กิโลกรัม
น้ำตาล ปื๊บ 2 กิโลกรัม
น้ำมันหอย 1 ถัง ..... ได้แล้ว
แป้งโกกิ ..... ได้แล้ว
ถุงร้อน ขนาด 10 * 15 2000 ใบ
ถุงร้อน ขนาด 6 * 8 2000 ใบ
ผลไม้ จำพวก ฝรั่ง แล ะกล้วย(ที่ยังไม่สุก ไม่ห่าม)
อุปกรณ์ นึ่งข้าวเหนียว
อาทิ หวด หม้อนึ่ง เตาถ่าน หากท่านใดมีให้ยืม รบกวน ด้วยนะคะ
เราจะนึุ่ง ข้าวเหนี่ยวกันในวันเสาร์ สามารถ ติดต่อ ให้ไปรับได้นะคะ
ใครมี ทวิต ฝากทวิต ด้วยนะคะพี่ๆ
สถานที่...ที่จะนึ่งข้าวเหนียว
ร้านอาหารอีสานของพี่วา อยู้ซอย พัฒนาการ20
ติดกับร้านสวนหลวงบาร์เบอร์นะครับ
เบอรืโทรเจ้าของร้าน พี่วา 089-6860880 ครับ ใครมีเขียง มีดทำครัวหั่นหมู หวดนึ่งข้าว หม็อนึ่งข้าวติดมาด้วยนะครับ
ท่านสามารถร่วมบริจาคปัจจัย ได้ที่ ธนาคารทหารไทย ชื่อบัญชี นฤดล ขุนดีคล้าย ออมทรัพย์ หมายเลขบัญชี 056-2-16204-0 สาขาบางลำพู
ติดต่อเราได้ที่หน้าวอลล์ หรือ
โทร.089 224 6568 คุณกิ๊บ
โทร.086 335 4688 คุณเอ
โทร.086 334 9371 คุณเรียว
eMail: thaifreevoice@gmail.com
หลังจากโอนเงินแล้วรบกวนแจ้งมาที่ข้อความด้วยนะครับ เพื่อบันทึกรายนามผู้บริจาค
ขอบคุณครับ
ทีมงาน เสียงเสรี
++++
รมช.คมนาคมมอบของช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมสารคาม
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 29 ตุลาคม 2553 16:22 น.
มหาสารคาม - รมช.คมนาคม มอบสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในเขตอำเภอเชียงยืน โกสุมพิสัย กันทรวิชัย และอำเภอเมืองมหาสารคามจำนวน 2,750 ชุด
ที่หอประชุมอำเภอเชียงยืน นายสุชาติ โชคชัยวัฒนากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วยนายทองทวี พิมเสน ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม ได้มอบสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในเขตอำเภอเชียงยืน โกสุมพิสัย กันทรวิชัย และอำเภอเมืองมหาสารคามจำนวนรวม 2,750 ชุด เพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วมในเขตลุ่มน้ำชี
ซึ่งมีพื้นที่ถูกน้ำท่วม 28 ตำบล 176 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 15,418 ครัวเรือนเกษตรกรได้รับผลกระทบ 6,924 ราย พื้นที่นาถูกน้ำท่วม 68,192 ไร่ และคาดว่าจะเสียหาย 54,284 ไร่ โดยในวันนี้ระดับน้ำ ณ ฝายมหาสารคาม บ้ายคุยเชือกมีระดับ 149.84 ม.จากระดับน้ำทะเล
ถือเป็นระดับที่สูงกว่าระดับวิกฤตถึง 2.4 ม. ระดับความลึกของน้ำ 11.5 ม. ปริมาณน้ำไหลเข้าพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 986 ลบ.ม. ต่อวินาที หรือวันละ 85.2 ล้านลูกบาศก์เมตร สูงกว่าเมื่อวานนี้ 30 เซนติเมตร
โดยทางผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม ได้อนุมัติงบฉุกเฉินในส่วนของจังหวัดมหาสารคาม ไปจัดซื้อกระสอบบรรจุทราย เพื่อทำแนวป้องกันน้ำท่วม จัดซื้อถุงยังชีพแจกจ่ายให้ราษฎรที่ถูกน้ำท่วมและเดือดร้อน จ่ายค่าน้ำมันเชื้อเพลิงในการสูบน้ำออกจากไร่นาราษฎร และชดเชยให้แก่เกษตรกรที่ถูกน้ำท่วมไปแล้วจำนวนกว่า 18 ล้านบาท
++++++++++
สกลฯปล่อยคาราวานส่งสิ่งของช่วยน้ำท่วมโคราชอีกรอบ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 28 ตุลาคม 2553 12:45 น.
สกลนคร-จังหวัดสกลนครปล่อยคาราวานข้าวสารอาหารแห้ง และเงินบริจาคแก่ผู้ประสบอุทกภัยจังหวัดนครราชสีมา
วันนี้ (28 ต.ค.) ที่บริเวณหน้าศาลากลาง จังหวัดสกลนคร นายอำนาจ ผการัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร เป็นประธานในการปล่อยคาราวานข้าวสารอาหารแห้ง ช่วยผู้ประสบอุทกภัย ในพื้นที่ต่างๆ กว่า 30 จังหวัด ทำให้ประชาชนประสบภัยพิบัติจากอุทกภัย มีทั้งผู้ที่เสียชีวิตและสูญหายนำมาซึ่งความเดือดร้อนแก่ประชาชนที่ประสบภัยเป็นอย่างมาก ทั้งขาดแคลนที่อยู่อาศัย อาหาร น้ำดื่ม และเครื่องอุปโภคบริโภค ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการช่วยเหลือประชาชนผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน จากอุทกภัยที่เกิดขึ้นในเขตพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสกลนคร ร่วมกับ จังหวัดสกลนคร ได้ร่วมกันรับบริจาคสิ่งของ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
ส่วนใหญ่ก็เป็นสิ่งของที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีพ เช่น ยารักษาโรค ที่นอน หมอน เครื่องครัวต่างๆ ผ้าอนามัย และน้ำดื่ม และเงินบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธา ในเขตพื้นที่ได้ร่วมกันบริจาคเป็นเงินกว่า 500,000 บาท ซึ่งสิ่งของเหล่านี้จะได้นำไปช่วยผู้ประสบอุทกภัยในเขตพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา
จากนั้นทางผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร ได้ปล่อยขบวนรถคาราวาน เพื่อนำสิ่งของไปมอบให้กับผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ดังกล่าวต่อไป
++++
เลย- นักศึกษ าม.ราชภัฏเลยตั้งจุดรับบริจาคเงิน-สิ่งของเพื่อส่งช่วยเหลือพี่น้องชาวไทยที่กำลังประสบภัยน้ำท่วมในหลายจังหวัด
เมื่อเวลา 07.00 น. วันนี้ (28 ต.ค.) มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย นำโดย ผศ.สนิท เหลืองบุตรนาค อธิการบดี พร้อมด้วยองค์การนักศึกษา ซึ่งประกอบด้วย สภานักศึกษา องค์การบริหารนักศึกษา สโมสรนักศึกษาคณะครุศาสตร์ สโมสรนักศึกษาคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ สโมสรนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ สโมสรนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสโมสรนักศึกษาคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม นำนักศึกษาจัดกิจกรรมตั้งจุดรับบริจาค เงิน และสิ่งของในเขตเทศบาลเมืองเลย เพื่อนำเงินและสิ่งของไปให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในหลายจังหวัดที่กำลังประสบภัยขณะนี้
การรับบริจาคครั้งนี้มีไปจนถึงวันที่ 29 ตุลาคม 2553 ทางนักศึกษาได้จัดกลุ่มนักศึกษาเป็นกลุ่มแยกย้ายกันออกไปตามสถานที่ราชการ และองค์กรภาคเอกชนเพื่อขอความร่วมมือในการบริจาคเงินและสิ่งของตามที่ประชาชนชาวจังหวัดเลยมีความศรัทธาบริจาค ซึ่งได้รับความร่วมมือจากข้าราชการและประชาชนให้ความสนใจร่วมบริจาคเงินและสิ่งของจำนวนมาก
โดยเฉพาะบริเวณถนนเจริญรัฐริมลำน้ำกุดป่อง ที่เป็นจุดที่มีประชาชนสัญจรผ่านไปมาอย่างหนาแน่น ให้ความสนใจร่วมมือกับทางมหาวิทยาลัยราชภัฏเลยเป็นอย่างดี และเมื่อถึงกำหนดแล้วจะนำเงินและสิ่งของที่ได้รับบริจาคของชาวจังหวัดเลยนำไปมอบให้แก่จังหวัดต่างๆ ที่ประสบภัยน้ำท่วมในครั้งนี้ต่อไป
+++
สุรินทร์ - มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ นำถุงยังชีพพระราชทาน มอบแก่ผู้สูงอายุและราษฎร ประสบภัยน้ำท่วม จ.สุรินทร์ 5 อำเภอ 1,500 ชุด สร้างความปลาบปลื้มในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นที่ “ในหลวง” ทรงห่วงใยพสกนิกร
วันนี้ (27 ต.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่โรงเรียนสังขะ อ.สังขะ จ.สุรินทร์ นายดิสธร วัชโรทัย ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ พร้อมด้วยคณะเดินทางโดยเฮลิคอปเตอร์ มายังหอประชุมโรงเรียนสังขะ โดย มีนายเสริม ไชยณรงค์ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ พร้อมด้วยรองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ร่วมให้การต้อนรับ
จากนั้นประธานกรรมการบริหารมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นประธานในพิธีเปิดกรวยถวายความเคารพพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี ก่อนจัดพิธีมอบความช่วยเหลือมอบถุงยังชีพพระราชทาน ให้แก่ผู้สูงอายุและราษฎรประสบภัยน้ำท่วมจาก 5 อำเภอ คือ อ.สังขะ อ.ศีขรภูมิ อ.สำโรงทาบ อ.บัวเชด และ อ.ศรีณรงค์ จำนวน 1,500 ชุด ซึ่งสร้างความปลาบปลื้มในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงใยพสกนิกรที่ประสบอุทกภัยและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน
++++
ธารน้ำใจ อสมท สกลนครช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 27 ตุลาคม 2553 11:13 น.
สกลนคร - ธารน้ำใจช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมของชาว อสมท จังหวัดสกลนคร ได้มอบถุงยังชีพกว่า 200 ถุง พร้อมน้ำดื่ม และยารักษาโรค สิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็น มูลค่ากว่า 30,000 บาท ไปแจกจ่ายให้ความช่วยเหลือพี่น้องชาวจังหวัดขอนแก่นที่ประสบอุทกภัยภัยน้ำท่วมในขณะนี้
วันนี้ (27 ต.ค.) พนักงานเจ้าหน้าที่ นักจัดรายการ และช่างเทคนิคของ อสมท จังหวัดสกลนคร ได้ออกรับบริจาคข้าวของเครื่องใช้ ยารักษาโรค อาหารแห้ง และน้ำดื่มจากบริษัท ห้างร้าน และบุคคลทั่วไป ตลอดจนถึงแฟนรายการวิทยุ อสมท เพื่อนำไปมอบให้แก่พี่น้องประชาชนผู้ที่ได้รับความเดือนร้อนจากอุทกภัยน้ำท่วมในพื้นที่ภาคอีสาน
สำหรับธารน้ำใจที่ได้รับจากผู้คนทั่วไปร่วมบริจาคกับ อสมท จังหวัดสกลนครในครั้งนี้ แบ่งเป็นถุงยังชีพ จำนวน 257 ถุง น้ำดื่มชนิดแก้ว จำนวน 30 กล่อง และข้าวกล่องมูลค่า 1,000 บาท คิดมูลค่ากว่า 30,000 บาท และได้รับความกรุณาจาก บริษัท นครพนมขนส่ง จำกัด บรรทุกสิ่งของนำไปส่งมอบให้ ตชด.ภาค 2 จังหวัดขอนแก่น ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยก่อนนำไปแจกจ่ายให้แก่พี่น้องประชาชนชาวจังหวัดขอนแก่น ต่อไป
+++
หนองคาย - จังหวัดหนองคาย ระดมน้ำใจรับบริจาคเงินสดและสิ่งของ นำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม เปิดรับตลอดช่วงจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย
เมื่อเวลา 10.00 น.วันนี้ (26 ต.ค.) ที่หน้ามุข ศาลากลางจังหวัดหนองคาย จังหวัดหนองคายโดยสำนักงานจังหวัด ได้จัดกิจกรรมรวมน้ำใจช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม ซึ่งมีหน่วยงานราชการต่างๆ สถานศึกษา องค์กรการกุศลในจังหวัดหนองคาย นำเงินสด และสิ่งของ เครื่องอุปโภคบริโภค ข้าวสาร อาหารแห้ง น้ำดื่มบรรจุขวด ในการนี้ นายวิรัตน์ ลิ้มสุวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย พร้อมนางพจนา ลิ้มสุวัฒน์ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดหนองคาย ได้มารับบริจาคด้วยตนเอง
จังหวัดหนองคายจะทำการรับบริจาคตั้งแต่บัดนี้จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย โดยผู้ที่มีจิตศรัทธาสามารถบริจาคทั้งเงินสดและสิ่งของ ได้ที่สำนักงานจังหวัดหนองคาย ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดหนองคาย หรือจะโอนเงินเข้าบัญชี ชื่อบัญชีโครงการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยจังหวัดหนองคาย ธนาคารกรุงไทย สาขาศูนย์ราชการจังหวัดหนองคาย บัญชีเลขที่ 980-3-01410-2 ได้ทุกวัน
++++
อุดรธานี - ภาคเอกชนอุดรฯ บริจาคสิ่งของผู้ประสบภัยน้ำท่วมโคราช ตั้งจุดรับบริจาคที่บริษัทอุดรเคเบิ้ลทีวี โดยส่งมอบน้ำใจพี่น้องชาวอุดรฯ ผ่านกองทัพภาคที่ 2
วันนี้ (26 ต.ค) ที่บริษัทอุดรเคเบิ้ล ทีวี จำกัด ซึ่งเป็นจุดรับบริจาคสิ่งของช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมจังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ ลพบุรี ที่ประสบภัยน้ำท่วม ซึ่งมีผู้มีจิตอันเป็นกุศลที่ได้มาบริจาคสิ่งของ พร้อมใจช่วยกันขนสิ่งของบริจาคขึ้นรถบรรทุกของมณฑลทหารบกที่ 24 เพื่อนำไปช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม
นายมงคล คูสกุล ประธานกรรมการบริหารบริษัท อุดร เคเบิ้ลทีวี จำกัด บอกว่า ตนได้ตั้งจุดรับบริจาคสิ่งของเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม โดยในวันนี้ได้รวบรวมสิ่งของเพื่อนำไปส่งมอบให้กับกองทัพภาค 2 โดยได้รับการสนับสนุนจาก มณฑลทหารบกที่ 24 ซึ่งสิ่งของที่ทางผู้มีจิตอันเป็นกุศลได้บริจาคมาในครั้งนี้ ประกอบด้วย ถุงยังชีพ ซึ่งด้านในบรรจุข้าวสาร บะหมี่สำเร็จรูป ปลากระป๋อง แปรงสีฟัน ยาสีฟัน ยาแผนปัจจุบัน ผ้าอานามัย ขนม น้ำดื่ม ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 250 บาท จำนวน 841 ถุง
สำหรับสิ่งของที่ได้รับบริจาคครั้งนี้จะนำไปช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน โดยจะมอบผ่านให้กองทัพภาคที่ 2 เพื่อนำไปมอบให้ผู้ประสบภัยต่อไป
++++
ศูนย์ข่าวนครราชสีมา - พสกนิกรชาวโคราชปลาบปลื้ม สมเด็จพระเทพฯ เสด็จฯเยี่ยมราษฎรผู้ประสบอุทกภัย พร้อมพระราชทานถุงยังชีพ ขณะสถานการณ์น้ำท่วมโคราช ลดลงระดับต่อเนื่อง แต่ 3 อำเภอริมน้ำมูล “ชุมพวง-พิมาย-เมืองยาง” ยังอยู่ในภาวะวิกฤต น้ำท่วมสูง ด้านศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจฯ สรุปความเสียหายน้ำท่วมโคราช กว่า 1,500 ล้าน พื้นที่เกษตรเสียหายยับกว่า 1.7 ล้านไร่ เดือดร้อน 7 แสนคน เสียชีวิต 13 ราย ขณะคาราวานธารน้ำใจ ASTV-พันธมิตรฯกรุงเทพฯ ถึงเมืองย่าโมแล้ว
วันนี้ (25 ต.ค. ) เวลา 09.30 น.สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมราษฎรที่ประสบอุทกภัยในเขตเทศบาลตำบลท่าช้าง อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.นครราชสีมา โดยมี นายระพี ผ่องบุพกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กราบบังคลทูลถวายรายงานเกี่ยวกับสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา และแพทย์หญิง สุวรรณี วีระพรพงศ์ รักษาการผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา กราบบังคลทูลถวายรายงานเกี่ยวกับสถานการณ์ภายในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย และการช่วยเหลือคนป่วย
จากนั้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานถุงยังชีพแก่นายระพี ผ่องบุพกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เพื่อนำไปมอบแก่ราษฎรที่ประสบอุทกภัยและพระราชทานถุงยังชีพแก่ตัวแทนราษฎรจำนวน 20 ราย ก่อนประทับรถยนต์บรรทุกขนาดเล็กที่กองพลทหารราบที่ 3 ได้จัดถวาย โดยเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรเขตตำบลท่าช้าง และทรงเยี่ยมราษฎรที่ประสบอุทกภัย
โดยมีประชาชนเฝ้าคอยรับเสด็จฯทั้ง 2 ฝั่งจำนวนมาก พร้อมทั้งได้พระราชทานถุงยังชีพแก่ราษฎรที่มาเฝ้าฯ รับเสด็จฯ จำนวน 40 ถุง ที่บ้านหัน หมู่ 10 ต.ท่าช้าง อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.นครราชสีมา ก่อนที่จะทรงประทับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จฯ ไปยังมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี พระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ประจำปีการศึกษา 2552 และทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ศูนย์ปฏิบัติการแพทย์และสาธารณสุขมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และทรงประกอบพิธีเปิดอาคารสิรินทรวิชโชทัย สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) จังหวัดนครราชสีมา ตามลำดับ ซึ่งประชาชนชาวจังหวัดนครราชสีมา และผู้ประสบภัยน้ำท่วมทุกคนรู้สึกซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงห่วงใยพสกนิกรในครั้งนี้เป็นล้นพ้น
ด้านศูนย์เฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยจังหวัดนครราชสีมา รายงานสรุปสถานการณ์น้ำท่วมพื้นที่ จ.นครราชสีมา ล่าสุด ว่า จังหวัดนครราชสีมามีพื้นที่ทั้ง 32 อำเภอ 276 ตำบล 3,015 หมู่บ้าน 36 ชุมชน ประชาชนได้รับความเดือดร้อนกว่า 734,199 คน 208,243 ครัวเรือน เสียชีวิต 13 ราย บาดเจ็บ 3 ราย พื้นที่เกษตรเสียหาย 1,749,444 ไร่ บ้านเสียหายทั้งหลัง 16,295 หลัง เสียหายบางส่วน 15,203 หลัง อาคารพาณิชย์ 34 หลัง โรงงาน-โรงสีข้าวเสียหาย 25 แห่ง, บ่อปลา-บ่อกุ้งเสียหาย 14,674 บ่อ, ปศุสัตว์เสียหาย 365,467 ตัว, ถนนขาด 1,302 สาย, วัด-โรงเรียน-สถานที่ราชการ เสียหาย 315 แห่ง ท่อระบายน้ำพัง 384 แห่ง, สะพานขาด 87 แห่ง และทำนบกั้นน้ำเสียหาย 155 แห่ง รวมมูลค่าความเสียหาย 1,537,030,256 บาท
ส่วนสถานการณ์น้ำท่วม โดยภาพรวมน้ำเริ่มลดระดับลงอย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีพื้นที่ที่มีน้ำท่วมสูงอยู่ คือ อ.พิมาย, ชุมพวง และ อ.เมืองยาง ซึ่งเป็นพื้นที่ปลายน้ำที่รับน้ำเหนือ จากลำตะคอง และ แม่น้ำมูล ก่อนจะไหลลงสู่เขต จ.บุรีรัมย์
สำหรับโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ถ.ช้างเผือก เขตเทศบาลนครราชสีมา การปฏิการกู้วิกฤตน้ำท่วมโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี ล่าสุดวันนี้ (25 ต.ค.) โรงพยาบาลมหาราช แจ้งว่า สามารถเปิดบริการตรวจรักษาคนไข้ที่เป็นผู้ป่วยนอกได้แล้ว 3 แผนก คือ แผนกเด็ก, อายุกรรม, หูคอจมูก หลังจากปิดรับผู้ป่วยนอกมาตั้งแต่วันที่ 18 ต.ค.เป็นต้นมา หลังถูกน้ำท่วมครั้งใหญ่ และต้องขนย้ายผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลใกล้เคียง โดยจะเปิดให้บริการได้ตามปกติในวันพรุ่งนี้ ( 26 ต.ค.)
ขณะที่การให้ความช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัยนั้น ทุกภาคส่วนทั้งรัฐและองค์กรเอกชนยังคงนำสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภคมาช่วยเหลือประชาชนชาว จ.นครราชสีมาไม่ขาดสาย โดยล่าสุดเมื่อเวลา 14.00 น.วันนี้ (25 ต.ค.) ที่ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยจังหวัดนครราชสีมา สี่แยกประโดก-โคกไผ่ ถ.มิตรภาพ อ.เมือง จ.นครราชสีมา ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล พร้อมคณะได้เดินทางมามอบสิ่งของ เช่น ข้าวกระป๋องพร้อมแกนสำเร็จรูป, อุปกรณ์เครื่องกรองน้ำสะอาด, มุ้งนาโน, โลชั่นกันยุง, จักรยานน้ำ, ส้วมฉุกเฉินทำจากกระดาษลูกฟูก, น้ำยาแก้น้ำกัดเท้า และ เรือท้องแบนให้แก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วมใน จ.นครราชสีมา ส่วนเรือได้มอบให้ทางกองทัพภาคที่ 2 นำไปช่วยเหลือประชาชนต่อไป
ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า รัฐบาลโดยการนำของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี มีความเป็นห่วงประชาชนผู้ประสบภัย พยายามระดมความช่วยเหลือทุกทางที่จะทำให้สถานการณ์ดีขึ้น ในส่วนของกระทรวงวิทย์ ได้นำสิ่งของต่างๆ มาแจกจ่ายให้แก่ประชาชนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน
พร้อมกันนี้ ได้สั่งการให้สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) เร่งนำดาวเทียมธีออสและดาวเทียมดวงอื่นที่อยู่ในเครือข่ายของ สทอภ.มาถ่ายภาพอุทกภัยในพื้นที่ต่างๆ และศึกษาการไหลของน้ำ เพื่อใช้ในการเตือนภัยน้ำท่วมให้แก่ประชาชนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมกันนี้ ได้สั่งการให้ สทอภ.ตั้งวอร์รูมเพื่อติดตามสถานการณ์และแจ้งเตือนภัยอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง และได้เร่งรัดให้ สทอภ.นำภาพถ่ายดาวเทียมที่ได้มาวิเคราะห์พื้นที่ที่เสียหายเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัยต่อไปโดยเร็ว ซึ่งคาดว่าภายในสัปดาห์นี้จะสามารถวิเคราะห์พื้นที่ความเสียหายในจังหวัดนครราชสีมาได้ทั้งหมด
“อย่างไรก็ตาม ขอแสดงความเสียหายกับประชาชนผู้ประสบภัยสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินจากเหตุการณ์ครั้งนี้ และขอเป็นกำลังให้ประชาชนได้อดทนดำเนินชีวิตต่อไปหลังน้ำลดแล้ว” ดร.วีระชัย กล่าว
ต่อมาเวลา 15.30 น. ที่ศูนย์ประสานงานช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยพันธมิตรนครราชสีมา บริเวณหน้าร้านข้าวต้มนายตี๋ หลังอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี (ย่าโม) ถ.ชุมพล อ.เมือง จ.นครราชสีมา นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ หนึ่งใน 5 แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) พร้อมพันธมิตรโคราช ได้ร่วมต้อนรับ คาราวานธารน้ำใจ ASTV - พันธมิตรฯ กรุงเทพฯ ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมโคราช โดย แหลม ผู้จัดกวน ได้นำขบวนคาราวานบรรทุกสิ่งของ จำนวน 4 คัน รถสิบล้อมาช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัยน้ำท่วมจังหวัดนครราชสีมา
จากนั้นกลุ่มพันธมิตรฯ ได้เข้าสักการะอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ก่อนเคลื่อนขบวนนำสิ่งของออกไปแจกจ่ายแก่ผู้ประสบภัยในพื้นที่ อ.โนนไทย และ อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา ซึ่งก่อนหน้านี้ ศูนย์ประสานงานช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยพันธมิตรฯ โคราช ได้ระดมรับบริจาคและ จัดทำข้าวกล่องแจกจ่ายแก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่ จ.นครราชสีมา ไปแล้วกว่า 30,000 กล่อง
+++++++++
อุดรธานี - นายกเล็กเมืองอุดรปล่อยแถวคาราวานขนสิ่งของที่พี่น้องชาวอุดรฯร่วมบริจาคช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่อำเภอพิมาย โคราช 4 คันรถบรรทุก
เช้าวันนี้ (25 ต.ค.) ที่หน้างานป้องกันบรรเทาสาธารณภัยเทศบาลนครอุดรธานี ริมหนองประจักษ์ศิลปาคม นายอิทธิพล ตรีวัฒน์สุวรรณ นายกเทศมนตรีนครอุดรธานี ได้ทำพิธีปล่อยขบวนรถสิ่งของบริจาคของชาวเทศบาลนครอุดรธานี เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้เดือดร้อนจากเหตุการณ์น้ำท่วมที่เทศบาลตำบลพิมาย อ.พิมาย จ.นครราชสีมา ซึ่งสิ่งของที่นำไปวันนี้เป็นงวดแรก เช่น ข้าวสาร อาหารแห้ง น้ำตาล สิ่งของจำเป็นในชีวิตประจำวัน เรือไฟเบอร์ ยาแผนปัจจุบัน ยาสีฟัน แปรงสีฟัน และสิ่งของจำเป็น จำนวน 4 คันรถบรรทุก พร้อมเงินสดอีกจำนวน 152,487 บาท
ทั้งนี้ ทางเทศบาลนครอุดรธานี ร่วมกับ อบจ.อุดรธานี รับบริจาคสิ่งของ อาหารแห้งและสิ่งของจำเป็นในการใช้ชีวิตประจำวัน เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2553 ที่ผ่านมา โดยใช้งานป้องกันบรรเทาสาธารณภัยเทศบาลนครอุดรธานี เป็นกองอำนวยการรับบริจาคสิ่งของ ปรากฏว่ามีประชาชนในเขตเทศบาลนำเอาสิ่งของมาบริจาคเป็นจำนวนมาก ซึ่งเมื่อวันที่ 24 ต.ค.ที่ผ่านมาเทศบาลนครอุดรธานี ได้ส่งเรือท้องแบนพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ประจำเรือ 5 คน เดินทางไปช่วยเหลือเทศบาลตำบลพิมายแล้ว 1 ชุด เพื่อคอยทำหน้าที่นำอาหารและสิ่งของจำเป็นเดินทางเข้าไปแจกจ่ายให้กับประชาชนที่อยู่ในเขตที่ห่างไกลและไม่สามารถเข้าถึงได้
นอกจากนี้ ในวันที่ 28 ตุลาคม 2553 เทศบาลนครอุดรธานีก็จะนำเอาสิ่งของบริจาคไปส่งให้เทศบาลนครราชสีมาอีกเที่ยวเป็นงวดที่สอง
++++++++++
นครพนม - ภาคเอกชนนครพนมเปิดรับบริจาคสิ่งของนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่โคราช โดยมอบผ่านกองทัพภาคที่ 2และตำรวจภูธรภาค 3
วันนี้ (25 ต.ค.) ที่จุดรับบริจาคสิ่งของหน้าร้าน ส.ค้าไม้วัสดุก่อสร้าง ถนนศรีเทพ และจุดรับบริจาคหน้าร้านเทียมศักดิ์พาณิชย์ ถนนอภิบาลบัญชา อ.เมือง จ.นครพนม ผู้มีจิตอันเป็นกุศลได้ช่วยกันลำเลียงขนสิ่งของอุปโภคบริโภคขึ้นรถยนต์บรรทุก 6 ล้อของร้านทองใบผลไม้ เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประภัยน้ำท่วมที่ จ.นครราชสีมา
นายเทียมศักดิ์ เวียงศรีประเสริฐ เจ้าของร้านเทียมศักดิ์พาณิชย์และโรงสีเทียมศักดิ์ เปิดเผยว่า ได้ตั้งจุดรับบริจาคสิ่งของหลังทราบข่าวว่าพี่น้องร่วมชาติซึ่งเป็นคนไทยด้วยกัน โดยเฉพาะที่ จ.นครราชสีมาได้รับความเดือดร้อนประสบภัยจากน้ำท่วมหนักที่สุด จึงได้ตั้งเต็นท์รับบริจาคธารน้ำใจสู้ภัยธรรมชาติ รวบรวมสิ่งของและเงินสดตั้งแต่วันที่ 23 ต.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งมีประชาชนในเขตเทศบาล 23 ชุมชน ร้านค้า บริษัท
ตลอดจนแม่ค้าในตลาดสดเทศบาล และชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม ได้นำสิ่งของเป็นอาหารแห้ง ปลากระป๋อง ข้าวสาร เทียนไข ผ้าอนามัย และเงินสดมามอบให้เป็นจำนวนกว่า 2 แสนบาท
สำหรับสิ่งของที่ได้รับบริจาคครั้งนี้จะนำไปช่วยเหลือพี่น้องประชาชนใน จ.นครราชสีมา โดยจะมอบผ่าน 2 จุด นำไปให้กองทัพภาคที่ 2 และกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 เพื่อนำไปมอบให้ผู้ประสบภัยอย่างทั่วถึงต่อไป
+++
“ในหลวง” พระราชทานถุงยังชีพช่วยราษฎรน้ำท่วมชัยภูมิ-น่าห่วง “น้ำชี” ทะลักท่วมหลาย อภ.
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 24 ตุลาคม 2553 19:07 น.
ชัยภูมิ - “ในหลวง” พระราชทานถุงยังชีพช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมชัยภูมิ 3,000 ครอบครัว ท่ามกลางความปลาบปลื้มใจในน้ำพระราชหฤทัยของพระองค์ ที่ทรงห่วงใยความเดือดร้อนของพสกนิกรชาวชัยภูมิ ขณะน้ำท่วมตัวเมืองชัยภูมิลดระดับเกือบเข้าสู่ภาวะปกติ แต่น่าห่วง “น้ำชี” ล้นทะลักท่วมพื้นที่หลายอำเภอริมแม่น้ำชี
วันนี้ (24 ต.ค.) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้นายดิสธร วัชโรทัย ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ พร้อมคณะกรรมการมูลนิธิฯ นำถุงยังชีพ พระราชทาน ไปมอบให้ราษฎร ในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 3,000 ชุด แบ่งออกเป็นเขตเทศบาลเมืองชัยภูมิ 1,000 ครัวเรือน และราษฎรที่ประสบภัยในตำบลต่างๆ ของอำเภอเมืองชัยภูมิ 1,000 ครอบครัว เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและเป็นขวัญกำลังใจแก่ชาวบ้านที่ประสบอุทกภัยชาวชัยภูมิ
โดยจัดพิธีมอบที่ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยจังหวัดชัยภูมิ และได้เดินทางไปมอบถุงยังชีพพระราชทาน แก่ ผู้ประสบภัย อ.จัตุรัส ที่ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติเทศบาลตำบลจัตุรัส จำนวน 1,000 ชุด โดยมี นายจรินทร์ จักกะพาก ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ และหัวหน้าส่วนราชการ เป็นผู้รับมอบ ท่ามกลางความปลาบปลื้มใจ ในน้ำพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงห่วงใยความเดือดร้อนของพสกนิกรชาวชัยภูมิผู้ประสบอุทกภัยในครั้งนี้
ขณะที่สถานการณ์น้ำท่วมจังหวัดชัยภูมิ ในเขตเทศบาลเมืองชัยภูมิ ทั้ง 25 ชุมชน น้ำลดระดับเกือบเข้าสู่ภาวะปกติ ถนนเกือบทุกสายที่ผ่านเข้าออกตัวเมืองเริ่มเปิดให้รถทุกประเภทผ่านได้แล้ว แต่ด้านสถานการณ์น้ำชี ได้ล้นตลิ่งสูงกว่า 2 เมตร ยังคงน่าห่วง มีน้ำไหลหลากทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนชาวบ้านสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะบ้านเรือนที่ตั้งอยู่ใกล้ลำน้ำชี ในเขตพื้นที่ อ.หนองบัวแดง, หนองบัวระเหว, บ้านเขว้า, จัตุรัส, เนินสง่า และในเขตรอบนอก 3 ตำบล คือ ต.บ้านค่าย, หนองนาแซง และน้ำชีได้ไหลผ่านเข้า ต.ลาดใหญ่ อ.เมืองชัยภูมิ รอยต่อ อ.คอนสวรรค์ จ.ชัยภูมิ ก่อนไหลทะลักเข้าท่วมสู่ อ.แวงน้อย จ.ขอนแก่น
นายปฤหัส วงศ์ชัยภูมิ ชลประทานจังหวัดชัยภูมิ ได้ประกาศแจ้งเตือนประชาชนที่อยู่ในอำเภอที่ใกล้ลำชีไหลผ่านในรัศมีกว้างกว่า 3 กิโลเมตร (กม.) ต้องเตรียมอพยพสิ่งของขึ้นสู่ที่สูงไว้ก่อนในช่วงนี้เพราะปริมาณในลำน้ำชีที่ไหลทะลักสูงอีกจำนวนมากมาจาก อ.หนองบัวแดง เพราะยังมีฝนตกบนเทือกเขาภูเขียว อย่างต่อเนื่อง
++++
นครราชสีมา - ขบวนองค์กรชุมชนภาคอีสานตั้งศูนย์ประสานงานผู้ประสบภัยน้ำท่วม วางแผนหามาตรการช่วยเหลือฟื้นฟูฝ่าวิกฤติน้ำท่วม แนะรัฐบาลเปิดเวทีฟังเสียงชุมชนเพื่อช่วยเหลือเยียวยาแก้ปัญหาให้ตรงจุด เตือนระวังเหลือบหากินกับงบช่วยภัยน้ำท่วม
นายพิพัฒนชัย พิมพ์หิน ประธานคณะกรรมการประสานงานองค์พัฒนาเอกชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (กป. อพช.) กล่าวในเวทีประชุมระดมสมองต่อการแก้ปัญหาอุทกภัยและการเยียวยาหลังวิกฤติน้ำท่วมภาคอีสาน ณ โรงแรมปัญจดารา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา จัดโดยเครือข่ายขบวนองค์กรชุมชนภาคอีสาน ร่วมกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) เมื่อวันที่ 23 ต.ค.ที่ผ่านมา ว่า ขณะนี้มีหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนพยายามตั้งงบประมาณมหาศาลเพื่อนำมาแก้ไขปัญหาน้ำท่วมครั้งนี้ แต่ภาครัฐไม่เคยเข้ามาทำงานร่วมกับภาคประชาชนเลยว่าเขาต้องการการเยียวยาหรือแก้ไขปัญหาอย่างไรบ้าง ทำอย่างไรงบประมาณถึงจะตกถึงผู้เดือดร้อนอย่างแท้จริง
ประธาน กป.อพช.กล่าวว่า การช่วยเหลือที่รัฐบาลวางแผนใช้งบประมาณแก้ปัญหาแต่เพียงฝ่ายเดียวอย่างเวลานี้จะเข้าไม่ถึงประชาชนอย่างทั่วถึงแน่นอน จึงอยากฝากไปถึงหน่วงานรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงมาสอบถาม เปิดเวทีสร้างการมีส่วนร่วมกันก่อนที่ทุ่มงบลงไปช่วยเหลือเยียวยาหลังน้ำท่วมครั้งนี้ พร้อมกับวางแนวทางเฝ้าระวังผู้ที่จะหากินกับภัยพิบัติครั้งนี้ด้วย
นายพิพัฒนชัย กล่าวต่อว่า หากวิเคราะห์ปัญหาที่ทำให้เกิดน้ำท่วมในภาคอีสานอยู่ในขณะนี้ พบว่าน่าจะมาจากหลายสาเหตุทั้งปริมาณฝนที่ตกหนักติดต่อกัน การขาดการวางแผนของชุมชนเมืองต่างๆ การสร้างบ้านเรือนที่เน้นความสวยงาม หรือการถมที่สร้างบ้านจัดสรรโดยการเอาดินไปถมที่ลุ่ม เมื่อพื้นที่รองรับน้ำถูกถมเมื่อฝนตกหนักจึงทำให้เกิดการท่วมขังและระบบระบายน้ำไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นการแก้ปัญหาเรื่องน้ำท่วมจะต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องน้ำโดยเฉพาะ โดยต้องศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาอย่างเป็นระบบ
นายธีระชาติ เสยกระโทก เครือข่ายขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า สถานการณ์น้ำท่วมจังหวัดนครราชสีมา สร้างความเสียหายอย่างหนักและถือว่าวิกฤตที่สุดในรอบหลายปี ปัญหาซ้ำซากที่เกิดขึ้นถามว่ามีหน่วยงานไหนเข้ามาแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ในส่วนตัวแล้วคิดว่าไม่มีเพราะส่วนใหญ่แล้วจะเป็นหมือนการแก้ปัญหาเฉพาะหน้ามากกว่า ซึ่งเมื่อย้อนดูประวัติศาสตร์ จะเห็นว่า ปัญหาที่ทำให้เกิดน้ำท่วมขังขยายเป็นบริเวณกว้างครั้งนี้ นอกจากภาวะฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน ทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเข้าขั้นวิกฤตเกินกว่าปริมาณกักเก็บแล้ว ยังเกิดจากการตัดไม้ทำลายป่าต้นน้ำและการขยายเมืองโดยไม่มีการวางผังเมือง สร้างสิ่งก่อสร้างกีดขวางทำให้ทิศทางน้ำเปลี่ยน
ตัวแทนองค์กรชุมชนระดมสมองฝ่าวิกฤตน้ำท่วม
นายสมคิด สิริวัฒนากุล ตัวแทนเครือข่ายแผนชีวิตชุมชนจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า ปัญหาน้ำท่วมนับจะทวีความรุนแรงมากขึ้นอันเกิดจากสภาวะโลกร้อน ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า การถมดินทับแหล่งน้ำ แหล่งระบายน้ำเดิมที่มีมาแต่โบราณ การสร้างโครงการต่างๆ แต่มีทางระบายน้ำขนาดเล็กเกินไป การทับถมของตะกอนดิน อันเกิดจากการพังทลายของตลิ่ง เป็นต้น ดังนั้น แนวคิดในการจัดการน้ำจึงจำเป็นต้องเริ่มจากกระบวนการคิดจากชุมชนที่เขาเป็นเจ้าของพื้นที่ และรู้ปัญหาว่าสาเหตุที่แท้จริงนั้นเกิดจากอะไรบ้าง ซึ่งจากการศึกษาข้อมูลชุมชนมีข้อแนะนำว่าจำเป็นต้องหามาตรการป้องกันและการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ดังนี้
ประการแรก ขุดลอกแหล่งน้ำ บึง หนอง ประจำหมู่บ้าน ซึ่งสามารถระบายน้ำช่วงน้ำหลากของหมู่บ้านได้ ประการที่สอง การสร้างกำแพงกันดิน แม่น้ำบางสายตื้นเขินของตะกอนดิน เป็นเหตุทำให้แม่น้ำลำคลอง ไม่สามารถระบายน้ำได้อย่างเต็มที่ การสร้างกำแพงควรมีการทำอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ เพื่อรองรับกับปริมาณน้ำ
ประการที่สาม ปรับพื้นที่การอยู่อาศัย โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการสร้างเมืองแบบยั่งยืน โดยวางแผนไม่ให้ชุมชนสร้างบ้านรุกล้ำคูคลองสาธารณะและควรมีช่องระบายน้ำที่ดี ประการสุดท้าย ต้องปลูกต้นไม้ ปลูกป่า บริเวณป่าต้นน้ำของแต่ละพื้นที่เพื่อดูดซับน้ำ ลดกำลังน้ำจากภูเขาสูงโดยความร่วมมือระหว่างชุมชน ภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
สำเริง เสกขุนทด
นายสำเริง เสกขุนทด ผู้จัดการสำนักงานสนับสนุนขบวนองค์กรชุมชน สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน กล่าวว่า ชุมชนมีบทเรียนและกระบวนการฟื้นฟูชุมชนที่ประสบภัยพิบัติโดยชุมชนท้องถิ่นเป็นแกนหลักอยู่ 3 ประการ คือ 1.กระบวนการฟื้นฟูที่เป็นการทำงานร่วมกันทั้งครอบครัวผู้ประสบภัย ชุมชนท้องถิ่น นำไปสู่การสร้างองค์กรจัดการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ 2.การวางแผนแก้ไขปัญหาที่ครอบคลุมและมีความหลายหลายตามสภาพความเป็นจริงของผู้ประสบภัย 3.การใช้กระบวนการทำงานโดยชุมชนเป็นแกนหลักแล้วเชื่อมโยงกับโครงการของรัฐบาลในระดับท้องถิ่นและระดับจังหวัด
ส่วนแนวทางแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน ขบวนองค์กรชุมชนต้องมีการสำรวจข้อมูลพื้นที่ประสบภัย ความเสียหาย การช่วยเหลือฟื้นฟูผู้เดือดร้อน และจัดตั้งกลุ่มองค์กรฟื้นความสามารถเพื่อเป็นกลไกพื้นฐานของชุมชนในการแก้ปัญหาเพื่อวางแผนฟื้นฟูชุมชนท้องถิ่นและป้องกันปัญหาภัยพิบัติในระยะยาว
นายสำเริง กล่าวต่อว่า วิกฤตน้ำท่วมครั้งนี้ จะเป็นการมาสร้างพลังร่วมกัน โดยนำเอาทุกเครือข่ายงานพัฒนาทั้ง ชุมชน รัฐบาล หน่วยงานท้องถิ่น สถาบันการศึกษา เอ็นจีโอ มาทำงานเป็นเครือข่ายสร้างการมีส่วนร่วม โดยมีจังหวัดนครราชสีมาเป็นศูนย์ประสานงานผู้ประสบภัยน้ำท่วม (ติดต่อศูนย์ประสานงานเครือข่ายขบวนองค์กรชุมชนช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม นายสมคิด สิริวัฒนากุล 081-0638195 และนายธีระชาติ เสยกระโทก 081-7904328)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น